“ประชาชาติ” วอนทุกฝ่ายอยู่ในกติกาเลือกตั้ง เพื่อการเมืองสร้างสรรค์

วันที่ 25 มกราคม 2562 นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ กรรมการบริหารพรรคประชาชาติ และ อดีตประธานภาคประชาสังคม กล่าวว่า การเมืองที่สร้างสรรค์ก็ควรทำตามกติกาๆ ว่ายังไง ก็ว่าอย่างนั้น กติการัฐธรรมนูญเน้นเรื่องอะไรเราก็อยู่ในกรอบนั้น แล้วก็อย่าเที่ยวใส่ร้ายป้ายสีกัน เรามาทำให้เป็นการเมืองที่สร้างสรรค์ มาแข่งขันกันในเชิงนโยบาย เราสามารถให้พรรคคัดเลือกตัวบุคคลซึ่งมีอุดมการณ์แล้วก็มีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม มาช่วยกันผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่น ท้องที่และเป็นของประชาชนโดยแท้จริง

การทำจะทำนโยบายแบบนี้ มันต้องลงไปหาประชาชน ถึงพื้นที่ ถ้าเราไม่ลงไปหาประชาชนถึงระดับพื้นที่เราจะไม่รู้ปัญหา ถ้าเรารู้ปัญหาแล้วความต้องการแล้ว เราก็รวมศูนย์ปัญหาและความต้องการนั้นมาเป็นนโยบายและเราก็นำไป ใช้กับพื้นที่ต่างๆที่สอดคล้องกับนโยบาย ทั่วประเทศ

สำหรับนโยบายของพรรคประชาชาติ ประชาชนทุกเชื้อชาติทุกศาสนาทุกวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นชาวเขา คนที่อยู่ในเมืองชนบท ก็สามารถมาร่วมกิจกรรมของพรรคประชาชาติได้หมด และพรรคประชาชาติก็เน้นความยุติธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการที่จะสร้างงานทางการเมือง

ฉะนั้นนโยบายหลักที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ก็คือความยุติธรรมและความเสมอภาคในการมีบทบาทร่วม และสร้างสรรค์การเมืองในเชิงพหุวัฒนธรรมที่ทุกฝ่ายทุกภาคส่วน สามารถมาร่วมกันได้ อันนี้คิดว่าน่าจะเป็นจุดแข็งของพรรคประชาชาติ และหลายพื้นที่มีการตอบรับดี จนกระทั่งกระแสของพรรคประชาชาติจากพรรคเล็กๆอยู่ท้ายๆก็ขึ้นมาอยู่แถวหน้า พรรคหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งแต่ละครั้งเวลาไปออกตามชนบท คนไม่ต่ำกว่า 300- 400 คน ให้ความสนใจเข้ามาร่วมรับฟังนโยบายของพรรคประชาชาติ

เป็นที่มาของการ เผยแพร่ข้อมูล ทางโซเซียล เพื่อ ทำลายผู้นำพรรค และพรรคประชาชาติ โดยมีเนื้อหา ที่พยายามให้มองว่าผู้นำพรรคประชาชาติ มีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบซึ่งในความเป็นจริง ผมอยากจะเรียนว่า การทำแบบนี้ มันเป็นการเล่นการเมืองที่ไม่ค่อยมีวินัย เป็นผลเสียกับระบอบประชาธิปไตยมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นเราคิดว่าถ้าเป็นไปได้เราไม่ควรจะเล่นโดยวิธีการอย่างนี้ เพราะมันไม่สร้างสรรค์

ในความเป็นจริงแล้วการที่ อาจารย์ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ออกมาตั้งพรรคประชาชาติผมคิดว่ามันเป็นมิติใหม่ของพรรคการเมืองที่ต้องการจะให้คนได้มาร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองอย่างหลากหลาย มีชนกลุ่มน้อยชาวเขาในส่วนต่างๆของประเทศ ได้มาร่วมคนที่ไม่เคยมีโอกาสเข้าถึงผู้นำทางการเมือง เช่นคนที่อยู่ตามรากหญ้าก็มีโอกาสเข้ามาเป็นกรรมการบริหารพรรคพวก คิดว่าเป็นเรื่องดีอีกอย่างนโยบายที่สำคัญของพระประชาชาติ คือ นโยบายพหุวัฒนธรรม อันนี้เป็นกิจกรรมใจกลางของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉะนั้นมันมีหลายกลุ่มที่โชว์พหุวัฒนธรรมแต่ว่ากลุ่มที่มีมวลชนเป็นกลุ่มเป็นก้อนหนาแน่นแบบพรรคประชาชาติยังไม่มี เพราะฉะนั้นผมคิดว่าทุกกลุ่มน่าจะช่วยกันร่วมไม้ร่วมมือสามัคคีกัน ผลักดันพหุวัฒนธรรม ถึงจะถูก จึงจะเป็นการเมืองที่สร้างสรรค์

ขณะที่ กอ.รมน. เองที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชนอยู่ ก็ชู พหุวัฒนธรรม แต่ว่าพอมีกลุ่มมวลชนที่รวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง ชู พหุวัฒนธรรม รู้สึกว่า หลายคนหลายส่วน ไม่ค่อยคิด และ ไม่ค่อยทำแบบสร้างสรรค์ คิดว่าจุดนี้ ทุกฝ่ายน่าจะคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อ ประโยชน์ส่วนรวมของประชาชาทุกคน
/////////////////

ข่าวโดย นินาซือเราะ