“ไอซีเจ” ยื่นจม.ร้องกฤษฎีกา ยกเลิก-แก้ไขคำสั่ง คสช. ชี้ไม่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

เมื่อวานนี้ (22 เมษายน 2562) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือไอซีเจ (International Commission of Jurists ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึก พร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับบรรดาประกาศและคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือของหัวหน้าคสช. ซึ่งปัจจุบันกําลังถูกทบทวนโดยสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมขอเสนอให้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งและประกาศบางฉบับ เนื่องจากคําสั่งและประกาศเหล่านั้นไม่สอดคล้องกับ พันธกรณีกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยผูกพัน

โดยไอซีเจเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ได้รับแจ้งจากกรมองค์การระหว่าง
ประเทศ กระทรวงต่างประเทศ ว่ารัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการกฤษฎีกากําลังทําการทบทวนประกาศและคําสั่งของคสช. และหัวหน้าคสช. ซึ่งถูกใช้บังคับอยู่เพื่อพิจารณาถึงความจําเป็นและความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ พร้อมยังได้รับคําปรึกษาว่าพวกเราสามารถเสนอข้อเสนอแนะหรือความเห็นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาได้

ซึ่งความคืบหน้าดังกล่าว เป็นไปตาม“ข้อมูลที่ได้รับจากประเทศไทยเกี่ยวกับการติดตามข้อสังเกตเชิงสรุปต่อรายงานรอบที่ 2 ของประเทศไทยต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” (Information Received from Thailandon Follow-Up to the Concluding Observations of the UN Human Rights Committee on theSecond Periodic Report of Thailand) ซึ่งถูกส่งมอบในวันที่ 18 กรกฎาคม และเพยแพร่ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ประเทศไทยได้ประกาศว่า

“บรรดาประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคสช. หรือของหัวหน้าคสช. จะได้รับการทบทวนอย่าง
สม่ำเสมอ โดยพิจารณาถึงความจำเป็นและความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและเมื่อ
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ช่วงสุดท้ายของ Roadmap 3 ขั้น คสช.จึงวางแผนที่จะทบทวนกฎหมาย กฎและมาตรการทั้งหลายที่ถูกบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว”

นอกจากนี้ ไอซีเจได้ยื่นข้อเสนอแนะในการยกเลิกและแก้ไขคำสั่งหัวหน้า คสช. และคำสั่งและประกาศ คสช.เนื่องจากไม่สอดคล้องอย่างเห็นได้ชัดกับพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญ 2560 และทั้งยังไม่จำเป็น ไม่ได้สัดส่วนและไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน คือ

1. บรรดาคำสั่งที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ทหารเหนือเจ้าหน้าที่พลเรือน
2. บรรดาคำสั่งที่ทำให้ศาลทหารสามารถพิจารณาคดีของพลเรือนได้
3. บรรดาคำสั่งที่ละเมิดสิทธิในการแสดงออกและการชุมนุม และเป็นการจำกัดเสรีภาพของสื่อและสิทธิในข้อมูลข่าวสาร และ
4. บรรดาคำสั่งซึ่งละเมิดสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ไอซีเจได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ประการที่ 1 การใช้อำนาจตามกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ทหารในการจับกุมและคุมขังผู้สงสัยไว้ในสถานที่ที่ไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นสถานที่ควมคุบตัวโดยไร้การตรวจสอบจากศาลควรยุติลง

ประการที่ 2 ทุกคดีที่พลเรือนต้องขึ้นกับศาลทหารต้องถูกโอนย้ายไปยังศาลพลเรือน และพลเรือนทุกคนที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในศาลทหาร ต้องได้รับประกันการพิจารณาคดีใหม่ในศาลพลเรือน และ

ประการที่ 3 บรรดาคำสั่งและประกาศของหัวหน้าคสช.และคสช. ต้องถูกยกเลิกหรือแก้ไข นำประเทศไทยปฏิบัติตามพันธกรณีกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นและการชุมนุมและสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ได้รับการเคารพ

อ่านรายละเอียดทั้งหมดของจดหมายเปิดผนึกได้ ที่นี่