แม่บ้านมหาดไทยนครสวรรค์ น้อมนำพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” รณรงค์เชิญชวนสวมใส่ผ้าไทยผ้าพื้นเมืองในทุกวันทุกโอกาส

แม่บ้านมหาดไทยนครสวรรค์ น้อมนำพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” รณรงค์เชิญชวนสวมใส่ผ้าไทยผ้าพื้นเมืองในทุกวันทุกโอกาส มุ่งมั่นส่งเสริมภูมิปัญญาไทยสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเมืองปากน้ำโพให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

วันนี้ (22 พ.ค. 67) นางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมรณรงค์เชิญชวนสวมใส่ผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ตามอัตลักษณ์ของพื้นที่พื้นถิ่น ในงานบุญประเพณีหรือในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทยในทุกวันและโอกาส ตามโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญางานหัตถศิลป์หัตกรรมไทย กระตุ้นให้เกิดค่านิยมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอพื้นเมือง ตลอดจนเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น ให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนคนไทยทั่วประเทศ สู่การสร้างรายได้กระจายในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก อนุรักษ์ความเป็นไทยพร้อมขับเคลื่อนแฟชั่นของไทยสู่สากล ซึ่งจังหวัดนครสวรรค์ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมผ้าไทยมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งเสริมผสมผสานวัฒนธรรมประเพณี อาทิ กิจกรรม “ใส่บาตรหน้าจวน ชวนอิ่มบุญ นุ่งผ้าไทย” ทุกเช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างสวมใส่ผ้าไทย ผ้าลายประจำจังหวัดหรือลายท้องถิ่น เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม พร้อมขับเคลื่อนการเผยแพร่รณรงค์ให้ทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทย ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญา งานหัตถกรรมหัตศิลป์ไทย อันเป็นมรดกล้ำค่าที่สามารถรักษาความเป็นไทยและจังหวัดนครสวรรค์ให้คงอยู่สู่เยาวชนคนรุ่นหลัง

นางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า จังหวัดนครสวรรค์ได้นำแนวนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการน้อมนำพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาสู่การขับเคลื่อนและส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย ด้วยการจูงใจให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดหันมาสวมใส่ผ้าไทยในทุกวันและทุกโอกาส ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ช่างทอผ้าและผู้ประกอบการผ้าไทยได้ผลิตชิ้นงานที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากภูมิปัญญางานหัตถศิลป์และหัตถกรรม ที่สืบสาน รักษา และต่อยอดมาจากบรรพบุรุษ ผสมผสานต่อยอดด้วยหลักวิชาการแฟชั่นสมัยใหม่พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของไทยตรงตามความต้องการของตลาด สอดคล้องกับความนิยมชมชอบของประชาชน นำไปสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เกิดแรงขับเคลื่อนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

“สำหรับลายผ้าประจำจังหวัดนครสวรรค์ คือ ผ้าลาย “พาสาน” เป็นลายอัตลักษณ์ที่มีแนวคิดมาจากการนำลายขอพระราชทานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาผสมผสานเป็นการรวมอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนครสวรรค์ ถ่ายทอดลงบนผืนผ้าลวดลาย ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น ไทย-จีน ในรูปแบบการเฉลิมฉลองสื่อผ่าน รูปลักษณะ องค์ประกอบของโคมไฟจีนและพลุ โดยเลือกใช้สีแดง เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลตรุษจีนของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งคำว่า “พาสาน” ที่ที่มาสถาปัตยกรรมต้นน้ำ เจ้าพระยา ที่สร้างมาให้สอดรับกับลักษณะภูมิประเทศรับน้ำ สื่อความหมายสัญลักษณ์ คือ การรวมตัวกันของแม่น้ำ 4 สาย เป็น 2 สาย และรวมตัวกันเป็นแม่น้ำ เจ้าพระยา พาสานมีลักษณะเป็นอาคารรูป ร่างคล้ายสะพานยกโค้ง ทำ ให้เมื่อน้ำ ขึ้นสูง ก็สามารถล่องเรือลอดส่วนโค้งชมความสวยงามของสถาปัตยกรรมได้ เมื่อเดินขึ้นไปจะเห็นทัศนียภาพในระดับที่สูงขึ้นไปตามลำดับ มุมมองที่มีต่อเมืองนครสวรรค์ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกระทั่งเมื่อถึงจุดบนสุด ก็จะได้เห็นจุดที่แม่น้ำ สองสายมารวมกันเป็นเจ้าพระยาอย่างชัดเจน พร้อมกับที่เห็นเมืองจากด้านบน หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งคือ อาคารนี้ช่วย “ผสาน” แม่น้ำ เจ้าพระยาและเมืองนครสวรรค์เข้าด้วยกัน” นางวราภรณ์ฯ กล่าว

นางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนส่วนราชการ องค์กรทุกภาคส่วน และประชาชน ร่วมกันสวมใส่ผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น ในชีวิตประจำวัน ร่วมแสดงถึงที่มุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะช่วยกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน อีกทั้งยังได้ร่วมกันสืบสานเส้นใยผ้าทอ สืบต่อมรดกหัตถศิลป์ไทย ใช้ผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น ส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นไทย ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยที่มีความโดดเด่นสวยงาม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมผ้าไทย ด้วยการร่วมกันใส่ผ้าไทยในทุก ๆ วัน ทุก ๆ โอกาส เพื่อให้ผ้าไทยพื้นถิ่นได้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นการสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีจากฐานราก ขยายผลไปสู่การที่พี่น้องประชาชนมีกินมีใช้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

#WorldSoilDay #วันดินโลก
#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI
#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข
#SoilandWaterasourceoflife
#SustainableSoilandWaterforbetterlife
#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน
#SDGsforAll #ChangeforGood