เทียบวัคซีนโควิด-19 จาก 4 ยี่ห้อดัง ให้ผลลัพธ์-ข้างเคียงอย่างไร?

ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงออกมาสำเร็จแล้ว ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มมีการจัดสรรและจัดซื้อเพื่อนำวัคซีนที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ภายในประเทศ

ในขณะนี้ทั่วโลกมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์จำนวน 291 ชนิด โดยการพัฒนาวัคซีนนั้นแบ่งเป็นระยะก่อนทดสอบในมนุษย์ 223 ชนิดและระยะที่ทดสอบในมนุษย์ 63 ชนิด แต่มีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 5 ชนิดที่ทดสอบประสิทธิภาพเสร็จแล้ว ได้แก่ 1. BioNTech-Pfizer: BNT162b2 2. Moderna: mRNA-1273 3. Oxford/Astrazeneca-ChAdoX1 4. Sinopharm: BBIBP-CorV และ 5. Gamaleya: Sputnik V

โดยทาง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ แห่งประเทศไทย ได้สรุปข้อมูลของความก้าวหน้าของวัคซีน โควิด-19 ได้ดังต่อไปนี้

วัคซีน BNT162b2 จากบริษัท BioNTech-Pfizer ใช้เทคนิค mRNR ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 95% โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น -70 องศาเซลเซียส

วัคซีน mRNA-1273 จากบริษัท Moderna ใช้เทคนิค mRNR ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 94.1% โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น -20 องศาเซลเซียส

วัคซีน ChAdoX1 จากบริษัท Oxford/Astrazeneca ใช้เทคนิคไวรัส adenovirus พาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 60-90 % โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21-28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส

วัคซีน CoronaVac จากบริษัท Sinovac ใช้เทคนิควัคซีนตัวตาย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนในระยะที่ 3 จากการฉีดวัคซีน ซึ่งมีรายงานประสิทธิภาพจากประเทศตรุกี 91.25% และประเทศบราซิล น้อยกว่า 50 % โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 14-28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดเกิดจากการติดตามผลจากข้อมูล ซึ่งเป็นข้อสังเกตจากผู้วิจัยโดยข้อมูลทั้งหมดใช้ระยะเวลาในการติดตามผล 2-3 เดือน ยกเว้นของ Sinovac ที่ยังไม่มีผลรายงานการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ระยะที่ 3 ทั้งนี้ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในวัคซีนทุกชนิดคือ มีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ เพลีย หรือไข้ แต่ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับวัคซีนนั้นไม่พบว่าเกี่ยวกับการใช้วัคซีนแต่อย่างใด

อีกทั้งไม่นานมานี้ รอยเตอร์สได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ผลการทดสอบทางคลินิกของวัคซีนจาก Sinovac กับอาสาสมัครในบราซิลพบว่า ให้ผลประสิทธิภาพต่ำกว่า 60%

ทั้งนี้ วัคซีนที่อาจนำมาใช้ในประเทศไทย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ วัคซีน CoronaVac จากบริษัท Sinovac ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงมากกับวัคซีน BBIBP-CorV ที่ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว และได้รับอนุญาตใช้ในหลายประเทศแล้ว โดยรัฐบาลได้มีข้อตกลงในการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้าน และในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 จะได้รับวัคซีน ChAdoX1 ของบริษัท Astrazeneca อีก 26 ล้านโดส รวมถึงจัดหาจากผู้ผลิตอื่น ๆ อีก 13 ล้านโดส ซึ่งทางประเทศไทย วางแผนที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศภายในปี พ.ศ.2564

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ KIIItv ในเครือเอบีซี ได้รายงานถึงวัคซีนจากบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่อีกแห่งอย่าง จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อน ได้มีการเปิดเผยว่า วัคซีนจาก จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังยื่นขอการอนุมัติเพื่อใช้ยามฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯหรือเอฟดีเอ

โดยวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ที่กำลังพัฒนานี้ อ้างอิงจากเพจ

Doungchampa Spencer-Isenberg  ซึ่งได้มีการแปลสรุปให้ทราบถึงข้อมูลของวัคซีนตัวนี้ว่า เป็นวัคซีนที่จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ร่วมพัฒนากับ Janssen Pharmaceutical บริษัทเวชภัณฑ์จากเบลเยี่ยม โดยพัฒนาภายใต้โครงการชื่อ Ensemble และ Ensemble 2 มีอาสาสมัครเข้าทำการทดสอบอยู่ประมาณ 45,000 คน

วัคซีนดังกล่าว ใช้รูปแบบของ  Recombinant adenovirus vaccine ใช้ส่วนประกอบจากไวรัสนิดเดียว (Genetic material) เพื่อกระตุ้นการตอบสนองกับภูมิต้านทานในร่างกาย ใช้ live pathogen

วัคซีนทั้งหนึ่งและสองโดส กำลังถูกทดสอบกับกลุ่มประชากรอายุ 18 -59 ปี และไม่มีประวัติทางสุขภาพมาก่อน ส่วนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป กำลังมีการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ตอนนี้ยังไม่มีอัพเดทอะไรเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพของวัคซีนจากการทดสอบคือ วัคซีนแบบเข็มเดียว (single dose vaccine) กระตุ้นภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ถึง 97 เปอร์เซ็นต์ และสามารถต่อต้านไวรัสได้จากการทดสอบในห้องแลป ส่วนผลการทดสอบในภาคสนาม ยังรอสถิติกันอยู่ อาจจะเห็นสถิติและประสิทธิภาพกันก่อนได้รับอนุมัติการใช้ในยามฉุกเฉิน

คาดว่า วัคซีนตัวนี้จะได้รับอนุมัติราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคมปีนี้