E-DUANG : ข้อเสนอ ศูนย์รังสิต 10 สิงหาคม ตามมาด้วย “สาส์น”จากราษฎร

แม้ว่าการปรากฏตัวของ”เยาวชนปลดแอก”ในตอนเย็นของวันที่ 18 กรกฎาคม ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะปลุกความหวังให้กับบรรดานักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก

แต่เมื่อผ่านเข้าสู่การชุมนุมอีกครั้งระหว่าง”มอกะเสด”กับ”มหา นคร”เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม

การปราศรัยยาวเหยียดด้วยข้อกฎหมายของ นายอานนท์ นำภา ในชุดของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ สร้างความตระหนกเป็นอย่างสูงแม้กระทั่งในหมู่ผู้เข้าร่วมการชุมนุม

ยิ่งการปราศรัยซ้ำของ นายอานนท์ นาภา ตามมาด้วยคำประ กาศอันแข็งกร้าวของ รุ้ง ปภัสยา ในเวทีแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ณ รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม

ยิ่งสร้างความตระหนกเป็นอย่างสูงและคาดหมายไม่ถูกว่าการชุมนุมโดย”เยาวชน/ประชาชนปลดแอก” ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 16 สิงหาคมจะออกมาอย่างไร

แต่แล้วที่เหนือคาดก็คือ มีมวลชนเข้าร่วมมากกว่าทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และศูนย์รังสิต

จากนั้นข้อเสนอนี้ก็กลายเป็น 1 ความใฝ่ฝัน

 

แรกที่ รุ้ง ปภัสยา นำเสนอ 10 ข้อในทางกฎหมายเพื่อ”การปฏิรูป”ขึ้นบรรดาผู้จัดเจนในการเคลื่อนไหว ฟันธงอย่างพร้อมเพรียงกันว่า จะทำให้การเคลื่อนไหวมิอาจเดินหน้าไปได้

มวลชนจำนวนหนึ่งจะบังเกิดความตระหนกตกใจและแยกแตกตัวออกไปไม่เข้าร่วมอีก

เนื่องจากเป็นข้อเสนอทะลุเพดานและ”เลยธง”ในทางการเมือง

แต่หากประเมินจากที่เสนอเบื้องต้นในวันที่ 3 และละเอียดอย่างยิ่งในวันที่ 10 สิงหาคม เรื่อยมาจนถึงเดือนตุลาคมและเข้าสู่เดือนพฤศจิกายนสภาพที่ตามมากลับตรงกันข้าม

ทางหนึ่ง เกิดกระแสต่อต้านจากอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเด่นชัด แต่ทางหนึ่ง ก็มีผู้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก

นี่ย่อมเป็นปรากฏการณ์”ใหม่” นี่ย่อมเป็น”แนวโน้ม”ใหม่

 

บทเรียนในประวัติศาสตร์ไม่ว่ายุคก่อนเดือนตุลาคม 2516 หรือราย ละเอียดอันนำไปสู่สถานการณ์เดือนตุลาคม 2519 นี่คือจุดละเอียด อ่อนและอ่อนไหวในทางการเมือง

การเกิดปรากฏการณ์เดินทางไปสถานทูตเยอรมนี การเกิดปรากฎการณ์ส่ง”สาส์น”จาก”ราษฎร”จึงเหลือเชื่อ

เหลือเชื่อเมื่อมองจากประสบการณ์การเมืองที่ผ่านมา