ความเป็นมาของหลักสูตรการฝึกเพิ่มเติมทางทหาร : หลักสูตรทหารเสือและทหารมหาดเล็ก

โดย ปิยะภพ มะหะมัด

สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องแสดงขีดความสามารถของนายทหารว่ามีความเชี่ยวชาญหรือความสามารถพิเศษทางทหาร คือ เครื่องหมายแสดงขีดความสามารถที่ประดับอยู่บนอกเสื้อเบื้องซ้ายหรือเบื้องขวาของนายทหาร การที่นายทหารประดับเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถ นั้นจะต้องผ่านการฝึกในหลักสูตรเพิ่มเติมทางทหาร เช่น หลักสูตรการรบจู่โจมหรือหลักสูตร Ranger (เสือคาบดาบ) ของศูนย์การทหารราบ, หลักสูตรทาลายล้างวัตถุระเบิดของโรงเรียนสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง , หลักสูตรทหารเสือของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และหลักสูตรทหารมหาดเล็กของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เป็นต้น

สำหรับหลักสูตรการฝึกเพิ่มเติมทางทหารที่เป็นสัญลักษณ์ที่ระบุว่ามาจากหน่วยหรือรับราชการในหน่วยใด ซึ่งนายทหารที่รับราชการในหน่วยต้องผ่านการฝึกทุกคนทั้งนายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน ได้แก่ หลักสูตรทหารเสือของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และหลักสูตรทหารมหาดเล็กของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ นายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่รับราชการในหน่วยดังกล่าวต้องผ่านการฝึก มีเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารมหาดเล็กประดับอยู่บนอกเสื้อเบื้องขวาเหนือเครื่องหมายหลักสูตรการรบจู่โจม (เสือดาบดาบ) ดังภาพที่ 1 และ 2

tiktkttik

yjfjkjfjfjfj

หลักสูตรทหารเสือ เป็นหลักสูตรทางทหารหลักสูตรพิเศษกองทัพบก ริเริ่มโดยกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยกองทัพบกได้อนุมัติหลักสูตรทหารเสือเป็นหลักสูตรทางทหารหลักสูตรพิเศษ ปี พ.ศ. 2524 เป็นการสนองในพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทรงมีพระราชประสงค์ให้กาลังพลของหน่วย “ได้รับการฝึกพิเศษเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการที่จะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายทุกรูปแบบ ทุกสภาพภูมิประเทศ มีจิตใจกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี” ดำเนินการฝึกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 นายทหารที่เป็นผู้ก่อตั้งหลักสูตรทหารเสือ คือ พันโทณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช อดีตผู้บังคับกองทัพทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้อำนวยการฝึกคนแรก

ryheyheyeyeye

ปัจจุบันดำเนินการฝึกมาแล้วทั้งสิ้น 20 รุ่น มีกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการฝึก และผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้อำนวยการฝึก

สำหรับการฝึกหลักสูตรทหารเสือ แต่เดิมเป็นการฝึกของนายทหารและกาลังพลที่รับราชการอยู่ในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ภายหลังเปิดให้หน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เข้ามาฝึก ได้แก่ กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่12 รักษาพระองค์ รวมถึงนายทหาร นายตำรวจ และกาลังพลจากหน่วยอื่นเข้ามาฝึก ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยต้นสังกัดเข้ามาฝึก การฝึกหลักสูตรทหารเสือดำเนินการฝึก 2 ปี ต่อ 1 รุ่น ใช้เวลาทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ แบ่งช่วงการฝึกออกเป็น 5 ภาค ดังนี้

1. การฝึกภาคที่ตั้ง ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เป็นภาคของการปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เตรียมร่างกายให้พร้อมในการฝึกภาคต่อๆ ไป (ผู้ที่ผ่านการฝึกในระยะนี้เท่านั้นที่จะสามารถรับการฝึกขั้นต่อไปได้)

2. การฝึกภาคป่า-ภูเขา ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เน้นการฝึกการแทรกซึมทางอากาศด้วยอากาศยาน การฝึกการแทรกซึมทางพื้นดินเข้าปฏิบัติการต่อที่หมายในลักษณะหน่วยทหารขนาดเล็กหรือชุดปฏิบัติการ การจัดตั้งและใช้กำลังกองโจร, การพิสูจน์ทราบพื้นที่ป่า, การฝึกขี่บังคับม้าและการบรรทุกต่างๆ, ฝึกปฏิบัติในการถวายความปลอดภัยองค์พระประมุข และการศึกษางานโครงการพัฒนาตามพระราชดาริ

3. การฝึกภาคทะเล ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เน้นการแทรกซึมทางน้ำ, การดำน้ำทางยุทธวิธี, การใช้เรือยาง การลาดตระเวนชายฝั่ง, การยุทธสะเทินน้าสะเทินบก, การโดดร่มลงทะเล, การดำรงชีพในทะเล และประเพณีชาวเรือ

4. การฝึกภาคปฏิบัติการในเมือง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เน้นการปฏิบัติในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง, การต่อต้านการก่อการร้ายสากล, การชิงตัวประกัน และการขับขี่จักรยานยนต์ทางยุทธวิธี

5. การฝึกภาคอากาศ ระยะเวลา 2 สัปดาห์ เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพื้นฐานของการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง, การบังคับร่ม, การพับร่ม และการแก้ไขเหตุติดขัด

นายทหารที่ผ่านการฝึกหลักสูตรทหารเสือจะได้รับพระราชทานเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ และประดับเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสืออยู่บนอกเบื้องขวาเหนือเครื่องหมายหลักสูตรการรบจู่โจม (เสือคาบดาบ)

หลักสูตรทหารเสือ ได้ชื่อว่าเป็นหลักสูตรที่นายทหารทุกคนปรารถนาที่จะเข้ารับการฝึก เนื่องจากเปิดการฝึก 2 ปี ต่อ 1 รุ่น และรับจำนวนกำลังพลเข้าฝึกจำนวนจำกัด จากเดิมทำการฝึกให้กับนายทหารและกำลังพลในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ต่อมาเป็นให้กาลังพลทั้งนายทหารและนายตำรวจจากหน่วยอื่นเข้ารับการฝึกเช่นเดียวกัน

เมื่อสำเร็จการฝึกจะได้รับพระราชทานเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในฐานะองค์ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการฝึกหลักสูตรทหารเสือทุกปี

นอกจากนี้ นายทหารที่เป็นนายทหารพิเศษประจากรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ, นายทหารชั้นนายพลในตำแหน่งหลัก, นายทหารชั้นต่ำกว่านายพลหรือนายทหารชั้นนายพลที่ดำรงตาแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิประจาหน่วยต่างๆ มีเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือประดับอยู่บนอกเบื้องขวาเหนือเครื่องหมายหลักสูตรการรบจู่โจม (เสือคาบดาบ) เช่นเดียวกัน แต่เครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือเป็นแบบกิตติมศักดิ์นั้น มีความแตกต่างจากนายทหารที่ผ่านการฝึกหลักสูตร

ทหารเสือ เครื่องหมายแบบผ่านการฝึก คำว่า “ทหารเสือ” อยู่ภายในแพรสะบัดชายสีฟ้า ส่วนเครื่องหมายแบบกิตติมศักดิ์ คำว่า “ทหารเสือ” อยู่ภายในแพรสะบัดชายสีแดง ดังภาพที่ 4

reehrjkklu7y

หลักสูตรทหารมหาดเล็ก เป็นหลักสูตรการฝึกริเริ่มโดยกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยกองทัพบกได้อนุมัติหลักสูตรการฝึกในปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันดำเนินการฝึกมาแล้วทั้งสิ้น 12 รุ่น มีกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการฝึก วัตถุประสงค์ของการฝึก คือ

1. เพื่อปรับมาตรฐานความรู้ความชำนาญของกาลังพลที่เข้ารับการฝึกให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจได้ตามมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สอดคล้องกับแนวทางและนโยบายของผู้บังคับบัญชา

2. มีขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสามารถปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสากล

3. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในปฏิบัติภารกิจได้ทุกสภาพภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ เหตุการณ์และโอกาสต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ พร้อมสาหรับเผชิญภัยก่อการร้ายทุกรูปแบบ และ

4. เพื่อสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ตามธรรมเนียมประเพณีของทหารมหาดเล็ก และเมื่อร่วมกับหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง

โดยการฝึกแบ่งออกเป็น 2 ภาค รวม 6 สัปดาห์ ดังนี้

1. การฝึกภาคที่ตั้ง

1.1 ข้อปฏิบัติในราชสานักและแบบธรรมเนียมราชประเพณี, งานในหน้าที่ทหารมหาดเล็ก, อาวุธศึกษา, การใช้อาวุธ และการยิงปืนด้วยกระสุนจริงทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

1.2 การต่อสู้ด้วยมือเปล่า

1.3 การรักษาความปลอดภัยบุคคลสาคัญ และการปฏิบัติการลับ

1.4 การปฏิบัติการทางบก, ทางน้ำ และด้วยอากาศยาน

1.5 การปฏิบัติการรบในเมือง

1.6 การต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบ

1.7 การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

2. การฝึกภาคสนาม

2.1 การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

2.2 การปฏิบัติการรบในเมือง

2.3 การปฏิบัติการทางบก, ทางน้ำ และทางอากาศยาน

นายทหารที่ผ่านการฝึกหักสูตรทหารมหาดเล็กจะได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารมหาดเล็ก และประดับเครื่องหมายอยู่บนอกเบื้องขวาเหนือเครื่องหมายหลักสูตรการรบจู่โจม (เสือคาบดาบ) โดยกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ระบุถึงผู้มีสิทธิประดับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารมหาดเล็ก จะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

1. เป็นนายทหารพิเศษกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

2. เป็นผู้บังคับบัญชาสังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตั้งแต่รองผู้บังคับกองพันขึ้นไป

3. เป็นข้าราชการประจาการของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ที่สำเร็จการฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็ก

โดยส่วนใหญ่นายทหารที่รับราชการอยู่ในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ทั้งที่เป็นนายทหารพิเศษ, ผู้บังคับบัญชาในหน่วย และนายทหารที่ผ่านการฝึกจะมีเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารมหาดเล็กประดับอยู่บนอกเบื้องขวาเหนือเครื่องหมายหลักสูตรการรบจู่โจม (เสือคาบดาบ) ประดับอยู่ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นนายทหารที่รับราชการในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ รวมถึงผ่านการฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็ก เช่นเดียวกับนายทหารที่ผ่านการฝึกหลักสูตรทหารเสือของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และนายทหารที่ได้รับพระราชทานเครื่องหมายขีดความสามารถทหารเสือแบบกิตติมศักดิ์ จะมีเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือประดับอยู่

สุดท้าย จุดสังเกตที่สามารถระบุได้ว่ามาจากหน่วยใด, ผ่านการฝึกจากหลักสูตรใด, เป็นนายทหารพิเศษและได้รับเครื่องหมายจากหน่วยใด ให้ดูเครื่องหมายที่ประดับอยู่บนอกเบื้องขวาเหนือเครื่องหมายหลักสูตรการรบจู่โจม (เสือคาบดาบ) เป็นสำคัญ

oititt

________________________________

อ้างอิง และ คำอธิบาย

หลักสูตรการรบแบบจู่โจมหรือหลักสูตร Ranger (เสือคาบดาบ) ของศูนย์การทหารราบ เป็นหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากหลักสูตรการรบจู่โจมของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบสหรัฐอเมริกา (Fort Benning) มลรัฐจอร์เจีย หลักสูตรนี้ได้ชื่อว่าเป็นหลักสูตรการฝึกที่ทรหดที่สุดของกองทัพบก นายทหารที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าส่วนใหญ่ผ่านการฝึกหลักสูตรนี้ทุกคน นอกจากนี้ มีนายทหารบางคนไปฝึกหลักสูตรการรบจู่โจมที่ Fort Benning เพิ่มเติม เช่น พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร และพลเอกสมทัต อัตตะนันทน์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก โปรดดู หลักสูตรจู่โจม Ranger กองทัพบกไทย.
http://www.cavalrycenter.com/learningcenter/ index.php/km1/4-2014-02-06-04-00-14.

หลักสูตรทาลายล้างวัตถุระเบิดของโรงเรียนสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากหลักสูตรทาลายล้างวัตถุระเบิดของสหรัฐอเมริกา โดยกองทัพบกได้จัดตั้งหน่วยทาลายล้างวัตถุระเบิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2509 ใช้ชื่อว่า “หน่วย ทลร.” โดยใช้กาลังพลของแผนกวิชาส่งกาลัง และยุทโธปกรณ์กระสุน กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก มีร้อยเอกไพฑูรย์ อรรควัฒน์ ซึ่งสาเร็จการศึกษาหลักสูตรทาลายวัตถุระเบิดของสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าหน้าที่โครง ต่อมาได้มีการจัดตั้ง “ชุด ทลร. 1” ขึ้นโดยใช้เจ้าหน้าที่โครงจาก โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบกเป็นกาลังพลหลักในการปฏิบัติงาน ทลร. ปัจจุบันมีโรงเรียนสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นหน่วยผลิตนักทาลายวัตถุระเบิดของกองทัพบก โปรดดู การจัดตั้งหน่วยทาลายล้างวัตถุระเบิดของกองทัพบกไทย. http://www.engrdept.com/tahanchangling/cuangmay/EOD.htm.

หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด. http://www.engrdept.com/tahanchangling/cuangmay/minewarfare.htm.

หลักสูตรทหารเสือ. http://www.rta.mi.th/21232u/tiger/tiger/tiger.htm.

นายทหารที่เป็นนายทหารพิเศษประจากรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และนายทหารชั้นนายพลในตาแหน่งหลัก จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายขีดความสามารถทหารเสือแบบกิตติมศักดิ์โดยตาแหน่ง ขณะที่นายทหารชั้นต่ากว่านายพลหรือนายทหารชั้นนายพลที่ดารงตาแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิประจาหน่วยต่างๆ จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายขีดความสามารถทหารเสือแบบกิตติมศักดิ์นั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยจะทาเรื่องขอให้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ (วันที่ให้ข้อมูล 4 ตุลาคม 2559).

เครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารมหาดเล็ก. http://www.1stinfantryreg.in.th/ประวัติหน่วย/ประวัติหลักสูติ-ukbt/.

การดาเนินการฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็ก. http://pisanu1004-1.blogspot.com/2009/03/blog-post.html.