อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : OBOR ของจีนกับอาเซียนภาคพื้นทวีป (2)

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

เราต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า One Belt One Road เป็นยุทธศาสตร์โลกของจีน

ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงที่จีนมีความเข้มแข็ง

ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

OBOR แผนงานที่ยังไม่สมบูรณ์

เราควรเข้าใจว่า OBOR เป็นมหายุทธศาสตร์ที่คิดโดยปราชญ์ ปัญญาชน และ Think Tank ของจีนเอง และพันธมิตรหลายกลุ่มและหลายระดับ แผนงานส่วนใหญ่ยังไม่สมบูรณ์และก็กำลังดำเนินงาน แผนงานไหนมีอุปสรรคก็เลี่ยงไปทำแผนงานอื่นก่อน บางแผนงานที่สำคัญยิ่งยวดได้เผยออกมา ได้แก่ ด้านพลังงาน

ท่อก๊าซธรรมชาติ

ท่อก๊าซธรรมชาติจาก Turkmenis ผ่าน Kyrgyzstan เข้าไปมองโกเลียของจีนเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ ท่อก๊าซธรรมชาติจาก Gwadar ปากีสถาน และ Tajikistan เข้าไปที่ Kashger ในมณฑลซินเกียง (Xinjian province) จีน และท่อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียตอนบนมายัง Hanchun และเมือง Vladivostok ของรัสเซีย

ท่อน้ำมัน

ท่อน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียน ระหว่างเมือง Aktan Beymh และ Masu ใน Kazakhstan เข้าไปเมือง Khor และในมองโกเลีย ท่อน้ำมันจาก Tayshet ประเทศรัสเซียไปยังเมือง Darjing และ Macho ที่น่าสนใจ ท่อน้ำมันจากเมือง Kyankpyu รัฐยะไข่ที่อ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย เมียนมา ไปคุนหมิง และหนานนิง ประเทศจีน และท่อก๊าซจาก Kyankpyu เมียนมา ไปคุนหมิง และหนานหนิง จีนก็มีความสำคัญ

เส้นทาง Economic Corridor ที่สำคัญของจีน คือ หนานหนิง คุนหมิง จีน ไปเมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ และเส้นทาง Kashgar ของจีนผ่านปากีสถานไปที่ท่าเรือ Guhtar ของปากีสถาน

ทางรถไฟที่เชื่อมต่อ

เส้นทางรถไฟเชื่อมต่อสำคัญคือ จีน-ยุโรป เมือง Harbin เมืองปักกิ่ง ไป Novusbisk Kagan และมอสโกของรัสเซีย แล้วยังเชื่อมต่อวอร์ซอ (Warsaw) และปราก (Prague) ของโปแลนด์ Hamburg เยอรมนี ฝรั่งเศส และมาดริดของสเปน

เชื่อมต่อจีนภายใน

เมือง Zhengzhou มณฑล Xian ลงใต้ที่เมือง Chongging และ Changhz ส่วนจีนตอนใต้กับ ASEAN คือเมืองคุนหมิง จีน เมืองบ่อห่าน บ่อเต็น สปป.ลาว เชียงของ จังหวัดเชียงราย ไทย

และอีกเส้นคือ เวียงจันทน์ สปป.ลาว หนองคาย มาที่มาบตาพุดไทย ไปกัวลาลัมเปอร์ กันตัง และสิงคโปร์

Silk Road Economic Corridor (SREC)

SREC เป็นระเบียงเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก

เป็นเส้นที่อยู่ระหว่างมณฑลซีอาน (Xian) เมือง Landman ไป Unmgi Klnorgn เข้าสู่ประเทศ Kazakhstan เข้ายุโรป คือเมือง Arkar ประเทศตุรกี มุ่งสู่มอสโก ประเทศรัสเซีย เข้าเมืองวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์

ถึงเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี

 

OBOR ของจีนเป็นยุทธศาสตร์โลก (Global Strategy)

OBOR เป็นแนวคิดและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนที่จะเชื่อมต่อชาติต่างๆ ผ่านเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ทั้งทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และทางวัฒนธรรม ให้ดำเนินการมีรอยตะเข็บบางๆ ที่สุด แต่จะมีนัยยะทางยุทธศาสตร์โลกในหลายระดับ ได้แก่

ประการแรก แนวยุทธศาสตร์ OBOR ได้แสดงเป้าประสงค์ของจีนในการเปลี่ยนจีนจาก inward-looking เป็น Outward Looking (1) หากเป็นความสำเร็จในระยะยาว จีนจะมีความเข้าใจและลึก เช่น ส่วนของสมุทรรัฐ ความเข้าใจอย่างลึกต่อวัฒนธรรมที่ซับซ้อน คือ อินเดีย ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1.2 พันล้าน ตอนนี้มีมหาวิทยาลัยจำนวนน้อยภายในจีนที่มีสถาบันวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อความเข้าใจเอเชียใต้ (2)

ประการที่สอง OBOR เป็นยุทธศาสตร์ที่ให้ประโยชน์ต่อจีนทั้งการเพิ่มการส่งออก ยังผลทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคงทางด้านพลังงาน (3) การค้าอาจทำให้จีนทำได้กับอีก 65 ประเทศ OBOR หากทำสำเร็จอาจทำให้บริษัทจีนแพร่กระจายออกไปทั่วโลกทางด้านมหาสมุทรผ่านจีน ข้ามไปเอเชียกลางถึงยุโรป ผ่านตะวันออกกลางไปแอฟริกา เชื่อมต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย

ตามรายงาน 2015 report from Renmin University OBOR ของจีนจะคิดเป็น 55% ของ GNP ของโลก 70% ของประชากรโลก และเป็น 75% ของพลังงานสำรองของโลก

 

Maritime Silk Road of the 21st Century (MSR)

เป็นเส้นทางสายไหมทางเรือในอดีต แต่ปรับให้เข้ากับยุคศตวรรษที่ 21 เป็นเส้นทางการค้าสำคัญและใหญ่มาก

สายแรก คือ จากชายฝั่งตะวันออกของจีน คือเมือง Fuzhou Quanzhou Deihai Haikou ไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือไปเมืองฮานอย (Hanoi) ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศ Malaysia ประเทศ Singapore และเมืองจาการ์ตา (Jakarta) แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สายที่สอง เป็นเส้นจากจีนสู่เอเชียใต้ เริ่มที่เมืองจิตตะกอง (Chittagong) บังกลาเทศ เมืองโคลัมโบ (Columbo) ประเทศศรีลังกา เกาะมัลดีฟส์และหมู่เกาะ Seychelles เข้าสู่แอฟริกาเป็นสายที่สาม ที่ Mombaza Lamu ประเทศเคนยา (Kenya) เมือง Mongasu ประเทศโซมาเลีย เข้าไปที่ Dibouti Eritra เข้าสู่อียิปต์ที่คลองสุเอซ

สู่ยุโรปที่เมืองเอเธนส์ (Athen) ประเทศกรีซสู่อิตาลี

—————————————————————————————————

(1) Da Hsnan Feng, “Belt and Road points the Way to a 21st Century Renaissance, if China stays true its vision”, South China Morning Post. 20 October 2016.
(2) Ibid.
(3) Jacob Mardell, “The Future of Xi”s Belt Road Initiative” New Mandala, 2 March 2017.