เคาะ 3 มาตรการ อุ้มเอสเอ็มอี ขยายเวลาพักหนี้ถึงสิ้นปี ดึงกลุ่มกู้เกิน 100 ล้านร่วมด้วย

เคาะ 3 มาตรการ อุ้มเอสเอ็มอี ขยายเวลาพักหนี้ถึงสิ้นปี ดึงกลุ่มกู้เกิน 100 ล้านร่วมด้วย สั่งลุยปรับโครงสร้างหนี้ ลดดอกเบี้ย-ตัดเงินต้นช่วย พร้อมวางเกณฑ์จ่ายปันผลกลางปี

วันที่ 11 มิ.ย.64 นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ทบทวนแนวนโยบายในการส่งผ่านความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ ผ่าน 3 มาตรการ คือ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ขยายมาตรการชะลอการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs ที่จะครบกำหนดวันที่ 30 มิ.ย. 2564 นี้ ออกไปจนถึงสิ้นปี 2564

ทั้งนี้ มาตรการจะต้องสำหรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดระลอกใหม่ ไม่ใช่มาตรการช่วยเหลือในวงกว้าง จะช่วยเหลือแบบเจาะจง เช่น กิจการที่ยังไม่เปิดทำการตามปกติ แลขยายขอบเขตถึงลูกหนี้ SMEs ที่ได้รับผลกระทบตามนิยามที่แต่ละสถาบันการเงินใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะครอบคลุม SMEs ที่มีเกิน 100 ล้านบาท เข้าข่ายรับการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น

2. กำหนดกลไกเพื่อจูงใจให้สถาบันการเงิน เน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่เฉพาะ ขยายเวลาชำระหนี้ พักต้นพักดอก โดยพิจารณา ความสามารถในการชำระคืนหนี้ และ ระยะเวลาการจ่ายคืนหนี้ ให้สอดคล้องกับประมาณการรายได้ที่ลูกหนี้จะได้รับในอนาคต เช่น การลดดอกเบี้ย การตัดเงินต้นบางส่วน และ การขยายเวลาชำระเงินต้น เป็นต้น เพื่อให้ภาคธุรกิจอยู่รอดได้

3.เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ได้ กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงิน สามารถจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ไม่เกินอัตราจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout Ratio) ในปี 2563 และไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2564 รวมถึงให้งดซื้อหุ้นคืน และห้ามไถ่ถอนหรือซื้อคืนตราสารเงินกองทุนก่อนครบกำหนด เว้นแต่มีแผนการออกทดแทน

นายรณดล กล่าวว่า ปัจจุบัน SMEs ได้รับผลดระทบหนักขึ้น บางกลุ่มก็เริ่มฟื้น เช่นกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนกลุ่มที่ถูกกระทบหนักก็คือกลุ่มที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งโดยสาร การขยายกลุ่มเกินกว่า 100 ล้านบาท เพื่อต้องการให้ช่วยเหลือเป็นวงกว้าง รวดเร็ว และได้รับผลกระทบจริง อย่างไรก็ดี จากการติดตามสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในกลุ่ม SMEs ไม่ได้ก้าวกระโดดมาก ในช่วงเดือน เม.ย.ชะลดลงจาก มี.ค. ซึ่งตัวเลข NPL ขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทางฟื้นตัวเร็ว NPL ก็ไม่เพิ่มมาก

ส่วนแนวทางลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟู ปัจจุบันที่เหลือ 0.23% ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณา กลไกว่า การลดเงินนำส่ง จะส่งผลต่อการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างไร แต่จากแนวทางให้ลดเหลือ 0% คงไม่สามารถทำได้ เพราะยังต้องมีเงินนำส่งกระทรวงคลัง เพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกองทุนอยู่

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธปท. กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ผ่านมาที่เจาะจงเฉพาะหนี้ที่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท กว่า 65% กลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ 30% อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนที่เหลือเดิมจะต้องอยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้างภายใน มิ.ย. แต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ ธุรกิจเริ่มมีผลกระทบ จึงขยายเวลาไปถึงสิ้นปีเพื่อให้เกินความยืดหยุ่น รวมทั้งครอบคลุมลูกหนี้ที่เกิน 100 ล้านบาทมากขึ้น

โดยสถาบันการเงินสามารถคงการจัดชั้นหนี้เดิมได้จนถึง 31 ธ.ค. 2564 และในระหว่างนี้ ให้สถาบันการเงินเข้าไปดูแลลูกหนี้เพื่อเร่งหาแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็วต่อเนื่อง