E-DUANG : ปฏิกิริยา ต่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา องค์รวม ความขัดแย้ง อันต่อเนื่อง

Thailand Prime Minister Prayuth Chan-ocha waves as he attends an agreement signing ceremony for purchase of AstraZeneca's potential COVID-19 vaccine at Government House, amid the spread of the coronavirus disease (COVID-19), in Bangkok, Thailand November 27, 2020. REUTERS/Chalinee Thirasupa/Pool

หากนำเอา “ปฏิกิริยา”ในทางสังคมที่มีต่อ 1 รัฐบาล และ 1 โดยเฉพาะต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็จะสัมผัสได้ในความต่อ เนื่องและสัมพันธ์กัน

1 เป็นความรู้สึกต่อการบริหารจัดการสภาพการณ์การแพร่ระ บาดของไวรัส โควิดตั้งแต่ปลายปี 2562 กระทั่งกลางปี 2564

โดยเฉพาะในเรื่องการตระเตรียมและจัดหา”วัคซีน”

โดยเฉพาะและน่าระทึกใจยิ่งกว่านั้นก็คือ การตระเตรียมและวางแผนเพื่อรับมือกับผลสะเทือนในทางเศรษฐกิจที่จะรุนแรง ล้ำลึกและหนักหนาสาหัส

1 เป็นความรู้สึกต่อปมอันเนื่องแต่การดำรงอยู่ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่ว่าจะในฐานะ ส.ส.  ไม่ว่าจะในฐานะรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เหมือนกับจะเป็นเรื่องส่วนตัวของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เอง

แต่ในความเป็นจริงมีผลสะเทือนต่อภาพลักษณ์โดยรวมของรัฐบาล ของพรรคพลังประชารัฐ และของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างมิอาจปัดปฏิเสธได้

 

ความรู้สึกจากกรณีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในกระสวนเดียวกันกับความรู้สึกต่อกรณีที่จัดการและรับมือกับการตื่นตัวลุกขึ้นมาของ”เยาวชน”คนรุ่นใหม่

ความไม่พอใจเป็นความไม่พอใจต่อรัฐบาล ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็น”ผู้นำ”ของรัฐบาลอย่างแน่นอน

แต่เนื่องจากรากฐานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สัมพันธ์กับกองทัพ สัมพันธ์กับกระบวนการรัฐประหารไม่ว่าจะเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าจะเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

และสะเทือนและความต่อเนื่องจึงดำเนินไปอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ครอบคลุมจากอำนาจบริหาร ไปยังอำนาจนิติบัญญัติ

และไม่เว้นแม้กระทั่งอำนาจ”ตุลาการ”

 

ปฏิกิริยาในทางการเมือง ในทางสังคมอันเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมจึงดำเนินไปในลักษณะสะสม และดำรงอยู่ในลักษณะของการปะทะอย่างแหลมคมในทางความคิด

จะมองเพียงปฏิกิริยาเดียวจะขาดความสมบูรณ์ จำเป็นต้องมองอย่างเป็นความต่อเนื่อง ยึดโยงและสัมพันธ์ต่อกันและกัน

หากไม่มองอย่าง”องค์รวม”ก็จะไม่เข้าใจใน”ความจริง”