‘คณะจุฬาฯ’ แถลง 5 ข้อเสนอ จี้รัฐแก้ปมความรุนแรง ‘ไอลอว์’ ชวนคนไทยสู้เพื่อ รธน.ฉบับ ปชช.

‘คณะจุฬาฯ’ แถลง 5 ข้อเสนอ จี้รัฐแก้ปมความรุนแรง ‘ไอลอว์’ ชวนคนไทยสู้เพื่อ รธน.ฉบับ ปชช.

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่บริเวณสกายวอล์ก MBK แยกปทุมวัน กรุงเทพมหานคร คณะจุฬาฯ จัดงาน “รัฐร้าวเราไม่ลืม” รัฐและความรุนแรง ความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน โดยเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. นางสาวญาณิศา วรารักษพงศ์ ตัวแทนจากคณะจุฬาได้อ่านแถลงการณ์ของคณะจุฬา ความดังนี้

แถลงการณ์คณะจุฬาฯ
เรื่อง ข้อเรียกร้องต่อกรณีความรุนแรง และการจำกัดสิทธิและเสรีกาพของประชาชนโดยรัฐ

จากเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงและการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ เช่น กรณีตัวเหตุการณ์การสลายการชุมนุมด้วยการใช้น้ำแรงดันสูงที่ผมสารเคมีซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อปะชาชนที่ชุมนุมโดยสันติ ปราศจากอาวุธ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 การควบคุมและคุกคามสื่อมวลชนที่พยายามนำเสนอข่าวข้อเท็จจริง แม้กระทั่งเหตุการณ์ความรุนแรงในอดีดที่รัฐพยายามทำให้เหตุการณ์เหล่านั้นหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์เพียงใด ก็ไม่สามารถลบหายไปจากความทรงจำที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของประชาชนชาวไทยได้

ต่อไปนี้คือตัวอย่างเหตุการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย จากการใช้อำนาจของรัฐ ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล เหตุการณ์ซึ่งสร้างความเจ็บปวด และเป็นความจริงที่รัฐพยายามทำให้ทุกคนลืมเลือน

เหตุการณ์ “ถีบลงเขา ผาลงถังแดง” ในปี พ.ศ.2510 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตของ
ผู้คนกว่า 3,000 ราย โดยรัฐคาดว่าคนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคอมมิวนิสต์ จึงเลือกใช้วิธีการ
นอกกฎหมายในการจัดการกับผู้ต้องสงสัย รัฐได้สร้างความเจ็บปวดแก่ประชาชนที่ได้รับรู้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

เหตุการณ์ “สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เมื่อ 6 คุลาคม 2619 อันเป็นที่รู้จักกัน มีการใช้ความรุนแรงและอาวุธ ต่อนักศึกษาที่ชุมนุมกับอยู่ภายในมหาวิทยาลัย

เหตุการณ์ “ตากไบ-กรือเซะ” การสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ชุมนุมที่อำเภอเมือง จังหวัดปัดตานี นำมาซึ่งการเสียชีวิตของประชาชนถึง 85 ราย

คดี “บิลลี่ พอละจี” ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและผู้ต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม และเผาลงถัง ในปี พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับเหตุการณ์ “ถีบลงเขา เผาลงถังแดง” ในปี พ.ศ.2510 แม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่า 47 ปีแล้วก็ตาม

เหล่านี้เป็นเพียงเหตุการณ์จำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์อีกนับไม่ถ้วน โดย “รัฐ” เลือกที่จะปฏิเสธความ
รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวและไม่มีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษแต่อย่างใด

ปัจจุบัน แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะนำมาพูดถึงกันมากขึ้นในสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจให้กับคนรุ่นหลังถึง “อาชญากรรมโดยรัฐ” แต่การสร้างความตระหนักเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถจำกัดการใช้อำนาจของรัฐที่ไม่ชอบธรรมได้ ดังเช่นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ผ่านมาของรัฐบาล เพื่อจำกัดเสรีภาพของประชาชนที่ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก จำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่สามารถชุมนุมโดยสงบได้

ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะผ่านมานานเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้ว หรือเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่
ผ่านมาก็ตาม “รัฐ” ผู้ซึ่งกระทำ ไม่เคยต้องรับผิด นั่นจึงยังเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐกล้าใช้ความรุนแรงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนตลอดมา

เมื่อมองให้ลึกลงไปถึงปัญหาเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากระบบและโครงสร้างของรัฐ
เองที่เอื้อให้เกิดการใช้ความรุนแรง

คณะจุฬาฯ ขอยกข้อเสนอห้าประการของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ Knight Commander of the Civil Division of the Most Excellent Order of the British Empire (KBE) ได้แก่

1.ให้รัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขัง และยุติการฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งหมด แก่ผู้ชุมนุม ประชาชน นักกิจกรรมทางการเมือง นักการเมือง และอื่นๆ จากการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติ

2.เคารพในสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิในการแสดงออกและการรวมกลุ่มโดยสันติ รวมไปถึงความสำคัญของประชาธิปไตยโดยมีเงื่อนไข 4 ข้อ หากรัฐจะดำเนินการจำกัดสิทธิของประชาชน โดยยืดหลักสากลและสนธิสัญญาที่รัฐไทยได้ลงนามเป็นสำคัญ คือ

2.1 กฎหมายที่ใช้ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับหลักนิติธรรมและหลักสากล
2.2 รัฐจะต้องพิสูจน์ได้ว่าการดำเนินการมีจุดประสงค์เพื่อการป้องกันภัย และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ
2.3 รัฐจะต้องพิสูจน์ได้ว่าการดำเนินการมีความสมเหตุสมผลและมีสัดส่วนมาตรการที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
2.4 หากมีการใช้มาตรการฉุกเฉินอันจำกัดสิทธิของประชาชน รัฐจะต้องรายงานให้สหประชาชาติ และองค์กรอื่นๆ ที่เข้าร่วมได้ทราบถึงการดำเนินการ

3.สนับสนุนให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยคำนึงถึงเนื้อหาและวิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

4 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ไปจนถึงผู้นำในท้องถิ่นจะต้องยึดโยงและมาจากประชาชน ผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่โปร่งใส ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ได้รับตำแหน่งมาโดยมิชอบ จะต้องลาออกและคืนอำนาจให้กับประชาชนทันทีรวมไปถึงการคานอำนาจอธิปไตยในกระบวนการรัฐธรรมนูญและการเมืองให้มีความสมดุลดังเดิม เปิดการเจรจาอย่างมีเหตุผล และหาจุดร่วมในการเดินหน้าประเทศด้วยสันติวิธีต่อไป

ทางออกของวิกฤติทางการเมืองและความรุนแรงต่าง ๆ รวมไปถึงข้อเสนอห้าข้อนี้ จะกระทำมิได้เลย หากไม่เกิดกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อันเป็นหลักกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทคที่จะต้องมาจากกระบวนการที่โปร่งใสและยืดโยงกับประชาชน เพื่อให้รัฐธรมญได้มีหน้าที่พิทักษ์รับใช้ประชาชน และระบอบประชาธิปไตยดังเดิม ดังนั้นแล้ว คณะจุฬาฯ จึงเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามความต้องการของประชาชน ที่ได้เข้าชื่อร่วมกันถึงกว่าหนึ่งแสนคนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขโครงสร้างของรัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ รวมถึงสามารถลงโทษเมื่อมีผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดได้ “รัฐธรรมนูญแห่งการไม่ต้องรับผิด” จะต้องถูกแก้ไข เพื่อประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจของประเทศได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง

ต่อมา เวลา 20.30 น. นายณัชปกร นามเมือง ตัวแทนจากโครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ปราศรัยว่า เราจะยุติความรุนแรงของรัฐด้วยการแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร จากที่ฟังกันมาคงเห็นหน้าตาความรุนแรงของรัฐกันแล้ว ย้อนไปในเหตุการณ์สลายชุมนุมเสื้อแดงปี 53 ไม่มีผู้ออกมารับผิดชอบ

“ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน จะต้องเอาผิดผู้นำเผด็จการ การจะนำไปสู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน เราจะต้องมีข้อมูลอย่างละเอียดถึงจะเอาผิดได้ ในระยะอันใกล้เราจะมีพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะผ่านสภาหรือไม่ นายกฯต้องมีการเลือกตั้ง ส.ว.ต้องมีการเลือกตั้ง เราต้องกดดันให้รัฐบาลผ่านกฏหมายให้ได้ ทุกวันนี้รัฐบาลเล่นปาหี่กับเรา เราต้องส่งเสียงว่าเราไม่เอารัฐธรรมนูญที่มาจากเสียงรัฐเอง รัฐธรรมนูญต้องแก้ได้ทุกมาตรา สุดท้ายนี้การจะไปสู่รัฐธรรมนูญของประชาชนได้มันจะต้องอาศัยพลังของทุกคน มีคนบอกว่าม็อบมา 1 แสนคน 1 แสนคนต้องไปคุยกับอีก 5 คน ให้ได้ 5 แสน และคุยไปจนถึง 65 คน เพื่อที่จะได้รัฐธรรมนูญของประชาชน วันนี้ต้องกลับไปบอกคนเหล่านี้ว่าให้ออกมาร่วมต่อสู้พวกเรา” นายณัชปกรกล่าว

จากนั้น มีการร้องเพลง ‘แสงดาวแห่งศรัทธา’ ผลงาน จิตร ภูมิศักดิ์ร่วมกัน แล้วประกาศยุติการชุมนุม