มูลนิธิซิตี้ ร่วม ยูเอ็นดีพี เผยความคืบหน้าเฟสแรก ชู 3 ขั้นตอน ฟื้นฟูวิสาหกิจชายแดนใต้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

กรุงเทพฯ 28 เมษายน 2564 – มูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เผยความหน้า “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและนักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการชุมชนระดับท้องถิ่น สร้างโอกาสในการจ้างงาน และบ่มเพาะธุรกิจชุมชนที่สร้างรายได้แก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย กลุ่มสตรี เยาวชน และผู้ว่างงานจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ 1.การสร้างทีมและการฝึกวางแผนองค์กร 2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สร้างขีดความสามารถของสมาชิก และทำการทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย และ 3.ดูแลการดำเนินการและการประเมินผลกระทบ

 

ซึ่งนับตั้งแต่เปิดตัวในช่วงต้นเดือนธันวาคม ปี 2563 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โครงการดังกล่าวได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับ 5 ชุมชน ประกอบด้วย 1.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านท่าด่าน จ.ปัตตานี 2.วิสาหกิจสิ่งทอชุมชนคนรักษ์น้ำบ่อ จังหวัดปัตตานี 3.วิสาหกิจชุมชนฟาร์มโคขุนตัวอย่างเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตำบลลำใหม่ จังหวัดยะลา 4.กลุ่มสตรีและเยาวชนผู้ผลิตกาแฟโบราณบ้านแหร จังหวัดยะลา และ 5.ชุมชนเรียนรู้การปลูกกาแฟฮาลาบาลา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการการวางแผนธุรกิจเพื่อสังคม กระบวนการให้คำปรึกษา ติดตามผล รวมถึงการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยความร่วมมือกันของชุมชนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตลอดจนมูลนิธิซิตี้ และยูเอ็นดีพี

 

มร. เรโนด์ เมเยอร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า หลังจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมมือกับมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) ได้ดำเนินงาน โครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและนักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการชุมชนระดับท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการสร้างโอกาสในการจ้างงานและพัฒนาธุรกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย กลุ่มสตรี เยาวชน และผู้ว่างงานหลังจากวิกฤตโควิด-19 ด้วยการดำเนินงานทั้ง 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย

1. การสร้างทีมและการฝึกวางแผนองค์กร – โดยที่ยูเอ็นดีพีร่วมกับศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในพื้นที่ เพื่อสร้างขีดความสามารถที่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของชุมชน โดยเน้นให้มีการออกแบบโครงสร้างการกำกับดูแลวิสาหกิจชุมชน พร้อมดำเนินการสำรวจความเป็นอยู่พื้นฐานของสมาชิกในชุมชน รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวางแผนธุรกิจ ตลอดจนทำการสำรวจทางการตลาดเพื่อมองหาคำสั่งซื้อจากผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของวิสาหกิจ

2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สร้างขีดความสามารถของสมาชิก และทำการทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย – หลังจากขั้นตอนการวางแผน สนับสนุนผู้บ่มเพาะวิสาหกิจในพื้นที่ที่ได้รับการอบรมพัฒนาขีดความสามารถและสมาชิกในชุมชน ด้วยการให้คำแนะนำทางเทคนิคตลอดจนกระบวนการให้คำปรึกษาและการระดมทุนเพื่อพัฒนาและทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มตลาดเป้าหมาย เพื่อเพิ่มทักษะสำหรับสมาชิกในชุมชน พร้อมทั้งดูแลการดำเนินการทดสอบให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

3. ดูแลผลการดำเนินการและประเมินผลกระทบ – ความเชี่ยวชาญทางการเงินของมูลนิธิซิตี้และประสบการณ์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการรายย่อยจะสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในภายหลัง พร้อมขยายขนาดการดำเนินงาน รวมทั้งช่วยออกแบบประมาณการทางการเงินอย่างง่ายผ่านการวางแผนสถานการณ์ในอนาคตให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นศูนย์กลางเพื่อการเสริมสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจร่วมกับภาครัฐระดับท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วยการสนับสนุนให้แต่ละชุมชนทำการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างง่ายอันจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถและการริเริ่มที่เป็นรูปธรรมแก่หน่วยงานในพื้นที่ต่อไป

โดยเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2563 กลุ่มสมาชิกชุมชนจากจังหวัดยะลาและปัตตานีจำนวน 36 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนครั้งแรก ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี เพื่อระดมความคิดและพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจและชุมชนโดยใช้เครื่องมือทั้ง Impact Business Model Canvas, Simple Financial Model, Design Thinking, Risk Management Plan’ และ SDG Integration Framework โดยภายในงานเยาวชนและสมาชิกทั้งหญิงและชายของวิสาหกิจชุมชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกันผ่านการพัฒนาแผนธุรกิจชุมชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม

มร. ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย และตัวแทนมูลนิธิซิตี้ กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น อย่างที่ทราบกันดีว่าได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแก่คนหลายๆ กลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่มีความเสี่ยงต่อการถูกกีดกันทางสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่เปราะบางของแรงงานที่เดินทางกลับจากประเทศมาเลเซียและส่วนอื่นของประเทศไทย ทำให้เกิดความท้าทายต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น เนื่องจากการว่างงานเพิ่มขึ้น รายได้ครัวเรือนลดลง ในขณะที่ภาระทางการเงินและโอกาสในการดำรงชีวิตยังคงเหมือนเดิม ดังนั้นการสร้างงานการสร้างรายได้และเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมเป็นภารกิจเร่งด่วนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายระดับรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคมและการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่จะมาช่วยหนุนเสริมกลุ่มชุมชนที่ได้รับผลกระทบให้สามารถฟื้นฟูผ่านกลไกและรูปแบบของนวัตกรรมท้องถิ่น พร้อมทั้งเสริมสร้างและกระจายผลประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ผ่านความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำของมูลนิธิซิตี้และความพร้อมของพนักงานที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จด้วยการการขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำและนวัตกรรมแก่กลุ่มชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

นายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ทีมงานวิสาหกิจสิ่งทอชุมชนคนรักษ์น้ำบ่อ จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า “โครงการดังกล่าวได้สอนให้เราวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนและมีความครอบคลุมมากขึ้นในการวางแผน เนื่องด้วยบ้านน้ำบ่อมีคนว่างงานและปัญหายาเสพติดจำนวนมาก ดังนั้นด้วยวิธีคิดและการทำสิ่งใหม่ ๆ นี้ชุมชนของเราสามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เหมาะกับทักษะวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ผ่านการเรียนรู้และทดสอบแนวคิดในการทำงานโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้กลุ่มตลาดที่ตรงเป้าหมาย และในฐานะที่ตนเองเป็นทั้งนักศึกษาและพนักงานพาร์ทไทม์ แต่ในการทำงานส่วนใหญ่แล้วต้องยอมรับว่าไม่เคยวิเคราะห์ฐานลูกค้าของตัวเองเลย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงแนวคิดที่ว่าธุรกิจสามารถเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสังคมได้อีกด้วย ซึ่งตนเองเองในฐานะเยาวชนคนรุ่นใหม่ในชุมชนได้รับประสบการณ์และแรงบันดาลใจจากการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นอย่างมากและมีความกระตือรือร้นที่จะขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนของเราให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง”

น.ส.กาญจนา หมัดตะทวี เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

น.ส.กาญจนา หมัดตะทวี เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “ในฐานะศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในภาคใต้ที่มีหน้าที่โดยตรงในการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและเอสเอ็มอีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมที่ใช้ประโยชน์จากต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในชุมชนซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอัตราการว่างงานที่สูงในภูมิภาค จากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาพบว่าวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จควรมีผู้นำที่เข้มแข็ง แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยกลุ่มชุมชนทั้ง 5 กลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาธุรกิจที่สร้างรายได้และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของตนเอง อีกทั้งส่วนใหญ่ต้องการที่จะพึ่งพาตนเองและสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชนในฐานะผู้นำในวิสาหกิจของตน ทั้งนี้ การเปิดรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาพัฒนาอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องให้ความสำคัญ”

สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิซิตี้ได้ที่  www.citifoundation.com

###

เกี่ยวกับ มูลนิธิซิตี้

มูลนิธิซิตี้ มีบทบาทในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง การสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำ และความพร้อมของพนักงาน ที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จ และขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำ และนวัตกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิฯ ที่ www.citifoundation.com

 

เกี่ยวกับ “ซิตี้”

ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citibank.co.th | เฟซบุ๊ก: Citi Thailand  | LINE: Citi Thailand

เกี่ยวกับ UNDP

UNDP ดำเนินงานในประมาณ 170 ประเทศ เพื่อช่วยในการขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำและการแบ่งแยก และช่วยประเทศต่าง ๆ พัฒนานโยบาย ทักษะความเป็นผู้นำ ความสามารถในการสร้างพันธมิตร ความสามารถของสถาบันและสร้างความยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาที่ยั่งยืน   สิ่งดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับโลกของเรา ที่องค์กร UNDP เห็นว่าเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่จะก้าวไปสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลก ในเดือนกันยายนปี 2558 ผู้นำโลกได้จัดทำวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อยุติความยากจนภายในปี 2573 เพื่อขจัดความยากจน ปกป้องโลก และเพื่อประชาชนทุกคนจะมีสันติภาพและความมั่งคั่ง  พวกเราสนับสนุนความพยายามของประเทศต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนใหม่หรือเป้าหมายระดับโลกซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความสำคัญในการพัฒนาระดับโลกจนถึงปี 2573

UNDP มุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ สร้างและแบ่งปันแนวทางแก้ปัญหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การปกครองแบบประชาธิปไตยและการสร้างสันติภาพและการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ ในกิจกรรมทั้งหมดนี้ พวกเราสนับสนุนให้มีการปกป้องสิทธิมนุษยชนและการเสริมสร้างพลังอำนาจของสตรี ชนกลุ่มน้อย และคนที่ยากจนและอ่อนแอที่สุด โครงการ Youth Co: Lab ดำเนินการโดยทีมผู้บริหารในศูนย์ภูมิภาคของ UNDP ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://www.asiapacific.undp.org/