E-DUANG : ก้นบึ้งใจ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ เหตุใด จึงต้อง เหล็งฮู้ชง

เมื่อพรรคไทยรักษาชาติประสบกับวิกฤต”ยุบพรรค”อันมาจากคำ ร้องของกกต. เหตุปัจจัยอะไรทำให้ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ บังเกิดนัยประหวัดไปยัง “เหล็งฮู้ชง”แห่ง”กระบี่เย้ยยุทธจักร”

หลายคนนึกถึงคุณธรรมน้ำมิตรอันเป็นเนื้อหาที่ซึมซ่านอยู่ต่อเนื่องในยุทธนิยายกำลังภายใน

และตัวตนของ “เหล็งฮู้ชง”

หลายคนนึกถึงสายสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนที่เหล็งฮู้ชงประสบ โดยเฉพาะการเข้าไปสัมพันธ์กับประมุขพรรคอสูรและโดยเฉพาะธิ ดาของประมุขพรรคอสูร

กระนั้น เมื่อเป็นการเอ่ยอ้างถึง”เหล็งฮู้ชง”ก็สะท้อนรากฐานการอ่านยุทธนิยายกำลังภายในของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ได้

เพราะว่าอยู่ในยุคเหล็งฮู้ชง อยู่ในยุคกระบี่เย้ยยุทธจักร

 

ความเป็นจริง ยุทธนิยายกำลังภายในสะท้อนความสัมพันธ์อันซับ ซ้อนของจอมยุทธ์มาตั้งแต่ยุค”มังกรหยก”

ไม่ว่าจะเป็น”เอี้ยก่วย” ไม่ว่าจะเป็น”เตียบ่อกี้”

ยิ่งเรื่องราวของ “อุ้ยเสียวป้อ” ยิ่งสับสน แต่พอมาถึง”เหล็งฮู้ชง” ก็ดังเปรี้ยง

กระนั้น ยุทธนิยายกำลังภายในรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Xiao

Ding แห่ง”กระบี่เทพสังหาร” ไม่ว่าจะเป็น Mao Ni แห่ง”สยบ ฟ้า พิชิตปฐพี”

ไปไกลยิ่งกว่ายุคของกิมย้ง โกวเล้ง หวงอี้ ยิ่งนัก

เพราะว่าไม่ว่าจางเสี่ยวฝาน หรือ กุ่ยลี่ ไม่ว่าหนิงเชวีย ล้วนก้าวไปสู่การผสมผสานระหว่าง พุทธ เต๋าและมาร เข้ามาในแบบ หลอมรวมอย่างแยบยล

เพราะว่าทั้ง Xiao Ding และ Mao Ni ล้วนเป็นนักเขียนที่เติบใหญ่ในยุคแห่งการเปิดประเทศ ปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่

นั่นก็คือ เป็นผลผลิต”เติ้ง” ไม่ใช่”เหมา”

 

ในห้วงแห่งการยุติการเคลื่อนไหว “ชั่วคราว” ระหว่างรอฟังผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นี่ย่อมเป็นโอกาสอันดีสำหรับคอกำลัง ภายในระดับ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

การย้อนกลับไปศึกษายุทธนิยาย”สามก๊ก”อาจมีความจำเป็น แต่การสัมผัสกับยุคของ Mao Ni ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

อาจได้”รส”ในยุคแห่ง”ฟ้ารักพ่อ”ก็เป็นได้

โดยเฉพาะกระบวนการ”หลอมรวม”ในทาง “ความคิด”