ใส่บ่าแบกหาม/ พรพิมล ลิ่มเจริญ/ Kim Ji-young : Born 1982

ใส่บ่าแบกหาม/พรพิมล ลิ่มเจริญ

Kim Ji-young : Born 1982

 

เธอจ๊ะ

Kim Ji-young : Born 1982 เป็นหนังสร้างจากนิยายชื่อดัง เขียนโดย Cho Nam-joo เคยทำงานเป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ตอนนี้ผันตัวมาเป็นนักเขียนแล้ว

เรื่องนี้เป็นนิยายเรื่องที่ 3 และก็ใช้ประสบการณ์ชีวิตมาเป็นข้อมูลในการเขียน สมัยที่เธอต้องออกจากงานมาเลี้ยงลูก มาเป็นแม่บ้านเต็มตัว

นิยายเรื่องนี้ขายดิบขายดี ในเกาหลีเองขายได้เกินล้านเล่ม มีการเอาไปแปลเป็นภาษาอื่นๆ อีก 18 ภาษา ก็เรื่องความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ การกีดกันในสังคมนี่นะ มันเป็น universal theme มันสะท้อนความคิดที่มีอยู่แล้วของผู้คนในโลก โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งประเด็นแบบนี้ในหมู่ผู้ชายก็มี แต่นิยายเรื่องนี้เขาเล่าเรื่องทางฝั่งผู้หญิงเป็นหลัก

ความชอบไม่ชอบในนิยายเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ มีผู้ชายที่ไม่ชอบ เพราะผู้ชายดูแย่ นิยายเขานำเสนอภาพลักษณ์ผู้ชายที่เป็นคนช่างดูถูกดูหมิ่นผู้หญิง

ส่วนผู้หญิงที่เป็นแม่บ้านบางคนเขาก็ไม่ชอบนิยาย และทำเขาดูแย่ เขาอยู่บ้านมีความสุขดี สามีดี ลูกดี เขาไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไร

หนังก็สร้างตามนิยาย คือทำให้เหมือนเราได้อ่านไดอารี่มากกว่าจะเป็นนิยาย ไม่ได้มีจุดพลิกผันให้ตื่นเต้นเร้าใจไปมา เรื่องนี้เล่าเรื่อง คิม จิ ยอง กับประเด็นความไม่เท่าเทียมที่เธอได้พบมาในชีวิต

ซึ่งตอนที่เผชิญอยู่นั้นไม่ทันได้รู้ ไม่ทันได้คิดหรอกว่าเท่าเทียมหรือไม่อย่างไร

 

เริ่มเรื่องที่คิมในปัจจุบัน อายุประมาณ 30 ปี แต่งงานแล้ว ออกจากงานแล้ว เพื่อมาดูแลครอบครัวและลูกเล็ก 1 คน เรื่องมันดำเนินไปอย่างธรรมดามาก เหมือนชีวิตประจำวัน ในแต่ละวันมันก็มีกิจกรรมให้ดำเนินไป แต่นั่นแหละเรื่องราวในใจมันลึกๆ มันมองไม่เห็น มันสั่งสมได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

I get upset about

everything these days.

It’s weird.

หมู่นี้ฉันเศร้าสะเทือนใจ

กับทุกเรื่องเลย

ประหลาด

ให้สังเกตตัวเอง คิมก็เห็นแค่นี้ รู้สึกแค่นี้ ไม่รู้ว่ามันคือปัญหา และมันใหญ่หลวง

คิมมาเป็นที่ผิดสังเกตมากๆ กับสามี ก็ตอนเทศกาล Chuseok ที่คล้ายๆ เทศกาลขอบคุณพระเจ้า ครอบครัวจะมารวมตัวกันฉลองเทศกาล คิมต้องไปฉลองที่บ้านพ่อ-แม่สามี ไม่เคยได้ฉลองที่บ้านพ่อ-แม่ตัวเอง ทุกครั้งคิมต้องเข้าครัวทำอาหารกับแม่สามี ส่วนคนอื่นๆ ก็พูดคุยสนุกสนานเฮฮากันในห้องรับแขก

พอทำเสร็จก็คิมอีกนั่นแหละ ที่ต้องคอยเสิร์ฟอาหารให้คนนั้นคนนี้ เดินทางจากกรุงโซลมาเมืองปูซานก็ปาเข้าไปสี่ซ้าห้าชั่วโมงแล้ว ยังต้องมาทำอาหารงกๆ ต้องมาเสิร์ฟเหย็งๆ จำต้องระเบิดออกมาเสียบ้าง

สามี แสดงโดย กงยู ขวัญใจพวกเรา

สามีรีบพาภรรยากลับบ้านเลย ก่อนจะบานปลาย

 

ตั้งแต่เด็กๆ แล้วแหละ ที่เด็กผู้หญิงถูกละเลย ถูกกด ไม่มากก็น้อย

Girls must always be

quiet and calm, you know?

เด็กผู้หญิงต้องไม่ส่งเสียงดัง

และสงบปากสงบคำ รู้เปล่า?

เด็กผู้ชายจึงวิ่งในบ้านก็ได้ ตะโกนโหวกเหวกโวยวาย จะงอแงก็ยังได้

สมัยเด็กพอพ่อไปเมืองนอก พ่อก็ซื้อของมาฝากลูกสามคน

You just gave us sketch books.

พ่อซื้อแค่สมุดวาดเขียนมาฝากเรา

“เรา” ก็คือพี่น้องสองเด็กหญิง ส่วนน้องชายได้ปากกาหมึกซึมอย่างเท่หนึ่งด้าม

หรืออย่างฉากสะเทือนใจฉากหนึ่ง คิมในสมัยวัยรุ่น อยู่ชั้นมัธยม ขึ้นรถเมล์กลับบ้าน แต่ถูกนักเรียนชายตามติด คล้ายจะประสงค์ร้าย โชคดีที่มีผู้หญิงบนรถเมล์เข้าใจสถานการณ์นั้นและช่วยเหลือ

พ่อเดินมารับที่ป้ายรถเมล์ ลูกร้องไห้อย่างหนัก พ่อกลับบอกว่า

Dress properly.

Your skirt is too short.

And don’t smile at anyone.

แต่งตัวให้มันมิดชิดสิ

กระโปรงสั้นเกินไป

แล้วก็อย่าไปยิ้มให้ใครเขา

ชุดนักเรียนยาวถึงเข่าเลยหนา พ่อโทษลูกอย่างนี้เลย และพ่อสรุป

Stay alert and avoid problems.

If you don’t avoid it,

it’s your fault.

ระวังตัวและหลีกเลี่ยงปัญหา

ถ้าไม่เลี่ยง

แกนั่นแหละผิด

ได้ยินแบบนี้แล้วปวดใจแทนน้องคิม!

 

ชีวิตคิมดีกว่าแม่ไหม? พูดได้ไม่เต็มปาก แม่ไม่ได้เรียนหนังสือ แม่อยากเป็นครู แต่ก็ไม่ได้เป็น

Because I had to earn money

for my brothers to go to school.

แม่ต้องออกมาทำงานหาเงิน

ส่งเสียพี่ชายให้ได้ไปเรียน

พี่ชายตั้งสี่คน แล้วก็มาแต่งงานเลย แต่งงานแล้วก็มีลูกเลย ตามกรอบที่สังคมกำหนด

I’m your mother now.

I have to raise you kids.

แม่เป็นแม่ของลูก

แม่ก็ต้องเลี้ยงลูก

ตกลงไม่ใช่แค่ทำงานส่งเสียพี่ๆ แม่ยังต้องมาแต่งงานและเลี้ยงลูก โอกาสทำตามความฝันไม่มีกับเขาเลย ถ้าเป็นประตู มันก็ปิดใส่หน้าแม่ไม่รู้กี่บานต่อกี่บานแล้ว

เพื่อนของคิมก็มาเล่าเรื่องที่ทำงาน เพื่อนพนักงานแอบเอากล้องไปติดในห้องน้ำหญิง มันช่างทุเรศ มันไม่ปลอดภัย ไม่มีใครจะรับประกันว่าห้องน้ำอื่นๆ ห้องน้ำสาธารณะอีกไม่รู้กี่แห่งต่อกี่แห่งที่เราต้องใช้บริการจะไม่เป็นแบบนี้

คิมเองก็โดนกับตัวเอง ที่ร้านกาแฟ ไปซื้อกาแฟแล้วทำตกพื้น คนที่มาต่อแถวก็พูดดังๆ ใส่

What a nuisance.

Why not drink coffee at home?

What a worm-like mom.

กวนประสาทสิ้นดี

ไม่กินกาแฟที่บ้านเล่า

เป็นแม่แต่เหมือนหนอนน่ารังเกียจ

ด่ากันขนาดนี้เลยว่าเป็นหนอนยัวเยี้ยชอนไชน่ารังเกียจ ไม่ได้รู้จักมักจี่กันสักหน่อย

ดีนะคิมได้สามีดี

Life’s hard for you, too?

Let’s go together.

ชีวิตมันยากสำหรับคุณใช่ไหม?

ไปหา (จิตแพทย์) ด้วยกันนะ

 

หนังมันดีตรงให้เราได้ฉุกคิดและหัดสังเกตชีวิตตัวเอง ถึงมันจะรู้ได้ยากว่าสิ่งใดในชีวิตนำทางเราให้กลายเป็น “คนแปลก” เราเศร้าเพราะอะไร? เราอึดอัดกับสิ่งไหน?

คำตอบก็ใช่ว่าจะมีสิ่งเดียว มันไม่ใช่ว่าจะชี้นิ้วไปที่สิ่งหนึ่งแล้วบอกว่านี่แหละปัญหาของฉัน ปัญหาชีวิตและสังคมมันไม่ได้ง่ายแบบนั้น จิตใจมนุษย์ ชีวิตมนุษย์ สังคมมนุษย์มันซับซ้อน ชีวิตเราผ่านอะไรต่อมิอะไรมามาก ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้ เราทำได้แค่เผชิญหน้ากับมัน เผชิญหน้ากับชีวิตเราเองให้ได้

ถ้าต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจ ก็ออกไปหาเขาแล้วก็รับความช่วยเหลือจากเขา มันคล้ายๆ ปวดฟันหรือเป็นสิว มันหายเองไม่ได้ แพทย์ช่วยได้ก็ยอมให้เขาช่วยเหอะ

สังคมที่เราไม่ได้เป็นใหญ่ จิตใจต้องแข็งแรงให้ได้ ชีวิตจะได้แข็งแกร่งตามไปติดๆ แล้วหนทางจะมาให้พบ

ฉันเอง

กว่า 12 ปี ของการจัดงาน Healthcare เครือมติชนร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ส่งต่อความรู้และให้บริการสุขภาพแก่คนไทยในทุกมิติ ทั้งการป้องกัน ดูแล และรักษา โดยเฉพาะการบริการตรวจสุขภาพฟรีจากสถานพยาบาลชั้นนำ เวิร์กชอป ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ รวมถึงการยกระดับเวทีเสวนาให้เป็น “Health Forum” เปิดเวทีให้แพทย์ และ Speaker ระดับประเทศ มาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการป้องกัน การรักษา และนำเสนอนวัตกรรมทางการแพทย์ รวมถึงเรื่องราวสุขภาพในแบบเอ็กซ์คลูซีฟที่จะมาให้อัปเดตตลอด 4 วันของการจัดงาน เดินทางสะดวกโดยทางด่วนและ MRT ลงสถานีสามย่าน ทางออกที่ 2
ลงทะเบียนเข้างานฟรี มีต้นไม้แจกด้วยนะ (จำนวนจำกัด)