E-DUANG : บทบาท ความหมาย “24 มิถุนายน” เงาสะท้อน การตีความ “คนรุ่นใหม่”

สถานการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองในวันพฤหสบดีที่ 24 มิถุนา ยน หวนกลับมาร้อนแรงและแหลมคมเป็นอย่างสูงอีกครั้ง

สะท้อนบทบาทและความหมายของ”24 มิถุนายน”

แม้เวลาจะผ่านมา 89 ปีแล้ว แต่อะไรที่เกี่ยวข้องกับ”24 มิถุนา ยน” ล้วนได้รับความสนใจ

ไม่เพียงเป็นการมองไปยังอดีตที่ล่วงมา 89 ปี

เนื่องจากนั่นคือหมุดหมายสำคัญในทางการเมือง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”ระบอบ”อย่างมีนัยสำคัญ ดำเนินไปในลักษณะ พลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน

เมื่อมองย้อนกลับก็ก่อให้เกิด”วิวาทะ”ทางการเมืองได้อย่างคม แหลม เพราะว่าปรากฏทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย ปรากฏทั้งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างเด่นชัด

แม้คนที่เคยร่วมอยู่ในสถานการณ์จะไม่เหลืออยู่แล้วก็ตาม

การฟื้นอดีตของสถานการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงทรงความหมายและก่อให้เกิดผลสะเทือน

โดยเฉพาะผลสะเทือนต่อ “คณะราษฎร 2563”

 

ถามว่าทำไมสถานการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงทรงความ หมายแม้จะผ่านมาแล้วถึง 89 ปี

คำตอบหนึ่งมาจากเส้นทางของการเมืองจาก 2475 ถึง 2564

ยิ่งผ่านรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ผ่านรัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557 ยิ่งทำให้การศึกษาบทเรียนของสถานการณ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2475 ยิ่งทรงความหมาย

เกิดคำถามมากมายตามมา ทั้งจากความสำเร็จ ทั้งจากความล้มเหลว ทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วย ชื่นชม ทั้งจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ตั้งข้อรังเกียจ

ยิ่งเมื่อมีการถือเอา”24 มิถุนายน”เป็นการจุดประกายยิ่งสำคัญ

ไม่ว่าจะมาจาก”ไทยไม่ทน” ไม่ว่าจะมาจาก”ราษฎร” ก็ตาม

 

เหมือนกับเมื่อนัดหมายการเคลื่อนไหวในวันที่ 24 มิถุนายนก็จะต้องถือเอาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นจุดนัดพบและรวมพล

อาจมีส่วนหนึ่งยืนหยัดในความเชื่อเช่นนั้น

กระนั้น ก็มีบางส่วนข้ามจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล

เป้าหมายกลับเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา