เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง : Meditations

เพื่อนรักให้หนังสือที่จัดว่าเป็น classics มาเล่มหนึ่งชื่อ Meditations

ผู้แต่งเป็นจักรพรรดิโรมันผู้มีชื่อเสียงชื่อ Marcus Aurelius Antoninus

หนังสือนี้สะท้อนความคิดและตัวตนของผู้เขียน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำนาจและการปกครองอย่างที่คนทั่วไปอาจคาดหมาย

แต่เป็นการมองย้อนเข้าไปดูภายในตัวตน อย่างที่ชื่อหนังสือบอกไว้

เป็นการมองอย่างที่ชาวพุทธคนหนึ่งพึงมอง หากแต่เขาไม่ใช่ชาวพุทธ


มาร์คัส ออเรลิอัส อันโทนินัส เกิดเมื่อปี AD 161 หลังจากพระเยซูประสูติ หากผู้อ่านหนังสือนี้ไม่ใช่ชาวพุทธ ก็คงจะเห็นว่าเป็นงานเขียนปรัชญาอันลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิต จักรวาล อันว่าด้วยความดีงามและคุณค่าของมนุษย์

แต่กระนั้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธ ก็อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วิธีคิดและวิธีมองโลกของผู้เขียนก็ช่างไม่ไกลไปจากแนวคิดของศาสนาพุทธเลย

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นอนิจจัง เรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ เรื่องสติ สมาธิ

จักรวรรดิโรมันในสมัยที่มาร์คัสปกครองร่วมกับกษัตริย์อีกองค์หนึ่งมีนามว่า Lucius Verus ต้องประสบกับภัยพิบัติ ข้าวยากหมากแพง และการเข้ารุกรานของ barbarians หรือคนป่าที่ไร้ความเจริญ

ภายหลังกษัตริย์ Verus สิ้นชีพลง และ Marcus ต้องปกครองจักรวรรดิต่อไปอย่างเดียวดาย

เขาเดินทางมายังแม่น้ำดานูบและเข้าสู่เอเชียเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นเวลาที่เปลี่ยวเหงา จึงได้เขียน To Himself ขึ้นมาเป็นเครื่องปลอบประโลมใจ

ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ Meditations

 

นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าคนในรุ่นต่อๆ มารู้จัก มาร์คัส ออเรลิอัส ในฐานะนักปรัชญายิ่งกว่าในฐานะกษัตริย์ และในฐานะผู้เขียน Meditations ยิ่งกว่าในฐานะบุคคลในประวัติศาสตร์

ความยิ่งใหญ่ของ มาร์คัส ออเรลิอัส อยู่ที่การมองโลกทั้งใบและมนุษยชาติทั้งมวล การมองเช่นนี้ก็คล้ายคลึงกับที่พระพุทธเจ้ามองเห็นชะตากรรมและความทุกข์ยากของมนุษย์

การหลุดพ้นได้ก็คือการทำกรรมดี จักรพรรดิมาร์คัสให้น้ำหนักกับการที่มนุษย์เกิดมาเพื่อทำหน้าที่ของตนด้วยความไม่เห็นแก่ตัว ให้มนุษย์ทำสิ่งที่ดีต่อโลก

การที่มนุษย์มีเวลาบนโลกใบนี้ไม่นานนัก และวันหนึ่งต้องตายจากไปเหมือนๆ กัน และคนใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาทดแทน Look back over the past – all those many changes of dynasties. and you can foresee the future too: it will be completely alike, incapable of deviating from the rhythm of the present.

เขาบอกว่าติดตามชีวิตของคนคนหนึ่งแค่ 40 ปี ก็เหมือนได้ติดตามความเป็นไปของมนุษย์เป็นหมื่นปี ไม่ต่างกันเลย

ให้มนุษย์เฝ้ามองธรรมชาติและเห็นความงามของมัน observing that even the incidental effects of the processes of Nature have their own charm and attraction.

เขาเฝ้ามองแม้แต่ขนมปังที่พ่อครัวส่งเข้าเตาอบ และมีรอยแตกตรงนั้นตรงนี้ที่คาดเดาไม่ได้ แต่ก็มีความงามและชวนให้รับประทาน

Take the breaking of bread. The loaf split open here and there, and those very cracks, in one way a failure of the baker”s profession, somehow catch the eye and give particular stimulus to our appetite.

 

บ่อยครั้งที่ มาร์คัส ออเรลิอัส พูดถึงเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นมนุษย์

เขาเขียนว่า Just as the earthy part of me has been derived from some earth, the watery from the next element, the air of my breath from some other source, the hot and fiery from its own origin.

มาร์คัสใช้คำว่า Reason หรือ เหตุผล ในความหมายของคำว่า กรรม ไม่มีอะไรอยู่เหนือเหตุผล เขามักพูดถึงอนิจจัง หรือความไม่เที่ยง อยู่ตลอดเวลา

เมื่อมาถึงการสรรเสริญเยินยอ เขาบอกว่าอัญมณีก็ไม่ได้มีค่ามากขึ้น so does the truly beautiful need anything beyond itself? เมื่อมีคำสรรเสริญเยินยอ คำเยินยอไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าเพื่อเหตุผลทางการบริหาร what is the point of praise, other than for some practical aspect of management?

มาร์คัส ออเรลิอัส พูดถึงเรื่องกายกับจิต เขามีความคิดที่แปลกมากว่าถ้าหากนับตั้งแต่เริ่มต้นมีมนุษยชาติและเมื่อมนุษย์ตายไป วิญญาณที่เหลืออยู่ของคนตายทั้งหมดนั้นอากาศที่มีอยู่จะรับไหวไหม You may ask how, if soul lives on, the air can accommodate them all from the beginning of time.

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้เห็นว่า เมื่อคนคนหนึ่งมองเห็นโลกอย่างลึกซึ้ง เห็นถึงอนิจจัง การพึ่งพากัน สิ่งไรที่เกิดขึ้นในโลกย่อมส่งผลถึงคน และสิ่งไรที่คนทำก็จะส่งผลถึงโลก

สำหรับคนที่มองเห็นเช่นนี้ เขาก็จะไม่เห็นประโยชน์ของความเห็นแก่ตัวและการตักตวงสิ่งไรไว้เพื่อตัวเอง มีแต่การทำงานเพื่อมนุษย์ด้วยกัน เพื่อธำรงโลกนี้ไว้