สรุปข่าวต่างประเทศ : โรฮิงญาน่าเป็นห่วง / คะแนนผู้นำไต้หวันนิยมต่ำลง / เจ้าหญิงมาโกะเตรียมวิวาห์

This August 30, 2017 photo shows Rohingya refugees reaching for food aid at Kutupalong refugee camp in Ukhiya near the Bangladesh-Myanmar border. The International Organization for Migration said August 30 that at least 18,500 Rohingya had crossed into Bangladesh since fighting erupted in Myanmar's neighbouring Rakhine state six days earlier. / AFP PHOTO / STR

พม่า

ย่างกุ้ง – สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมาว่า มีชาวโรฮิงญาอพยพข้ามชายแดนจากพม่าไปยังบังกลาเทศแล้วจำนวนเกือบ 125,000 คน นับตั้งแต่เหตุรุนแรงครั้งล่าสุดปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา คลื่นผู้อพยพดังกล่าวส่งผลให้ค่ายพักพิงสำหรับผู้อพยพที่สร้างขึ้นเป็นการชั่วคราวเกิดความแออัดอย่างหนัก โดยหากนับรวมผู้อพยพชาวโรฮิงญาจากเหตรุนแรงนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อนแล้วจะมีจำนวนมากถึง 150,000 คนแล้ว

Myanmar policemen sit in the back of a police truck as they ride past Myo Thu Gyi Muslim village where houses were burnt to the ground near Maungdaw town in northern Rakhine State on August 31, 2017.
At least 18,500 Rohingya have fled their homes following attacks by militants on August 25 in Rakhine State and a crackdown by security forces who have torched villages and targeted civilians, according to witness accounts. / AFP PHOTO / STR

นายโมฮัมหมัด ฮุสเซน ชาวโรฮิงญาวัย 25 ปีระบุว่า กลุ่มชาวโรฮิงญากลุ่มใหม่พยายามจะสร้างบ้านพักอาศัยในเมืองค็อกซ์สบาซาร์ เมืองบริเวณชายแดนบังกลาเทศ ติดกับพม่า แต่ไม่สามารถที่จะสร้างได้เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอ ขณะที่สภาพความเป็นอยู่เริ่มย่ำแย่ ไม่มีอาหาร เด็กป่วยไม่ได้รับการดูแล ขณะที่ผู้หญิงบางรายต้องคลอดลูกริมถนน

ทั้งนี้ เหตุรุนแรงครั้งล่าสุดเริ่มต้นจากกลุ่มกบฏโรฮิงญาก่อเหตุโจมตีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐบาลพม่าซึ่งตอบโต้ด้วยการบุกโจมตีพื้นที่ในรัฐยะไข่ พื้นที่ซึ่งมีชาวมุสลิมโรฮิงญาอาศัยอยู่จำนวนมาก ล่าสุดมีบ้านเรือนถูกเผาหลายพันหลังคาเรือนโดยรัฐบาลพม่าอ้างว่าเป็นฝีมือของกลุ่มโรฮิงญา ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้อพยพชาวโรฮิงญาระบุว่าเป็นฝีมือของทหารพม่า

ด้าน นางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของรัฐบาลพม่า ออกมาแสดงความคิดเห็นเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ของพม่า นับตั้งแต่เกิดเหตุรุนแรงขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อราวเกือบ 2 สัปดาห์ก่อน โดยนางซูจีได้กล่าวกับนายเรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน ประธานาธิบดีตุรกีทางโทรศัพท์ ระบุว่ารัฐบาลพม่ากำลังทำงานกันเพื่อปกป้องสิทธิ์ของชาวโรฮิงญา เพราะพม่ารู้เป็นอย่างดีว่า อะไรคือการบั่นทอนสิทธิมนุษยชนและการปกป้องประชาธิปไตย

ไต้หวัน

ไทเป – สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน ประธานาธิบดี ไช่ อิง เหวิน ของไต้หวัน ได้แต่งตั้ง นายวิลเลียม ไล่ นายกเทศมนตรีเมืองไถหนัน ของไต้หวัน เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทน นายหลิน ฉวน ที่ลาออกจากตำแหน่งไป ท่ามกลางกระแสความนิยมในตัวของประธานาธิบดีที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยประธานาธิบดีไช่กล่าวว่า นายไล่จะเป็นหัวหน้าทีมของรัฐบาล จัดการกับปัญหาทุกอย่างและก้าวไปข้างหน้าต่อไป ทั้งนี้ นายหลิน ฉวน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2559

ข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 4 กันยายน พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) พรรคที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาไต้หวันออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน ระบุว่า ไช่ อิง เหวิน ประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอนุมัติการยื่นขอลาออกของ หลิน ฉวน นายกรัฐมนตรีไต้หวันแล้ว โดยการลาออกดังกล่าวถูกมองว่าเป็นไปเพื่อฟื้นคะแนนนิยมของประธานาธิบดีไช่ ที่ลดต่ำลงในช่วงที่ผ่านมา

รายงานระบุว่า หลังประธานาธิบดีไต้หวันที่เข้าสู่ตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 มีคะแนนนิยมลดต่ำลงเหลือเพียง 29.8 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยนายหลิน นายกรัฐมนตรีไต้หวันถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากพรรคฝ่ายค้านและสมาชิกร่วมพรรคดีพีพี ว่าดำเนินนโยบายผิดพลาด เช่น การระงับความสัมพันธ์กับจีน การปฏิรูประบบบำนาญ และกฎหมายแรงงาน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดเสียงเรียกร้องให้นายหลินลาออกเพื่อฟื้นฟูคะแนนนิยมของประธานาธิบดีและปูทางสู่การเลือกตั้งในปี 2563

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนคือ นายวิลเลียม ไล่ นายกเทศมนตรีเมืองไถหนัน ที่ได้รับความนิยมและเป็นสมาชิกพรรคระดับสูงของพรรคดีพีพีด้วย

ญี่ปุ่น

โตเกียว – สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักพระราชวังอิมพีเรียล เปิดเผยผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมาว่า เจ้าหญิงมาโกะ พระราชนัดดาพระองค์โตของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่นเตรียมที่จะเข้าพิธีวิวาห์กับ นายเค โคมุโระ พนักงานในสำนักงานกฎหมาย อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนมหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน โดยสำนักพระราชวังยืนยันว่าการที่เจ้าหญิงมาโกะจะเข้าพิธีวิวาห์กับบุคคลธรรมดาดังกล่าวจะส่งผลให้เจ้าหญิงมาโกะต้องสละฐานันดรศักดิ์ในฐานะสมาชิกราชวงศ์ลง ทั้งนี้ การสละฐานันดรของเจ้าหญิงมาโกะ ส่งผลให้จำนวนสมาชิกราชวงศ์นั้นลดน้อยลงไปอีก เนื่องจากเจ้าหญิงมาโกะพระราชนัดดา 1 ใน 4 พระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ โดยอีก 3 พระองค์คือเจ้าหญิงคาโกะ พระขนิษฐภคินี เจ้าชายฮิซาฮิโตะ พระอนุชา และเจ้าหญิงไอโกะ พระธิดาในเจ้าชายoารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น โดยเจ้าชายฮิซาฮิโตะ นั้นเป็น 1 ใน 4 รัชทายาทต่อจากพระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะอีก 2 พระองค์

Princess Mako, the elder daughter of Prince Akishino and Princess Kiko, and her fiancee Kei Komuro, a university friend of Princess Mako, smile during a press conference to announce their engagement at Akasaka East Residence in Tokyo, Japan, September 3, 2017. REUTERS/Shizuo Kambayashi/Pool TPX IMAGES OF THE DAY

ทั้งนี้ จำนวนสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่นที่ลดน้อยลง รวมถึงการประกาศสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะก่อนหน้านี้นั้นสร้างความกังวลว่าเจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นอาจเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ญี่ปุ่น