ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง “ไทยภักดี” ร้องรบ.ยิ่งลักษณ์-กสทช.ออกใบอนุญาตดาวเทียมขัดรธน.

ศาลรธน.ไม่รับคำร้อง “ไทยภักดี” ปมกสทช.ออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยขัดรธน.

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่นศาล รธน.วินิจฉัยกรณี กสทช.ออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคมดวง 7 และ 8 ขัด รธน.หรือไม่ โดย คำแถลงศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า

นายวรงค์ เดชกิจวิกรม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๓ (เรื่องพิจารณาที่ ต. ๔๕/๒๕๖๔) นายวรงค์ เดชกิจวิกรม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ว่า คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ ๑) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกร้องที่ ๒) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ผู้ถูกร้องที่ ๓) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) (ผู้ถูกร้องที่ ๔) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้องที่ ๕) กระทำการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕0 มาตรา ๑๙๐ และมาตรา ๓๐๕ (๑) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖- มาตรา ๖0 และมาตรา ๒๗๔

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า

๑. กรณีผู้ถูกร้องที่ ๒ และผู้ถูกร้องที่ 3 มีมติมอบให้ผู้ถูกร้องที่ ๕ นำเอกสารข่ายงานดาวเทียม (fling ที่ตำแหน่ง ๑๒๐ องศาตะวันออก ไปทำสัญญาร่วมกับบริษัท Asia Satelite Telecommunications Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕- มาตรา ๑๙ หรือไม่ นั้น เห็นว่า การยื่นคำร้องในปัญหาการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๘ มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่ประชาชนทั่วไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

๒. กรณีผู้ถูกร้องที่ ๓ และผู้ถูกร้องที่ <ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามเลขที่ ๓ก/๕๕/๐๐๒ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕0 มาตรา ๓๐๕ (๑) และบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ นั้น เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕- มาตรา ๓๐๕ (๑) เป็นบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ซึ่งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกร้องที่ ๓ และผู้ถูกร้องที่ ๓. กรณีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๖0 และมาตรา ๒๗๔ หรือไม่ นั้น เห็นว่า การยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สิทธิไว้เป็นการเฉพาะตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๒ และมาตรา ๒๓๑ (๑) ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ๔. กรณีประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) เมื่อวันที่๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖ㆍ มาตรา ๖0 หรือไม่ นั้นเห็นว่า ประกาศดังกล่าวมิได้มีสถานะเป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่จะอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย