ดะโต๊ะ ศรี มหฎิร โมฮัมมัด นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 และคนที่ 7 ของมาเลเซีย ตอนที่ 5 “นโยบายต่างประเทศของมหฏิร”

จรัญ มะลูลีม

3 ทศวรรษ ความสัมพันธ์ไทยมาเลเซียในสมัยแรกของมหฎิร (1981-2003)

นายกฯ ทักษิณไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ของนายกฯ มหฎิร โดยกล่าวว่าข้อวิจารณ์ดังกล่าวไม่สร้างสรรค์ แต่ก็กล่าวเพิ่มเติมว่าข้อวิจารณ์ดังกล่าวไม่มีผลกระทบกับกัวลาลัมเปอร์เพราะมหฎิร (ในเวลานั้น) มิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลมาเลเซีย

ในเวลาเดียวกันการลี้ภัยของประชาชน 131 คนจากจังหวัดนราธิวาสไปยังมาเลเซียทำให้ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียเลวร้ายลง

ประเทศไทยเรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้มาเลเซียส่งกลับผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้

ทางมาเลเซียก็ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้นจนกว่าเจ้าหน้าที่ของไทยจะประกันถึงสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของตน 131 คน

เป็นเรื่องง่ายเช่นกันที่จะดูว่าทำไมมาเลเซียถูกบีบให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับภาคใต้ของไทยเพราะเมื่อเข้าไปข้องเกี่ยวกับภาคใต้ของประเทศไทยและทางเหนือของมาเลเซีย

ปัญหาอธิปไตยและชายแดนก็กลายเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน

 

ชาวมุสลิมในภาคใต้ของไทยเป็นคนชาติพันธุ์มาเลย์ และส่วนใหญ่เลือกที่จะพูดมาเลย์ ดินแดนของพวกเขาครึ่งหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุลฏอนอิสระ (Independent Sultanate) ของปัตตานี ซึ่งในปี 1902 ถูกรวมเข้ากับสยาม (สยามเป็นชื่อของประเทศไทยที่รู้จักกันถึงปี 1939)

การเคลื่อนไหวนี้ต่อมาถูกทำให้เป็นทางการด้วยสัญญาอังกฤษสยาม (Anglo Siamese Treaty) ในปี 1909 ซึ่งเป็นการวางเค้าโครงชายแดนระหว่างสยามและบริติชมลายา แม้แต่ในปัจจุบันนี้สมาชิกของครอบครัวขยายบ่อยครั้งจะอาศัยอยู่ตามคนละฝั่งของเขตแดน ซึ่งในหลายๆ แห่งมีเฉพาะแม่น้ำแคบๆ เท่านั้นที่เป็นเครื่องหมายของการอยู่แยกกัน

จากเหตุผลดังกล่าว อาจจะโต้แย้งได้ว่าชาวไทยหลายคนคิดว่าในทางวัฒนธรรมพวกเขามีความใกล้ชิดกับมาเลเซียมากกว่ารัฐบาลกรุงเทพฯ ที่ยึดเอาความเป็นไทย (Thai-centric) เป็นตัวตั้งอย่างสูง ความทุกข์โศกที่เห็นได้นี้นำไปสู่การจับอาวุธขึ้นก่อกบฏในอดีต

กลุ่มศึกษาวิกฤตนานาชาติ (International crisis group) กล่าวว่า กลุ่มแยกดินแดนมีความตื่นตัวในภูมิภาคมาตั้งแต่ตอนปลายของทศวรรษ 1960 และกล่าวถึงปลายทศวรรษ 1970 และ 1980 ว่าเป็นดั่งทศวรรษ “แห่งความขมขื่นโดยเฉพาะ” ในตอนกลางของทศวรรษ 1990 ความไม่สงบหายไปเพื่อที่จะมาปรากฏอีกครั้งในเดือนมกราคม ปี 2004

 

แม้ประเทศไทยและมาเลเซียให้ความสำคัญต่อการเมืองและความมั่นคงที่มีต่อกัน แต่มหฎิรให้ความสนใจในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศไทยเป็นการเฉพาะมากกว่า กลไกของความเป็นทวิภาคีถูกนำมาใช้ เช่น การมีคณะกรรมการร่วม (1987) การจัดตั้งหน่วยงานร่วมมาเลเซีย-ไทย (1990) สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย มาเลเซีย-ไทย (1993) ยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วม (2003)

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียยังคงเป็นเรื่องความเป็นผู้นำแบบบนลงล่างอยู่ดี ความสัมพันธ์มาเลเซีย-ไทย ยังคงได้รับอิทธิพลจากความเป็นผู้นำของทั้งสองประเทศแบบบนลงล่าง (Top-down) มาจนถึงปัจจุบัน

แม้ความมั่นคงจะเป็นประเด็นหลักในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย

แต่ก็มีความร่วมมือในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และความร่วมมือในประเด็นต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการศึกษา

อย่างไรก็ดี ความร่วมมือประเภทหลังอาจดูสำคัญน้อยกว่าเรื่องความมั่นคงอันเป็นข้อห่วงกังวลในลำดับแรกของรัฐบาลไทยและมาเลเซียตลอด 60 ปีที่ผ่านมาและอาจจะนานกว่านั้น

 

มาเลเซียกับความขัดแย้งในภูมิภาค

ในด้านการเมืองและความมั่นคงพบว่ามาเลเซียในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ASEAN เคยมีความขัดแย้งกับประเทศที่เป็นสมาชิก ASEAN มาก่อน อย่างเช่นในปี 1966 มีการเผชิญหน้าระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซียและจบลงด้วยการมีไมตรีต่อกัน ในปี 1980 ความขัดแย้งมาเลเซีย-ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างดินแดนซาบาฮ์ (Sabah) ของสองฝ่ายจบลงได้ด้วยการไกล่เกลี่ย และในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง ASEAN มาเลเซียมีส่วนร่วมในการแก้ไขความขัดแย้งร่วมกับประเทศ ASEAN อื่นๆ มาแล้วเช่นกัน อย่างเช่นในปี

1975 สงครามอินโดจีน มาเลเซียได้ร่วมแก้ไขปัญหาเวียดนามซึ่งจบลงได้ด้วยการประนีประนอม

1985 เวียดนาม-กัมพูชา มาเลเซียได้ร่วมเข้าไปคลี่คลายปัญหาร่วมกับคณะทำงานของ ASEAN

1999 ติมอร์ตะวันออก มาเลเซียได้ร่วมแก้ไขปัญหาพร้อมๆ ไปกับสมาชิกอื่นๆ ของ ASEAN โดยวิถีอาเซียน

2002 ทะเลจีนใต้ อันเป็นเป็นปัญหาระหว่างจีนกับประเทศ ASEAN บางประเทศนั้น มาเลเซียในฐานะสมาชิกของ ASEAN ได้ร่วมคลี่คลายปัญหาร่วมกับสมาชิกอื่นๆ ของ ASEAN

2012 ไทย-กัมพูชา มาเลเซียในฐานะสมาชิก ASEAN ได้ร่วมอยู่ในการสานเสวนาเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง

นโยบายของประเทศต่างๆ ล้วนได้รับการจับตามองจากมหฎิรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง (divide-and-rule) ของอังกฤษ นโยบายหม้อหลอมละลาย (melting-pot) ของสหรัฐ นโยบายปริมณฑลร่วมแห่งความเจริญรุ่งเรือง (co-prosperity sphere) และนโยบายการปิดล้อม (containment) ของสหรัฐ และนโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรม (cultural revolution) ของจีน

นอกจากนี้มหฎิรยังมีความประทับใจต่อประวัติศาสตร์ที่มีมาก่อนหน้านี้ อย่างเช่น การเดินทางรอบโลกทางเรือของเจิ้งเหอ (Chenghe”s Voyage) หรือซำปอกง จาเลียน วัลลาบาร์ก ในอินเดีย วาทกรรมว่าด้วย “ข้าพเจ้ามีความฝัน” ของมาติน ลูเธอร์คิงในสหรัฐ การยาตราระยะยาวของเหมาเจ๋อตุง (Mao”s Long March) หรือแนวคิดของซูการ์โนว่าด้วยการเผชิญหน้า (Konfrantasi) และแนวคิดของลี กวน ยิว ว่าด้วยมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ (Singapore”s Economic Miracle)

แบบอย่างทางเลือกในการประท้วงและความไม่พอใจของประชาชนต่อรัฐบาลของตนที่มาจากทั่วโลก เป็นตราประทับที่ฝังแน่นอยู่ในตัวผู้นำมาเลเซียอย่างมหฎิร รวมทั้งการทลายกำแพงเบอร์ลิน การปฏิวัติตามแนวทางอิสลามในอิหร่าน การแตกออกมาของยุโรปตอนกลางและเหตุการณ์ 9/11 ที่มีการโจมตีสหรัฐและล่าสุดคือเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า Arab Spring

ในระดับโลกได้มีการเปลี่ยนผ่านการบริหารจากสมัยหลังอาณานิคมไปสู่การพัฒนาที่นิยมความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ ความเป็นกลาง ชาตินิยม ภูมิภาคนิยมและภูมิภาคนิยมใหม่ โลกาภิวัตน์ เสรีนิยม หุ้นส่วนของกลุ่มอุดมการณ์ ความเป็นสังคมวัฒนธรรม เซอรัมปัน มลายู บาห์รู นูซันตารา วิธีอาเซียน (ASEAN Way) เอเชียแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก

ไม่มีประวัติศาสตร์และการพัฒนาใดๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว จะหลุดรอดสายตาและความสนใจของผู้นำมาเลเซียคนปัจจุบันผู้นี้ได้เลย