สื่อเทศชี้ไทยต้องเร่งพัฒนาทักษะ-ปรับวิธีการเรียนรู้ ก่อนเพื่อนบ้านแซงหน้า

วันที่ 19 กรกฎาคม สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ได้ออกรายงานพิเศษเรื่อง ‘Thailand’s Skills Problem Is Slowing Down Its High-Tech Push’ ถึงทิศการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน โดยนายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งคำถามหากได้รับมอบหมายให้สร้างนวัตกรรมเครื่องจักรใหญ่โตเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจว่า ผู้คน(ชาวไทย) จะสามารถพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในประเทศไทย อย่างที่บริษัทเทสล่าทำได้หรือไม่ 

“คุณฝันไปหรือเปล่า” นายธีระเกียรติระบุ และว่า “เราไม่สามารถประดิษฐ์อะไรได้แม้แต่รถจักรยานยนต์”

นายธีระเกียรติกล่าวว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กำลังพัฒนาลดช่องว่างทางทักษะในในประเทศ เพื่อสามารถแข่งขันทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคให้ได้ โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังรวมถึงการให้ความเป็นอิสระกับโรงเรียน มหาวิทยาลัย และครูเพื่อเพิ่มมาตรฐานให้มากขึ้น รวมถึงการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องการจุดเน้นในส่วนพื้นฐานอย่างอาหาร สุขอนามัยและการท่องเที่ยว

รายงานระบุว่า ความท้าทายของไทยที่เป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่งในตอนนี้ คือ การสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับนานาชาติหรือ ‘ไพซ่า’ (PISA) ซึ่งตอนนี้ไทยอยู่อันดับที่ 57 จาก 170 ประเทศ แม้ว่างบประมาณแผ่นดินจำนวน 2.73 ล้านล้านบาท ได้จัดสรรด้านการศึกษามากเป็นอันดับ 5 ส่วนสิงค์โปร์อยู่ในระดับต้นของการทดสอบ PISA ตามด้วยญี่ปุ่น (อันดับ2) ไต้หวัน (อันดับ 4) จีน (อันดับ 6) และเวียตนาม (อันดับ 8)

“เรามีช่องว่างขนาดใหญ่ในประเทศนี้” นายธีระเกียรติระบุโดยอ้างถึงผลจัดอันดับ PISA ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านตกลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012 อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานระดับนานาชาติ

“ไม่ว่าเราทำอะไร มันไม่ได้ผล” นายธีระเกียรติกล่าวถึงความพยายามปรับปรุงในอดีต

บลูมเบิร์กระบุว่า นับตั้งแต่การยึดอำนาจโดย คสช.เมื่อปี 2557 รัฐบาลทหารของไทยได้เน้นผลักดันการสร้างนวัตกรรมและอุตสาหกรรมขั้นสูงเพื่อช่วยยกระดับประเทศให้พ้นจาก ‘กับดับรายได้ปานกลาง’ ภายใต้แผน ‘ไทยแลนด์ 4.0’ โดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า หนึ่งในกรอบที่ให้ความสำคัญคือการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจอีสเทิร์นซีบอร์ด รวมถึงแผนสนับสนุนฝึกอาชีพอีกจำนวน 619 ล้านบาท ซึ่งไทยตระหนักว่าจำเป็นต้องเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออกมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม อายุประชากรวัยทำงานคาดว่าจะหดตัวลง 11% ภายในปี 2040

นายอูริค ซาเชา ผู้อำนวยการประจำกรุงเทพฯ ของธนาคารโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า “ความท้าทายด้านการศึกษาและทักษะนับเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างรวดเร็ว และอีกด้านมีความต้องการแรงงานฝีมือที่มากขึ้นเพื่อตามทันโลกที่ก้าวหน้าในเทคโนโลยีอย่างเร็วกว่าที่เคย

 

การเรียนแบบท่องจำ

อานิฟ ชาร์มา รองประธานอาวุโสด้านการให้คำปรึกษาการศึกษาโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพาเทออน-อีวาย กล่าวว่า การก้าวสู่ความเป็นดิจิตัลในระดับสูงและการรุกในอินเทอร์เน็ต ทำให้ประเทศไทยเป็นปลายทางที่น่าดึงดูดของบริษัทด้านไอทีที่จะนำร่องผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ไม่ใช่ที่อันล้ำเลิศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งคือ การขาดการส่งเสริมการสื่อสารภาษาอังกฤษ ทักษะที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะพาไปสู่การเปลี่ยนผ่านในยุคดิจิตัล

ด้านอดีตผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยรายหนึ่งซึ่งผ่านการศึกษาแบบวิถีดั้งเดิมอย่างการท่องจำและการขาดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กล่าวว่า บริษัทของตนต้องจ่ายให้กับพนักงานใหม่ให้มีความรู้ว่าการเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ให้ใช้งานได้ยังไง ก่อนที่จะเริ่มงานและทำเงิน เป็นการจ่ายค่าตอบแทน 6 เดือนให้กับพนักงานใหม่ทุกคนโดยไม่่ได้ผลประกอบการธุรกิจกลับคืนมา

ขณะที่นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง Ookbee ผู้ผลิตสื่ออีบุ๊คส์ชื่อดังของไทย ซึ่งมีสมาชิกทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 8 ล้านคนตำหนิวิธีคิดล้าสมัยที่ถ่วงความก้าวหน้าของธุรกิจ

“มีธุรกิจใหม่หลายตัวไม่สามารถบริหารได้หากใช้วิธีคิดแบบรัฐ นั่นไม่ใช่หนทางที่ขับเคลื่อนให้เติบโตได้” นายณัฐวุฒิ กล่าวและได้ยกตัวอย่าง ความยากลำบากของโน้มน้าวภาครัฐให้เชื่อในการขยายการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากสื่อสิ่งพิมพ์ถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับกฎระเบียบที่เผชิญท้าทายจากการบริการอย่างอูเบอร์และเฟซบุ๊ก

 

เวียตนามดีกว่า?

ขณะที่คณะกรรมการกิจการโทรทัศน์และกระจายเสียงแห่งชาติหรือ กสทช. ไม่สามารถชี้แจงความเห็นเกี่ยวกับการควบคุมเฟซบุ๊กได้ เช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบกมองว่าอูเบอร์ทำผิดกฎหมายนั้น นายชามาร์ กล่าวว่า ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียตนาม กลับทำได้ดีกว่าในการส่งเสริมสิ่งใหม่ทั้งที่ยากจน วิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทย ได้ขัดขวางการส่งเสริมพัฒนาการศึกษา ทำให้หนทางในการดำเนินงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมนั้นไม่ราบรื่นและส่งผลร้ายกับประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง

 

ข้าราชการร่วม 2 หมื่นชีวิต

“กระทรวงฯมีข้าราชการ 2 หมื่นคนที่ไม่ได้ทำหน้าที่สอนนอกจากบริหารโรงเรียน” นายธีระเกียรติกล่าวกับบลูมเบิร์ก ซึ่งส่งสัญญาณถึงอุปสรรคใหญ่ต่อการปฏิรูป ที่อาจอยู่ภายในหน่วยงานนี้เอง “ส่วนเวียตนาม มีข้าราชการในกระทรวงเพียง 70 คน”

นายธีระเกียรติ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นจิตแพทย์เด็ก กล่าวว่า การทุจริตคอรัปชั่นเป็นอีกอุปสรรคหนึ่ง

“หากคนเป็นเหมือนนักการเมืองก่อนหน้านี้ ตนคงเป็นคนรวยในเดือนนี้แล้ว” นายธีระเกียรติให้ประเด็นถึงกระทรวงที่ยังมีงบประมาณคงเหลือกว่า 4 ล้านบาท

นอกจากนี้ นายธีระเกียรติได้เสนอยุทธศาสตร์จากล่างไปบน ที่ให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจทิศทางที่ดีที่สุด และหลักการเดียวกันนี้จะใช้กับการฝึกครูซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายส่วนกลางอันเข้มงวดซึ่งบั่นทอนคุณภาพครู อีกทั้งจะประกาศระบบใหม่ในต้นเดือนนี้ เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเสนอรูปแบบการเรียนการสอนของตัวเองได้ และให้เสรีภาพของครูอย่างที่ต้องการเพื่อเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเสริมทักษะ อีกทั้งยังการยกระดับหน่วยงานตามแผนเพื่อตั้งเป็นกระทรวงมหาวิทยาลัยแห่งใหม่

“เว็บไซต์การฝึกสอนครู ปกติจะมีเพียงหรือสองชุด หากคุณโชคดี” นายธีระเกียรติกล่าวและว่า แค่เมื่อวานนี้ มีถึง 28.8 ล้านชุด ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่เห็นเมื่อใช้ระบบตลาด เมื่อเราเพิ่มอำนาจพวกเขา ยุบนโยบายส่วนกลาง ใช้แผนจากล่างสู่บน คิดว่าจะได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นกับไทยมาก่อน

ที่มาข่าว : Bloomberg