สมาคมเอเชียศึกษา (AAS) ออกแถลงกังวลเสรีภาพทางวิชาการในไทย กรณีวิทยานิพนธ์ของ ณัฐพล ใจจริง

คําแถลงของสมาคมเอเชียศึกษา (AAS) เกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทย

สมาคมเอเซียศึกษา (The Association for Asian Studies – AAS) ห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการข่มเหง หางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย นับแต่การรัฐประหารเมื่อปี 2557 มีการคุกคามต่อเสรีภาพทาง วิชาการเพิ่มมากขึ้น คดีหมิ่นประมาทและการเลือกบังคับเลือกตีความกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ถูกใช้ เพื่อสกัดกั้นความรู้ เพื่อจํากัดการถกเถียงทางวิชาการ และเพื่อปิดปากนกวิชาการ การตัดสินใจของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ปิดกั้นวิทยานิพนธ์ของ ดร.ณัฐพล ใจจริง และคดีความที่มีการฟ้องร้องต่อเขา และผู้จัดพิมพ์หนังสือของเขาซึ่งอยู่ในชั้นศาล ณ เวลานี้ เป็นตัวอย่างล่าสุดของแนวโน้มที่น่าวิตกกังวล ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการ เราจึงใคร่ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยุติการสอบสวน ดร.ณัฐพล และเลิกการห้ามเข้าถึงวิทยานิพนธ์ของเขาเสีย เรายังใคร่ขอร้องให้ศาลแพ่งยกฟ้องคดีดังกล่าวอีก ด้วย

ภูมิหลัง

เมื่อปี 2563 สํานักพิมพ์ฟ้าเดียวกันได้ตีพิมพ์หนังสือของ ดร. ณัฐพล ใจจริง ซื้อ ขุนศึก ศักดินาและพญา อินหรีซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่เขานําเสนอต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2552 หนังสือเล่มนี้เป็นการประเมินและวิเคราะห์ทางวิชาการอย่างเข้มข้นถึงความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับ กองกําลังเพื่อความมั่นคงของฝ่ายไทยในช่วงคริสตทศวรรษ 1950 รวมถึงบทบาทของสถาบัน พระมหากษัตริย์ในช่วงนั้น การศึกษานี้เกิดขึ้นจากการค้นคว้าวิจัยหาความรู้ใหม่และวิเคราะห์เอกสารชั้นต้น อย่างพิถีพิถัน ภายใต้บรรยากาศการเคลื่อนไหวของขบวนการเยาวชนในประเทศไทยทุกวันนี้ การวิจัย ประวัติศาสตร์การเมืองอย่างเข้มข้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทําให้ ขุนศึก ศักดินาและ พญาอินทรีกลายเป็นหนังสือวิชาการที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา

ความสําเร็จของหนังสือจึงประสบกับปฏิกิริยาโต้กลับ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ผู้ เป็นหลานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร (2428-2494) ได้ยื่นฟ้องเรียก ค่าเสียหาย 50 ล้านบาทจาก ดร. ณัฐพล ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จาก ดร. กุลลดา เกษบุญชู-มีด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา และจากสํานักพิมพ์ฟ้า เดียวกัน คดีดังกล่าวฟ้องร้องว่า ดร. ณัฐพลจงใจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมพระยาชัยนาทฯ ในประเด็น ซึ่งเคยมีการรับรู้กันไปแล้วว่าเป็นการอ่านเอกสารประวัติศาสตร์ผิดพลาดเกี่ยวกับบทบาทของกรมพระยา ชัยนาทฯ กับการประชุมคณะรัฐมนตรี อนึ่ง ความผิดพลาดดังกล่าวปรากฏเป็นข้อความในวิทยานิพนธ์เมื่อปี 2552 แต่ไม่ปรากฏในหนังสือ ขุนศึก ฯ แต่อย่างใด

คดีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ยอมตามแรงกดดันและตั้งคณะกรรมการสอบสวน งานของ ดร. ณัฐพล มาแล้วเมื่อปี 2561 คณะกรรมการสรุปผลสอบโดยรับทราบว่าความผิดพลาดไม่ได้มี เจตนาและไม่ส่งผลกระทบต่อประเด็นใหญ่ของวิทยานิพนธ์แต่อย่างใด แต่แม้จะมีข้อสรุปเช่นนั้น จุฬาฯ ยังสั่ง ห้ามการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ดังกล่าว จากนั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในบริบทความสําเร็จของหนังสือและ การโต้แย้งกันทางการเมืองว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เพิ่มมากขึ้น จุฬาฯ ก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ อีกชุดหนึ่งเพื่อสอบสวน ดร. ณัฐพลอีกครั้ง

ผลกระทบ

การสอบสวนอีกครั้งโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคดีฟ้องร้องต่อ ดร. ณัฐพล ดร. กุลลดา และสํานักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของการข่มเหงปราบปรามที่กําลังเกิดขึ้นเป็นแบบแผนในวงกว้างต่อการคิดต่าง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อขัดขวางการถกเถียงอภิปราย อย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ทั้งๆที่การถกเถียงเช่นนี้เป็นกระบวนการสําคัญสําหรับ ประชาสังคมและสําหรับอนาคตของประเทศ ในฐานะองค์กรทางวิชาการ สมาคมเอเซียศึกษาเห็นว่าการการ กระทําเหล่านี้ ขัดแย้งโดยตรงต่อค่านิยมที่เป็นแกนกลางของเสรีภาพทางวิชาการ และต่อการถกเถียงโต้แย้ง อย่างเปิดเผยทางวิชาการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนําของประเทศไทย เราขอให้ ท่านยืนหยัดบนหลักการเสรีภาพทางวิชาการ อันเป็นสิ่งจําเป็นต่อความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไปของ มหาวิทยาลัย และต่อเกียรติคุณที่มหาวิทยาลัยจะพึงได้รับ