ทำไมต้องควบคุมการ”หาเสียง”ให้อยู่ในกรอบจำกัด ฉบับประจำวันที่ 21-27 กันยายน 2561

ย้อนแย้ง”อย่างยิ่งสำหรับ รัฐบาลที่ลมหายใจเข้าออก คือเรื่อง “ไทยแลนด์ 4.0
ที่หมายถึงการนำพาสังคมไทยก้าวจากยุคอนาล็อกไปสู่ยุคดิจิตอล
แต่พลันที่ มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2561 ปรากฏต่อสาธรณะ
ด้วยการห้ามใช้เทคโนโลยีหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หาเสียง หรือติดต่อสื่อสารอันจะมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำถามก็เซ็งแซ่ ว่า นี่คือ ไทยแลนด์ 4.0 จริงหรือ
เพราะ คำสั่ง “ห้าม” ก็คือการปฏิเสธ โลกยุคดิจิตอล ที่ขายฝันมาตลอดนั่นเอง
อะไร ที่ ทำให้ รัฐบาลและคสช.กระทำในสิ่งที่ขัดกับ สิ่งที่พูดอย่างสิ้นเชิง
ด้านหนึ่ง ประเมินว่าอาจมาจาก ความรู้สึก “ได้เปรียบ” และอีกด้านอาจมาจากความรู้สึกกลัว
ทั้งนี้ รัฐบาลและคสช.รู้ดีว่าหากสามารถควบคุมการ”หาเสียง”ให้อยู่ในกรอบจำกัด ทั้งจำกัดด้านเวลา เทคโนโลยี่ ช่องทางสื่อสาร ตนเอง ย่อมได้เปรียบ
เพราะตนเองมีช่องทาง ที่จะสื่อสารมากกว่าพรรคการเมืองทั่วไป อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้องเปิดช่องทางให้คู่แข่ง
ส่วนอีกด้านหนึ่ง มาจากความกลัว
เป็นไปได้ที่รัฐบาลและ คสช.เกรงพรรคการเมืองที่ใช้เทคโนโลยี่ดิจิตอลได้ดีกว่า ทั่งการเข้าถึง ทั้งการโน้มน้าวใจ รวมไปถึงกลยุทธ์ ต่างๆของสังคมยุคใหม่
จึงไม่กล้าปะมือ และรีบตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการห้าม ใช้ เทคโนโลยีหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หาเสียง เสียเลย
โดยไม่สนว่าจะเสียหน้ากับการชูไทยแลนด์ 4.0
ผลการเลือกตั้ง ที่ต้องชนะ สำคัญกว่า
แต่กระนั้น คำถามที่น่าสนใจก็คือ รัฐบาลและคสช. จะห้ามอยู่หรือไม่
ด้วยโลกดิจิตอลก้าวไปไกลแล้ว ยิ่งห้าม ยิ่งปกป้อง ยิ่งมีรูรั่ว
ข่าวสาร ข้อมูลพร้อมจะทะลายดั่งเขื่อนแตก
แทนที่จะเปิดทางระบาย กลับไปปิดกั้น
ที่สุดแล้ว รัฐบาลที่พร่ำบ่นเรื่องไทยแลนด์ 4.0 อาจจะไม่เข้าใจ โลกยุคใหม่อย่างถ่องแท้เลยก็ได้
——————-