เส้นทาง “ระหว่างบรรทัด” กว่าจะมาเป็น “30 บาทรักษาทุกโรค” เพื่อชีวิตคนไทย

เวลาได้ยินชื่อเสียงของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักพูดถึง สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ แต่ในแง่ความสำเร็จที่เป็นแบบอย่างให้ไปไกลถึงในระดับสากล แทบจะน้อยมากที่ถูกกล่าวขาน

แต่นั้นจะไม่ใช่กับ “นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “30 บาท รักษาทุกโรค”

ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในด้านนโยบายสาธารณะ ในขณะที่หลายประเทศพยายามออกแบบ สร้างระบบประกันสุขภาพตอบสนองพื้นฐานของชีวิตประชาชน โดยเฉพาะประเทศไทยที่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพและบั่นทอนศักยภาพของประชาชนชาวไทยในการพัฒนาและเติบโตในประเทศนี้

ปัจจุบันระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้รองรับชีวิตคนไทยหลายล้านให้มีสุขภาพดี และเปลี่ยนโฉมระบบสาธารณสุขของไทยระดับที่เรียกว่า เป็นการปฏิวัติใหญ่ในด้านสาธารณสุข

ทว่าเมื่อ 20 ปีก่อน จุดเริ่มต้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากเป็นขวากหนามที่ถูกเรียกว่า “เป็นไปไม่ได้” แล้วอะไรที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้นี้ เป็นไปได้และเกิดขึ้นจริง

เรื่องราวเส้นทางอันยาวนานของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือ “ระหว่างบรรทัด” ที่บอกเล่าจุดเริ่มต้นของการคิดใหญ่ สู่ผลลัพธ์ที่ใหญ่ยิ่งให้กับคนไทยหลายล้านคน ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

“เพ้อฝัน” แต่ทำได้

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงจุดเริ่มต้นนำไปสู่การก่อตั้ง สปสช.ว่า ใกล้ครบ 1 เมษายน 2564 หรือ 20 ปีของเริ่มนโยบายฯ 20 ปีผ่านมา ความรู้สึกว่ายากก็นึกไม่ออกแล้ว ตอนนี้เวลาใครเจ็บป่วยไม่มีหลักประกันก็รู้ว่ามีสิทธิ แต่เมื่อ 20 ปีก่อนเป็นความฝันที่ไม่กล้า หนังสือระหว่างบรรทัด มีบางอย่างซุกซ่อนอยู่ ไม่ว่าจุดเกิดขึ้น จุดการพัฒนา ความล้มเหลวและกลับมาพัฒนา นั้นคือ การเมือง ทุกสิ่งบันดาลให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป การเมืองที่เรามองว่าน่ารังเกียจ มองคนว่าไม่มีความตั้งใจ

แต่เมื่อ 20 ปีก่อน ทำไมผมรู้สึกว่ายากเหลือเกิน แม้แต่ในพรรคการเมืองใหม่ในตอนนั้นที่ตั้งไม่นาน คนหนุ่มสาวเราในยุคนั้น หมอวิโรจน์กล่าวถึงความฝันของคนเดือนตุลา นี่ก็ 17-18 ปี อยากเห็นคนมีชีวิตดีขึ้น เอื้ออาทรต่อกัน แต่ก่อนหน้านั้น มีความพยายามแต่ไม่สำเร็จ ยังไม่มีการสัมผัสการพัฒนาก็มองไม่ออก ถึงคำกล่าวของอ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ว่าจากครรถ์มารดา ถึงเชิงตะกอน

หนังสือเล่มนี้มีการเล่าเป็นขั้นเป็นตอน ถึงหลายคนก่อนหน้าได้มีส่วนในการพัฒนาเชิงโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างโรงพยาบาล สร้างระบบสาธารณสุขพื้นฐาน หลายสิ่งหลายอย่าง เราเห็นพัฒนาการ เหลือเพียงจิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย ให้เกิดคุณภาพของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า อยากจะบอกว่า ในแง่ทางการเมือง เป็นไปไม่ได้เลย ผมย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน เรียกว่าเป็นลิขิตฟ้าและมานะคน หลายสิ่งมาถึงจุดตัดสำคัญ เพราะเรามีปฏิรูปการเมืองปี 2540 หวังให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเปิดโอกาส เอาจุดแข็งของรัฐธรรมนูญ 2540 มาผลักดันเป็นนโยบาย แล้วพอพรรคการเมืองที่ว่านี้ อยู่จนไม่ยุบสภาเร็ว เลยมีโอกาสฟูมฟักนโยบายตัวเอง นี่คือลิขิตฟ้าคือประชาชนให้โอกาสเลือกเข้ามาเป็นรัฐบาล ถ้าไม่ชนะเลือกตั้ง คงทำไม่ได้ อีกอันเราโชคดีที่มีข้าราชการประจำอยู่ตรงนั้นพอดี และกำลังจะเกษียณต้องการทำเรื่องนี้ คือ นพ.มงคล ณ สงขลา

หากมองย้อนกลับไป หากขาดองค์ประกอบใดก็ไม่เกิดขึ้น พอมีการปฏิรูปการเมือง มีพรรคไทยรักไทย มีนายกรัฐมนตรีอย่างทักษิณและข้าราชการที่ตั้งใจ ก็ทำอย่างเต็มที่

โดยสรุปคือ การเมืองมีบทบาทสำคัญ ผมว่าเราต้องการเมืองที่ดี หลักประกันสุขภาพก็จะดีขึ้น

 

สปสช.ระยะตั้งไข่

นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า เรียกว่าเป็นองค์ประกอบที่มาครบ แต่เราขาดบุคลากรที่ขับเคลื่อน ผมคิดว่าบุคลากรสาธารณสุขคนไทยสุดยอด ประเทศไทยอยู่แถวหน้า ดังนั้นเมื่อทางการเมืองเคาะว่าจะทำ คำถามคือจะทำยังไง ก็มีเบื้องหลังคือ โครงการที่มีรายได้น้อย ชุดค่อนข้างใหญ่แต่ไม่ใหญ่อย่างวันนี้ ครอบคลุมทุกด้าน ตอนนั้นเป็น ผมยกเว้นยากับไตวาย ตอนประชุมปี 2547 ที่ประชุมตอนนั้น เราคำนวณอัตราจ่ายหมอ สำหรับทุกอย่างยกเว้นค่ายา ตอนนั้น ยา AZT ราคาสูงมาก ถ้าให้ไตวายด้วย เรามีบริการอะไร ถ้าระบบไม่พร้อม อย่าเสนออะไรที่เป็นไปไม่ได้ เราต้องพูดความจริงว่าอะไรพร้อม-ไม่พร้อมบ้าง ที่นี่ 1,020 บาทต่อคนต่อปี คำนวณจากอัตราใช้บริการผู้ป่วยนอกและใน และต้นทุน แต่เมื่อเราคำนวณ ชุด PNP ผมก็เสนอบอกอ.อัมมาร สยามวาลา ว่า 15% แล้วกัน เลยได้ 1,202   บาท เราอย่าลืมว่าเพิ่งฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ ผมเสนอให้จ่ายค่าผู้ป่วยนอกและใน

ถ้าวันนี้เราเกิดเชื่อธนาคารโลกก็คงไม่เป็นอย่างนี้ แต่เราทำให้เป็นไปได้ เป็นหน้าที่เรา ทำสวนคำแนะนำธนาคารโลก ผลการศึกษาที่ตามมาคือ คนจนได้ประโยชน์ สมาชิกบัตรทอง67 ล้านคนจากจนสุดถึงรวยสุด 40-50% จนถึงจนสุด ไทยกลายเป็นแบบอย่าง เราทำวิจัย การเมืองก็สนับสนุน มีความพร้อม เมื่อมีสิ่งนี้ก็เกิดสิ่งนั้น

 

รับมือเสียงวิจารณ์และคำค่าทอ

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า พิสูจน์แล้วว่า 20 ปีมานี้ การเมืองช่วงไหนไม่ดี สปสช.จะไม่ดี วันนี้การเมืองดีทุกอย่างนิ่ง ใช้โอกาสนี้ทะยานออกไปเร็วที่สุด ตอนนั้นยากมากสำหรับการเคลื่อนอะไรที่ใช้จินตนาการ ผมจะยกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ UBI ตอนนี้ทุกคนบอกเป็นไปไม่ได้ เพ้อฝัน อันนี้เหมือนกับ 30  บาทรักษาทุกโรคในตอนนั้น พอบอกเพ้อฝันก็เกินจินตนาการ ถูกด่าแน่ แม้แต่ประชาชนก็นึกไม่ออก

พอถึงวันเลือกตั้ง ตอนทำโพลล์ทุกระยะ ทุกโพลล์ประชาชนไม่เคยตอบมีปัญหาเจ็บป่วย ขอแค่แก้เศรษฐกิจ ยาเสพติด ไม่เคยจินตนาการถึงหลักประกันสุขภาพ คล้ายๆกับสตีฟ จ๊อบส์ ที่ไม่ถามลูกค้าว่าต้องการอะไร เพราะลูกค้าคิดไม่ถึง พอเราทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ได้มีโอกาสปะทะคารมกับคู่แข่งในสนามเลือกตั้ง จนมาถึงการอภิปรายในรัฐสภา

คนที่โดนกระหน่ำหนักคือ หมอสงวนกับผม ในช่วงแรกๆ ยังนึกไม่ออก โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข คิดว่ารัฐบาลเอาเงินมา ต้องเรียกว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยบางท่านคิดว่าเป็นไปไม่ได้และส่งผลต่อระบบสุขภาพ เรารู้ว่าโดยพื้นฐานเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขทำได้ แต่ประชาชนไม่เข้าใจในตอนนั้น ความสำเร็จเป็นลูกคนโปรดแต่พอล้มเหลวเป็นลูกกำพร้า ผมคิดว่าเราประเมินความเสี่ยงได้ เชื่อมือหมอสงวน เชื่อมือหมอวิโรจน์

ผมยืนยันว่าไม่มีที่ไหน มีมนุษยธรรมและทำประโยชน์เพื่อประชาชนได้เท่าแพทย์ไทย ฝ่ายการเมืองก็รับความเสี่ยง แต่เชื่อคนที่ทำงานสาธารณสุขก็รับไป ตอนนี้พรรคการเมืองก็วิ่ง นี่คือโอกาสที่ดีพยายามเร่งสปีดพัฒนา สปสช.ที่เท่าทำได้ คนที่ทำงานต้องการการผลักดันทางการเมือง เราต้องการทุกโต๊ะ ผมเรียนว่าสาธารณสุขก็มีความเห็น 2 ทางเป็นหน้าที่รัฐมนตรีต้องทุบโต๊ะตัดสินทางที่ดีที่สุด

 

ชนชั้นและความเหลื่อมล้ำในสาธารณสุข

นพ.วิโรจน์ กล่าวว่า คนเดือนตุลาได้รับแรงบันดาลใจของอ.ป๋วย ก็เป็นแรงผลักดันที่ได้เห็นความทุกข์ของประชาชน เห็นความลำบาก เป็นการต่อสู้เพราะ 1. สปสช.และสธ.ขัดแย้งโดยอำนาจหน้าที่ 2.บริษัทยาข้ามชาติ โรงพยาบาลรัฐใช้ยาขององค์การเภสัช 3.รพ.เอกชนลูกค้าคือชนชั้นกลางเมื่อมีสิทธิประกันสุขภาพถ้วหน้า รพ.เอกชนรับไม่ไหว คนไข้เข้าห้องจ่ายไปเท่าไหร่ แต่ประชาชนยังใช้อยู่ เราเฝ้ามองตรงนี้

ก่อนมีนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็มีปัญหาเรื่องงบประมาณ รัฐบาลมีปัญหาขาดคุลในช่วงเศรษฐกิจ สำนักงบประมาณไม่ถูกใจและใช้ดุลยพินิจให้หรือไม่ให้เท่าไหร่ ส่วนประชาชน 47ล้านคนก็เฝ้าดูอยู่ ผมคิดว่าโดยธรรมชาติ UH ก็มีความขัดแย้งอยู่ ไปตัดกำไร margin กับบริษัทเอกชน ดังนั้น UC เป็นการต่อสู้ทางชนชั้น เป็นสิ่งอัศจรรย์

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า นี่เป็นการดิสรัปชั่น เพราะมีความพยายามที่จะรักษาเขตอำนาจตัวเองเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นเรื่องยากมาก ผมกับสำนักงบประมาณ เข้าใจว่าไม่คุ้นเคย โต้กันไปมาจนไม่รู้ว่าทำยังไง จนรัฐมนตรีคลังมาเบรกและให้ทำตามนโยบายรัฐบาล

 

ความขัดแย้งและคลี่คลาย

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สิ่งที่ได้จากอดีต ผมคิดว่าได้เรียนรู้ 4-5 อย่างที่ทำให้ภาพของการเมือง อย่างแรกคือ ความปกติใหม่ เป็นการเปลี่ยนการจัดงบประมาณที่ชัดเจน ที่ต้องเตรียมการจัดการแนวใหม่ที่สำคัญและเป็นหลักการ อย่างที่สอง คือ ผมทำงานในพื้นที่มาตลอด ไม่ตั้งใจมาทำตรงนี้ สิ่งสำคัญคือ คนเราเกิดมาต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นโยบายนี้ ลดความเป็นอนาถา ให้น่าใช้มากขึ้น เรียกว่าเป็นสิทธิ

อย่างที่ 3 สิทธิเป็นระบบที่สัมผัสได้ กินได้ ตลอดเวลา 15-20 ปี ประโยชน์ของคนป่วยหลายล้านคนคือกินได้ สัมผัสได้ไม่เลื่อนลอย อย่างที่ 4  สร้างความชัดเจนในทางวิชาการ เราสามารถสร้างสมดุลระหว่างวิชาการกับความคาดหวังของประชาชน

สุดท้ายที่สำคัญคือ ความเป็นเจ้าของ ระบบที่ออกแบบจากต้นน้ำมานี้ เป็นการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม แต่ทุกคนมีเจตนารมณ์ที่ดี รับฟังความเห็นคนรอบข้างและตกผลึก สมดุลกับคนส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่ผมเรียนรู้และเอาวิธีการนี้มาทำงาน แน่นอนเราไม่ได้ทำงานคนเดียว แต่ต้องทำงานร่วมกัน กระทรวงฯ ระบบบริการ สุดท้ายคงเป็นสมบัติของชาติที่ต้องหวงแหน ส่วนมูลค่าจะเพิ่มยังไงก็ขอฝากกับเลขา สปสช.คนใหม่

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เป็นปัญหาพื้นฐานของทุกประเทศคือ ประชาชนกลุ่มหนึ่งเข้าไม่ถึงการบริการหรือเข้าถึงแล้วล้มละลาย อะไรคือกล่องดำของเราและออกมาดี ผมได้พบอมารตยา เซนและขอบทความมายก ต้องมีกล่องดำบางอย่างว่าทำอะไร ให้ต่างประเทศสนใจ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไหน นานาชาติมีปัญหาเหมือนกันแต่ไม่รู้จะทำยังไง ให้เขาสามารถถอดบทเรียนจากเราได้

ผมอยู่ สปสช.มา 20 ปี ผมนึกในใจ ไม่เคยคิดว่า ความสำเร็จนี้ไม่กล้าจะพูดอย่างงั้น เพราะมีหลายคนเกี่ยวข้อง แต่อยากเรียนรู้ความล้มเหลว สิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องเรียนรู้ ผมว่าในช่วงเลขาท่านเดิม ต้องรักษาเนื้อรักษาตัวเพื่อรับมือภาระ แต่อยากขอทุกคนในสปสช.ในช่วงการเมืองนิ่งมาร่วมทำงาน อะไรคือปัญหา

ผมกลับไปดูว่าอะไรที่เป็นจุดอ่อนและเราเสนอมาคุยร่วมกัน เป็นสิ่งที่เราต้องมองไปข้างหน้า ผมคิดว่าจะคุยอะไรกับเจ้าหน้าที่ เราอยู่บนจุดที่รู้ปัญหาของประชาชน เราจะกลับมาใกล้ชิดกับชาวบ้านดีไหม ถ้าเขาเห็นด้วยกับเรา พอทำงานก็ทำได้ แค่ปิดจุดอ่อน ผมหวังว่า 4 ปีข้างหน้าจะเข้าหาประชาชนมากขึ้น ทำงานโดยมีการเมืองสนับสนุน

 

ก่อนมาเป็นหนังสือ ‘ระหว่างบรรทัด’

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ บรรณาธิการหนังสือ กล่าวถึงหนังสือระหว่างบรรทัด สมัยเรียนเราทำกิจกรรมนักศึกษา และมาลงพื้นที่ก็เห็นของจริง ระบบสาธารณสุขก่อนหน้านี้ เป็นแบบหนึ่งก็ต้องจ่าย ถ้าไม่มีก็เข้ารับสวัสดิการจากรัฐ แต่สิ่งที่แลกมาคือศักดิ์ศรี วันหนึ่ง ผมมาอยู่ สปสช.ตอนปี 2547 ได้เห็นโลกอีกใบทำงานเชิงนโยบาย ในที่ประชุม หมอสงวนนั่งหัวโต๊ะ และมีคนที่เคยเป็นข่าว เราได้เห็นการประชุม ได้เห็นพัฒนาการของนโยบาย

ผ่านมาสิบกว่าปี ประชาชนได้สิทธิประโยชน์ อาจเรียกว่าเป็นหมุดหมายหนึ่ง มีเบื้องหลังอีกมากที่ไม่เคยพูดถึงมาก่อน ในช่วงหลังๆที่เราเติบโต เราได้รับการยอมรับจากระดับโลก มีหลายประเทศมาขอดูงานที่ สปสช. จะดีกว่าถ้าการเล่าเรื่อง อยู่ระหว่างทาง เป็นอุปสรรคปัญหา เราแก้ยังไง อาจารย์หลายคน เขาแนะนำแบบนี้และทำแบบนี้จนเกิดวันนี้ จะดีกว่าไหมถ้าได้นั่งอ่าน และเรากำลังแปลเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเรียนว่าสิ่งที่ได้ มาจากการเล่าของครู ปราชญ์ในความรู้สึกผม แล้วก็เรื่องราวเชื่อมร้อย แต่สิ่งสำคัญคือ เรื่องระหว่างบรรทัดที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นชื่อหนังสือ

“หนังสือนี้ไม่ได้เขียนให้หมออ่าน คนเกี่ยวข้องส่วนใหญ่คือประชาชน ระบบที่เข้มแข็ง ประชาชนต้องเป็นเจ้าของ การเล่าที่ประชาชนเข้าใจยากจะทำยังไงให้ศัพย์ยากทางวิชาการเป็นภาษาง่ายๆ ก่อนออกเป็นเรื่องนี้ ต้องผ่านการอ่าน พูดอะไรให้ชาวบ้านเข้าใจ” ทพ.อรรถพร กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของหนังสือ

 

ก้าวต่อไปสู่ทศวรรษที่ 3 สปสช.

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ทุกอย่างอยู่ในหนังสือ แต่มีบางประเด็นคือ ผมคิดว่าถ้าผมอยู่ตรงนี้และมองย้อนกลับไป สิ่งที่บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้เป็นความสำเร็จไหม ผมอยากชวนว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำได้แค่นี้หรือ ต้องทำได้มากกว่านี้ไหม ตอนที่เริ่มต้นจนมีพรบ.ปี 2545 ไอโฟนยังไม่มี เอไอ อินเตอร์เน็ตออฟติกส์ยังไม่มี ภาพฝันที่เราวาดไว้ ผมอยากให้รัฐมนตรีสามารถรู้ได้เพียงคลิกเดียว เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องเรียนรู้ คือมีปัจจัยทางการเมืองอยู่ ที่ทำไม่สำเร็จเพราะการเมืองมีปัญหา พอเกิดปัญหาก็เกิดกระแส วันนี้เราเป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เป็นตัวอย่างให้หลายประเทศ แต่ควรคิดว่าต้องทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดเทียมเท่าประเทศพัฒนาแล้ว

ปัญหาของ สปสช.คือ กรอบคิด คือความรู้สึกของสปสช.ที่ผ่านมา มีความรู้สึกเป็นเจ้าของเงิน ทำให้เราอหังการ ซึ่งโลกยุคใหม่ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มยังไงให้คนใช้และคนพัฒนามีความสุข เรื่องของวิธีคิดนั้นสำคัญ

อันที่ 2 สปสช.ฝันว่ามีหน้าที่ปฏิรูปสาธารณสุขทั้งระบบ เราต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ถ้าเราเป็นบริษัทประกันสุขภาพถือว่าใหญ่มาก ทำยังไงให้สมาร์ทที่สุด เรียกว่าเกิดการพัฒนา วันนี้ บิ๊กดาต้าเข้ามา การตรวจสอบต้องเป็นระบบ ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ว่า สปสช.ทำงานโปร่งใสยังไง ผมอยากได้ สปสช.เป็นองค์กรอัจฉริยะ ผมคิดว่า 100 วันแรกของเลขาฯคนใหม่ ทำยังไงให้เป็นองค์กรอัจฉริยะ ทำระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดีที่สุดในโลก อย่างโควิดในอังกฤษ หลายคนเข้าระบบประกันสุขภาพก็ยากมาก

ปัญหาเรื่องกระจายอำนาจยังเป็นความท้าทาย มีแนวคิด ทฤษฎีมากมาย ต้องเริ่มต้นคิดและทำ คุณภาพจะต้องดี เมื่อมีแพลตฟอร์มที่ดีจะเกิดการยกระดับตามมา

ระหว่างบรรทัดที่อยากบอก

นพ.จเด็จ กล่าวว่า จุดอ่อนอันหนึ่งของผมคือไม่ได้ลงพื้นที่ ผมบอกกับรัฐมนตรีว่าผมจะลงพื้นที่ให้มากขึ้น และไม่นั่งยินดีกับความสำเร็จในอดีต แต่ต้องทำวันนี้ให้ดีขึ้น

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า สิ่งที่เหลือคือ ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มากขึ้น ระบบสาธารณสุขจะต้องช่วยตรงนี้

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ผมคิดว่า ถ้าหากดูหลักอิทธิปัจจยัตตา ถ้าไล่ไปไล่มาก็กลับสู่คนเดือนตุลา สุดท้ายทุกสังคมต้องถูกขับเคลื่อนด้วยความฝัน คนหนุ่มสาวจะต้องอยู่กับสังคมนี้ไปอีกมาก หนังสือนี้ได้ย้ำเตือนว่า คนหนุ่มสาวคืออนาคตของเรา ต้องฟังเขา

นพ.วิโรจน์ กล่าวว่า ประกันสังคมกลับกลายเป็นสิทธิด้อยกว่า UC โรงพยาบาลต้องรายงาน 3 ระบบประกันสุขภาพ ปัญหาชัดที่ใหญ่ชัดคือ ประสิทธิภาพของระบบประกันของข้าราชการ ดังนั้น การบริหารของกรมบัญชีกลางที่ต่างจาก สปสช.ดังนั้น 3 กองทุน ยิ่งเพิ่มช่องว่างมากขึ้น ไม่ได้เป็นภาระของสปสช.แต่เป็นภาระของประเทศนี้

นพ.อรรถพร กล่าวว่า นี่คือแรงบันดาลใจของคนเดือนตุลา ที่ได้จากเรื่องนี้ ระหว่างบรรทัดอีกอันคือการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และยังได้ความช่วยเหลือจาก ธกส.ที่เข้ามาร่วม และใครก็ตามที่อยากได้แรงบันดาลใจ สิ่งที่ยิ่งใหญ่เป็นไปได้

หนังสือนี้ จะให้เข้าใจวิธีทำงาน จะทำให้เราทำสิ่งนี้ขึ้นมาได้


สนใจหนังสือ “ระหว่างบรรทัด” สั่งซื้อได้ที่ >> https://cutt.ly/jz3yxmN