E-DUANG : 16.6 ล้านเสียง จากประชามติ รากฐาน ของพรรคตระกูลพลัง

การออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กำลังกลายเป็นประเด็นในทางการเมือง

เป็นท่วงทำนองที่คล้ายกับของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ก็ไม่เหมือนทีเดียว

“เมื่อก่อนผมสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เต็มตัว

เพราะต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้บริหารราช การแผ่นดินในช่วงรอยต่อให้เรียบร้อยเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประ เทศชาติ

แต่การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้พรรครวมพลังประชาชาติไทยเป็นพรรคของประชาชน ก็จะฟังเสียงของประชาชน”

นั่นก็คือ ให้ผล”การเลือกตั้ง”เป็นคำตอบสุดท้าย

 

แถลงล่าสุดของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่เพียงแต่ยืนอยู่บนบรร ทัดฐานพรรครวมพลังประชาชาติไทยเป็นพรรคของประชาชนเท่านั้น

หากที่สำคัญยังอยู่ที่การเลือกของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการเลือกพรรคพลังประชารัฐ

มิใช่พรรครวมพลังประชาชาติไทย

กระนั้น หากจับ “อาการ”ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นต่อจำนวน 16.6 ล้านคนที่ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ

ก็จะประจักษ์ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มิได้ห่างไปจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เลย

เพราะรากฐานของพรรครวมพลังประชาชาติไทย กับ รากฐานของพรรคพลังประชารัฐก็เป็นอย่างเดียวกัน คือ การสืบทอดอำนาจของคสช.

คือ การสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

คะแนน 16.6 ล้านที่ให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเดือน สิงหาคม 2559 คือ ความเชื่อมั่นของบรรดาพรรคตระกูล”พลัง”ใน ทางการเมือง

ไม่ว่าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ว่าพรรครวมพลังประชาชาติไทย

ไม่ว่าพรรค(พลัง)ประชาชนปฏิรูป

เพียงแต่ว่าจะแบ่งสันปันส่วนคะแนนกันอย่างไรเท่านั้นเอง

ความมั่นใจนี้จึงเป็นความมั่นใจที่ยังอยู่ระหว่างการพิสูจน์