โฉมหน้าการเมืองไทย หลังสิ้นยุคตระกูลชินวัตร

การเดินทางออกนอกประเทศของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แทนที่ไม่ปรากฎต่อตัวศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา กลายเป็นสัญญะและจุดเปลี่ยนหลายอย่าง ในขณะที่หน่วยงานผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายต่างเร่งแกะรอยการหายตัวไปของยิ่งลักษณ์ พร้อมกับการที่รัฐบาลไทยปฏิเสธแข็งขัน ท่ามกลางข้อกังขาของสังคมที่ตั้งคำถามว่ารัฐบาลรู้เห็นในการเปิดทางให้ยิ่งลักษณ์หนีหรือไม่ แต่ที่สำคัญ การยิ่งลักษณ์ได้เดินทางออกนอกประเทศ เช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ นายทักษิณ นักการเมืองที่ทรงอิทธิพลก่อนถูกรัฐประหารในปี 2549

ยังหมายถึง อิทธิพลของตระกูลชินวัตรต่อการเมืองไทย ได้มาถึงสิ้นสุดแล้วหรือไม่

 

นายเกร็ก เรย์มอนด์ นักวิจัยของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และความมั่นคง มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย มองเหตุการณ์วันศาลตัดสินคดีจำนำข้าวในวันนั้นว่า เรารู้ว่ายิ่งลักษณ์ตัดสินใจลี้ภัยทำให้ถูกศาลออกหมายจับ แต่โทษจำคุก 42 ปี ที่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้รับนั้น ดูทำให้แทบเป็นเรื่องยากที่ยิ่งลักษณ์หรือแม้แต่ทักษิณจะกลับมาไทย ปล่อยให้การเมืองขับเคี่ยวกัน พวกเขาสองคนกลายเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ลี้ภัยทางการเมือง เช่นเดียวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ,ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร

การเมืองไทยยังคงเป็นเกมส์สุดอันตราย

นายเรย์มอนด์ระบุอีกว่า แม้จะถึงการสิ้นสุดยุคสมัยของพวกเขา แต่ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ตระกูลชินวัตร ได้เปลี่ยนโฉมการเมืองไทยอย่างถาวร ทักษิณได้กลายเป็นผู้กอบกู้ธุรกิจใหญ่ท่ามกลางความถดถอยจากวิกฤตการเงินในเอเชียปี 1997 แต่ตัวทักษิณเปลี่ยนเป็นบุรุษเพื่อชนบทและชนชั้นล่างที่ถูกทอดทิ้งอย่างรวดเร็ว ด้วยนโยบายที่หาเสียง นำไปสู่การบัญญัติคำว่า “ประชานิยม” ขึ้นมา และพรรคไทยรักไทยในเวลานั้นได้นำเสนอเทคนิคทางการเมืองสมัยใหม่เข้าสู่ไทยอย่างการสำรวจและเจาะกลุ่มเฉพาะ แต่เป็นนโยบายของเขาต่างหาก ที่ได้พิสูจน์ถึงการเป็นมรดกชิ้นสำคัญ ไม่ว่า นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค ที่ได้ลบความไร้อภิสิทธิ์ของผู้ยากไร้ให้เข้าถึงการรักษาด้วยบัตรพิเศษ กลายเป็นนวัตกรรมติดชื่อของทักษิณ และยังคงได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นจนถึงทุกวันนี้

ส่วนนโยบายอื่น อย่างกองทุนหมู่บ้าน ที่ให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมในการสร้างประโยชน์มหาศาลต่อการเมืองระดับชาติในหมู่ประชาชนในภาคเหนือและอีสาน ซึ่งยิ่งลักษณ์ได้มาสานต่อ หลังชนะการเลือกตั้ง รวมถึงการนำเสนอปรับรายได้ขั้นตำวันละ 300 บาท

แต่ด้วยความโอหัง ได้นำพาทักษิณไปสู่ความพ่ายแพ้ หลังชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2548 ทักษิณได้ขายหุ้นบริษัทชิน คอร์เปอเรชั่น ให้กับบริษัทเทมาเซ็กของสิงคโปร์โดยไม่เสียภาษี พร้อมกับแทรกแซงองค์กรอิสระ ทำให้ชนชั้นกลางและชนชั้นนำในกรุงเทพฯไม่พอใจ รวมตัวประท้วงจนนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549

เช่นเดียวกับความไร้เดียงสาที่ทำให้ยิ่งลักษณ์ถึงฆาต หากยิ่งลักษณ์ไม่ผ่านร่างพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งที่ปูทางให้ทักษิณกลับมา และให้ความระมัดระวังกับโครงการรับจำนำข้าว จนส่งผลต่อการบริหารงานคลังแบบอนุรักษ์นิยมของข้าราชการไทย เธอคงได้นั่งบริหารประเทศต่อถึงทุกวันนี้

และมันยังคงเป็นความโชคร้ายของไทยที่ไม่ให้มีการถอดถอนผ่านการหย่อนบัตรลงกล่องคะแนนเสียง

นายเรย์มอนด์ระบุอีกว่า การเดินทางออกนอกประเทศของ 2 อดีตนายกรัฐมนตรีจากตระกูลชินวัตร ไม่ได้เปลี่ยนความแตกแยกในไทยระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นนำข้างหนึ่ง กับชาวเมืองและชนชั้นล่างในชนบทภาคเหนือและอีสานอีกข้างหนึ่ง ถึงแม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แสดงความเป็นผู้นำอย่างจริงจัง รวมถึงแผนปราบการคอรัปชั่นและคืนความสุขให้กับคนในชาติ แต่การปราบปรามเสรีภาพในการพูดของรัฐบาล คสช. ได้เผยให้เห็นภาพอันจอมปลอมของโครงสร้างรากฐานของการเมืองไทย

นั่นจึงหมายถึงว่า ต่อให้ไม่มียิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทยยังคงเป็นคู่แข่งที่เอาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะฐานประชากรยังคงเลือกพรรคนี้ และด้วยภาพของพรรคที่เข้มแข็ง ซึ่งได้เผยให้เห็นมาก่อนในยุคของสมัคร สุนทรเวช นั่นจึงไม่จำเป็นว่าตระกูลชินวัตรจะนำจนเอาชนะเป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล แต่เป็นเพราะการมีนักคิดและนักปราศรัยที่ก้าวหน้าและมีพรสวรรค์ เช่น นายจาตุรนต์ ฉายแสงและนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีหลายวิธีที่ทำให้เกิดการสูญเสียแรงขับเคลื่อน อย่างความเสี่ยงของความไม่เป็นเอกภาพและการแตกแยกที่ยังมีอยู่ในการเมืองอันไหลลื่นของไทย ภัยอันตรายที่พรรคเพื่อไทยเจอเกือบทำให้พรรคต้องเสียศูนย์ อย่างการแปรพักตร์ของกลุ่มบุรีรัมย์ของนายเนวิน ชิดชอบ ที่ได้ย้ายค่ายไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์ในปี 2551 ทำให้รัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องจบสิ้น จึงเป็นโจทย์ต่อพรรคเพื่อไทยที่มุ่งมั่นเลือกตั้งจะสามารถยึดโยงกลุ่มการเมืองสำคัญไว้กับตัวไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่

ส่วนความเสี่ยงอีกอย่างคือ การเปิดให้ทักษิณและยิ่งลักษณ์สามารถสั่งการหรือควบคุมแบบเปิดเผยได้จากต่างแดน อย่างที่เคยมีคำพูดติดปากที่ว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ซึ่งขายได้พื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือแต่กลับบั่นทอนความน่าเชื่อถือของพรรคในสายตาของชนชั้นนำในไทย ที่อาจทำให้พรรคเพื่อไทยเป็นเพียงพรรคหุ่นเชิด

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องถูกโจมตีอีกมาก อย่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่นำเสนอข้อผูกมัดหลายอย่าง เช่น พรรคหรือตัวผู้นำอาจมีความผิดได้หากมีบุคคลที่มีประวัติหรือข้อมูลทางการเงินที่ไม่เหมาะสม หากนึกภาพในอนาคตง่ายๆ คือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะถูกยุบเพราะถูกกล่าวหาว่าถูกควบคุมโดยผู้ต้องหาหลบหนีคดี

ทั้งนี้ นายเรย์มอนด์ สรุปว่า การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองหลายอย่าง นำไปสู่จุดสิ้นสุดของยุคตระกูลชินวัตร (หากพิสูจน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการแต่ละกรณี) ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตคนไทยในทุกวันมากกว่าการเปลี่ยนผ่านเรื่องอื่น เพราะหมายถึงนโยบายสังคมและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและเท่าเทียม จะไม่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่เป็นสังคมชนชั้นเชิงพุทธ ที่กำหนดว่าชีวิตอยู่ที่บุญและกรรมที่ทำมา ทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ พรรคเพื่อไทยจะเข้มแข็งได้ก็ต้องเคารพรัฐธรรมนูญที่จำกัดอำนาจฉบับนี้มากขึ้นและนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง แม้มุ่งมั่นทำไปไม่น้อยตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งจะเป็นสิ่งดีต่อประชาธิปไตยของไทย แต่โอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะกลับมาเป็นรัฐบาลนั้นยากลำบากมากกว่าราบรื่น เพราะต้องเจอกับส.ว.แต่งตั้งและกองทัพที่หวาดกลัวว่าจะถูกล้างแค้น ในบรรยากาศที่จะเป็นชัยชนะหรือความโง่เขลาที่มากเกินไป ล้วนนำไปสู่การลงโทษอย่างรุนแรง และนั่นทำให้ความเป็นไปได้ที่จะมีนายกรัฐมนตรีคนนอกยิ่งมีมากขึ้น

ที่มา : Eastasiaforum.org