ผลวิจัยชี้ชัด “สินบน” มักเอี่ยว “ผู้บริหาร” โดยมีการ “จัดซื้อจัดจ้าง” เป็นเป้าหลัก รองลงมาคือขอให้ผ่านศุลกากร

แนวโน้ม

ผลวิจัย สินบน ป.ป.ช. 53% เกี่ยว “ผู้บริหาร”

นิติพันธ์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

เปิดเผย

สินบนถือเป็นปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาสากล ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

จากการศึกษาวิจัยของ ป.ป.ช. พบว่าการกระทำผิดของนิติบุคคลมีสัดส่วนถึงร้อยละ 53 เกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง และ 3 ใน 4 ของคดีทุจริตระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับการใช้ตัวแทน

และสัดส่วนถึงร้อยละ 57 เป็นคดีจ่ายสินบนในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ขณะที่จุดประสงค์ของการให้สินบนพบว่าสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 57 เพื่อให้ได้รับสัญญาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และรองลงมาร้อยละ 12 เพื่อให้ผ่านพิธีการศุลกากรและอื่นๆ

กลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือกฎหมายอนุสัญญาต่อต้านการทุจริต (UNCAC) จะเข้ามาแก้ไขปัญหาสินบนในองค์กรเอกชน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ตามมาตรา 123/5 ซึ่งได้ปรับปรุงให้สอดคล้องอนุสัญญาดังกล่าว

พร้อมกำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่กระทำผิด ปรับ 1 เท่า หรือไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ขึ้นกับดุลพินิจของศาล

ป.ป.ช. ยังได้วางแนวทางเบื้องต้นให้นิติบุคคลไปกำหนดมาตรการป้องกันการให้สินบน