จังหวัดตราด จันทบุรี ตาก กาฬสินธุ์ และพิจิตร จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน”

จังหวัดตราด จันทบุรี ตาก กาฬสินธุ์ และพิจิตร จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่ช่างทอผ้า ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ไปถักทอผสมผสานกับลวดลายภูมิปัญญาพื้นถิ่นตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันนี้ (15 มี.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้า และผู้ประกอบการผ้าไทย ทุกเทคนิค นำไปสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค เยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนคนไทยนำไปทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในวันที่ 15 มีนาคม 2567 จังหวัดตราด จันทบุรี ตาก กาฬสินธุ์ และพิจิตร ได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทานให้แก่ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชิญไปมอบให้ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้า ใช้ในการประกอบอาชีพ ดังนี้

1. จังหวัดตราด ที่ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม บ้านปูรีสอร์ทตราด ตำบลหนองคันทรง อำเภอเมืองตราด นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่ผู้บริหารหน่วยงาน นายอำเภอ และกลุ่มทอผ้าของจังหวัดตราด จำนวน 7 กลุ่ม โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดตราด หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี

2. จังหวัดจันทบุรี ที่โถงแสงจันท์ ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ จำนวน 35 กลุ่ม โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทุกอำเภอ กลุ่มทอผ้าจังหวัดจันทบุรี ร่วมพิธี

3. จังหวัดตาก ที่หอประชุม ศาลากลางจังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่พัฒนาการจังหวัดตาก นายอำเภอทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดตาก พัฒนาการอำเภอ และผู้แทนกลุ่มทอผ้าและงานหัตถกรรมในจังหวัดตาก จำนวน 24 คน โดยมี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดตาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธี

4. จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ห้องเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่กลุ่มทอผ้าใน 18 อำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เป็นช่างทอผ้า กลุ่มทอผ้า และผู้ผลิตผ้าทุกกลุ่มทุกเทคนิค รวม 60 คน โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ปลัดจังหวัดกาฬสินธุ์ พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธี

5. จังหวัดพิจิตร ที่หอประชุมจังหวัดพิจิตร นายอดิเทพ กมลเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่พัฒนาการจังหวัดพิจิตร นายอำเภอทั้ง 12 อำเภอของจังหวัดพิจิตร พัฒนาการอำเภอ และผู้แทนกลุ่มทอผ้าและงานหัตถกรรมในจังหวัดพิจิตร โดยมี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพิจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ปลัดจังหวัดพิจิตร และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธี

“นับเป็นพระกรุณาคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดโครงการ Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระราชทานเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” แก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ที่สร้างสรรค์ผืนผ้าและหัตถกรรม ด้วยขั้นตอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้สร้างสรรค์และผู้สวมใส่ ซึ่งเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานสากล และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคใต้ ณ แหล่งสมาคมนายทหารสัญญาบัตร กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายชบาปัตตานี” เพื่อเป็นของขวัญแก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการชาวจังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างอัตลักษณ์ สืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น ให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินไทย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อไปอีกว่า อีกทั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผ้าทอแบบโบราณ ณ บ้านคำปุน ตำบลคำน้ำแขบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ซึ่งเป็นลายที่ได้ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายผืนผ้าจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และทรงนำมาออกแบบลายพระราชทานเนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยพระราชทานแบบตั้งต้นไว้ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทผ้ากาบบัว ประเภทผ้ายก จก บิด แพรวา ประเภทผ้ามัดหมี่ และประเภทผ้าบาติก ซึ่งสามารถนำลายพระราชทานหลัก ทั้ง 4 ประเภทนี้ไปถักทอผสมผสานกับลวดลายภูมิปัญญาพื้นถิ่นตามความคิดสร้างสรรค์ต่อไป

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในตอนท้ายว่า ในขณะนี้กระทรวงมหาดไทย นำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยได้ดำเนินการและขยายผลโครงการตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ไปยังทั่วภูมิภาคของประเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง ยังผลให้ช่างทอผ้าช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยสำนึกพระกรุณาคุณที่ทรงมีต่อเหล่าปวงชนชาวไทย ขอน้อมนำแนวพระดำริในการสร้างคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยสามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง อันยังประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนทุกช่วงวัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

#WorldSoilDay #วันดินโลก
#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI
#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข
#SoilandWaterasourceoflife
#SustainableSoilandWaterforbetterlife
#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน
#SDGsforAll #ChangeforGood