ความรู้สึกที่ยังคงอยู่ในใจของทีมปั้นครุฑ-ทำโคมไฟ ส่วนหนึ่งในงานพระเมรุมาศ

อ.ภราดร เชิดชู(หัวหน้าทีมปั้นครุฑ) ได้พูดมาจากใจและน้ำเสียงสะอื้นว่า “จากวันที่ได้รับมอบหมาย รุ้เลยว่างานนี้สาหัสสากันเนื่องจากเนื้องานมีจำนวนมากและต้องทำภายในที่เวลาจำกัด เค้าเปรียบตัวเองเสมือนออกรบ คือพลีชีพตัวเองทำงานนี้เพื่อพระราชา หมายความว่า เปรียบเสมือนเค้าคือข้าราชบริพารของพระองค์ท่าน ต้องทำงานให้ออกมาสำเร็จทันเวลา สง่างามสมพระเกียรติที่สุด รักษาสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย คิดอย่างเดียวต้องทันๆๆ”

คำบอกเล่าจาก วัฒน ทิพย์วีรนันท์ ศิลปินงานปฏิมากรรมแก้วและโคมไฟ (รับผิดชอบเป่าโคมไฟนั้วราชวัตร เสาครุฑและพระที่นั่งทรงธรรมบางส่วน) เล่าว่า สำหรับพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภุมิพลอดุยเดช ทุกภาคส่วนระดมกำลังของกรมศิลปากรร่วมกันออกแบบและแบ่งงานกันให้ทันเวลาที่กำหนดไว้ สำนักสถาปัตยกรรมเป็นงานโครงสร้างพระเมรุมาศ ส่วนสำนักช่างสิบหมุ่จะดูแลใยส่วนผลงานเครื่องประดับพระเมรุม่ศเช่น สัตว์หิมพานต์ เทวดา ท้าวจตุโลกบาลทั้ง4 สัตว์ประจำทิศ ฉากบังเพลิง พระโกศจันทน์ พระโกศทองคำเป็นต้น

อย่างที่ทราบกันดีว่า พระเมรุมาศครั้งนี้ออกแบบโดย อ.ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมกรมศิลปากร ทำการร่างแบบไว้4แบบ


แบบที่1 แนวคิดพระมหากษัตริย์ผุ้ยิ่งใหญ่ ออกแบบพระเมรุมาศเป็นทรงบุษบก 1 ยอด
แบบที่2 ขยายต่อยอดจากแบบที่1 ให้มีลักษณะคล้ายกับพระเมรุมาศพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว จะเป็นทรงบุษบก 5 ยอด
แบบที่3 ออกแบบโดยสื่อถึงพระมหากษัตริย์รัชกาลที่9 แลัพยายามสร้างสรรค์รุปทรงบุษบกให้แตกต่างจากที่ผ่านๆมาจึงออกแบบทรงบุษบก9ยอดพิเศษ
แบบที่4 คงความหมายของพระมหากษัตริย์ แต่ออกแบบให้พระเมรุมาศมีความสง่างามสมพระเกียรติสุงสุด เป็นทรงบุษบก9ยอด (และเลือกใช้แบบนี้)

ความพิเศษในพระเมรุมาศครั้งนี้มีอยุ่ด้วยกันหลายต่อหลายอย่าง ซึ่งต่างไปจากพระเมรุมาศที่ผ่านๆมา เช่นในสมัยก่อนศิลปะการซ้อนไม้ในการก่อสร้าง ช่างจะใช้ไม้แผ่นบางตัดแต่งตามลวดลายที่ช่างกำหนดขึ้น เมื่อนำมาซ้อยกันจะทำให้เกิดเป็นมิติตื่นลึกเทียบเคียงกับงานแกะสลักไม้ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยการใช้วัสดุเรซิ่น ทำต้นแบบ แกะพิมพ์หล่อเรซิ่นหรือใช้แผ่นพีวีซีมาทำการตัดคว้านแต่ละชั้นด้วยเครื่องจักรคอมพิวเตอร์(CNC)

สำหรับโคมไฟเสาครุฑก็เป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่เคยเกิดขึ้น ปกติจะใช้เสาหงษ์ ฝ่ายศิลปกรรมต้องการสื่อให้ครุฑเปรียบเสมือนเป็นพาหนะของพระนารายณ์นั่นเอง โคมไฟที่พิเศษครั้งนี้มีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่ามีการใช้เทคนิคพิเศษคือฟอสน้ำยากัดแก้วให้เกิดฝ้า จะทำให้ผิวของแก้วเรียบเนียนสม่ำเสมอแทนการพ่นทราย
โคมไฟที่ใช้เทคนิคนี้มีที่เสาครุฑกับรั้วราชวัตรรอบบริเวณพระเมรุมาศครับ

ผมขอเป็นตัวแทนจากทีมงานอีก2คนที่ปั้นครุฑคือ อ.ภราดร เชิดชูและ ภคคีตา แก้วกัญญา
ความรู้สึกในการถวายงานครั้งนี้ มันเป็นความสิ้นหวังที่ยากจะหวนคืน แต่ละคนทำงานกันด้วยความเงียบ ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำกันไปแต่บรรยากาศมันบ่งบอกถึงความโศกเศร้า ผมทำงานไปน้ำตาไหลไป มันออกมาเองคิดถึงพระองค์ท่าน คิดถึงคำประโยคนึงคือ”เย็นศิระ เพราะพระบริบาล” งานถึงได้สำเร็จออกมา

การถวายงายครั้งสุดท้ายนี้ผมพูดกับอ.ภราดร ตลอดว่าทำให้เต็มที่ที่สุดในชีวิตและตั้งใจทุกชิ้นกับงาน ทำอย่างสุดใจ ถือเป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิตพวกเราแล้ว