ทำไมภาพ “คนอยากเลือกตั้ง” จึงโดดเด่น เป็นข่าว ทั่วโลก

ทั้งๆที่ความพยายามของ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ที่จะออกจาก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีปริมาณคนเข้าร่วมจำนวนไม่มากนัก
นั่นก็คือ เป็น “หลักร้อย” ไม่ถึง “หลักพัน”
แต่สงสัยหรือไม่ว่า สถานการณ์ครั้งนี้กลับได้รับความสนใจจากสังคมอย่างกว้างขวาง
ไม่เพียงแต่ “ในประเทศ” หากแต่ในขอบเขต “ทั่วโลก”
ปฏิกิริยาอันมาจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCHR นับว่าแจ่มชัดและชัดเจน

ทำไม

คำตอบ 1 มาจากท่าทีของคสช. ท่าทีของรัฐบาล ยิ่งมองเห็นว่าความพยายามของ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” เป็นความเลวร้ายถึงกับจะโยนข้อหามาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา
ยิ่งเป็นเรื่องที่แปลกอย่างประหลาดในทางการเมือง
ยิ่งมีการโหมประโคมข่าวเรื่อง “แดงฮาร์ดคอร์”
ยิ่งมีการโหมประโคมข่าวเรื่องการว่าจ้างหัวละพันมาจากสมุทรปราการ
ประสานกับการตั้งกำลังกว่า 10 กองร้อย
ยิ่งทำให้เห็นว่าเพียง”อยากเลือกตั้ง”ก็กลายเป็น”ความผิด”กลายเป็น “อาชญากรรม”ร้ายแรง
เป็น “ท่าที”ของคสช.และของรัฐบาลนั่นแหละคือ “เหตุ”

คำตอบ 1 มาตรการที่คสช.และรัฐบาลงัดออกมาใช้เป็นอาวุธเป็นเครื่องมือคือคำสั่งที่ 57/2557 คือคำสั่งที่ 3/2558 อาจเหมาะกับเมื่อปี 2557 และเมื่อปี 2558 แต่เมื่อมีการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายน 2560

คำสั่งเหล่านี้ล้วนขัดกับ”รัฐธรรมนูญ”และเป็นเรื่อง”พ้นสมัย”

เบื้องหน้าทุกมาตรการที่ คสช.และรัฐบาล งัดออกมาเพื่อกำราบและปราบปราม “คนอยากเลือกตั้ง” ได้ทำให้มองเห็นภาพ
1 คนอยากเลือกตั้ง และ 1 คนไม่อยากเลือกตั้ง
ไม่ว่าจะมีกระบวนการดำเนินการอย่างที่เรียกว่า “ปฏิบัติการ ด้านการข่าว”อย่างไร
ภาพของคนอยากเลือกตั้ง กับภาพของคนไม่อยากเลือกตั้งดำรงอยู่อย่างเด่นชัด

ในสายตา”คนไทย” และในสายตา “ชาวโลก”