เลขาฯป.ป.ท.ใช้ศัพท์ใหม่ ‘ตรวจขับ-ตรวจจับ’ ทุจริต มีรับเสียงบ่น ตรวจแบบไม่เป็นคดีได้หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ท.กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊กส่วนระบุถึงแนวทางการทำงานของสำนักงาน ป.ป.ท. ที่เรียกว่า อีกแนวทาง “ตรวจขับ” ซึ่งการตรวจเพื่อขับเคลื่อนให้มีการปฏิบัติราชการงานแผ่นดินไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ เพื่อไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของหน่วยงาน/ส่วนราชการนั้นๆ สรุปความง่ายๆ คือตรวจเพื่อให้พี่น้องข้าราชการทำงานให้ถูกต้อง ตามกรอบธรรมาภิบาล ซึ่งถ้าทำงานออกนอกกรอบเมื่อไร นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุดคุณกำลังทำผิดวินัย และหากร้ายแรงกว่านั้นคุณก็กำลังทำผิดต่อกฎหมาย การ “ตรวจขับ” จึงทำเพื่อให้มีการทำราชการให้ถูกต้อง ทำให้ข้าราชการมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง

ทั้งนี้ ข้อความระบุว่า

ป.ป.ท.เข้าตรวจแบบไม่เป็นคดีได้มั้ย?

มีคำบ่นเชิงถามเช่นนี้ให้เราได้ยิน ปปท.จึงได้เริ่มการตรวจสอบอีกแนวหนึ่ง เป็นการตรวจที่เราเรียกกันว่า
“ตรวจขับ” คือการตรวจเพื่อขับเคลื่อนให้มีการปฏิบัติราชการงานแผ่นดินไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ เพื่อไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของหน่วยงาน/ส่วนราชการนั้นๆ สรุปความง่ายๆ คือตรวจเพื่อให้พี่น้องข้าราชการทำงานให้ถูกต้อง ตามกรอบธรรมาภิบาล ซึ่งถ้าทำงานออกนอกกรอบเมื่อไร

นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุดคุณกำลังทำผิดวินัย และหากร้ายแรงกว่านั้นคุณก็กำลังทำผิดต่อกฎหมาย การ “ตรวจขับ” จึงทำเพื่อให้มีการทำราชการให้ถูกต้อง ทำให้ข้าราชการมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง

ตามกรอบกฎหมายแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี หากไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำนั้นทำได้หรือไม่ คลาดเคลื่อนต่อกฎหมายหรือไม่ ปปท. ก็จะให้คำแนะนำปรึกษา ตรวจขับจึงเป็นการตรวจในมิติเชิงส่งเสริม

อย่างไรก็ตาม หากแม้นว่าการปฏิบัติงานนั่นยังคงไม่เป็นตามกรอบธรรมาภิบาล การตรวจอีกมิติหนึ่งจะตามมาคือ “ตรวจจับ” เป็นการตรวจเพื่อดำเนินคดีต่อไป

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 สค 61 ปปท .ได้ร่วมกับ กอ.รมน./กกล.รส./กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมปฏิบัติงานมาร่วมกัน “ตรวจขับ” ตามโครงการประสานพลังป้องกันการทุจริตโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน ว่ามีการปฏิบัติก่อสร้างฝายเป็นไปตามแผนบริหารความเสี่ยงด้านทุจริตที่ได้กำหนดแนวทางการป้องกันการทุจริตไว้หรือไม่ ซึ่งผลการตรวจในพื้นที่ 4 ฝาย ก็อยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ มีเพียงที่ลำพูนการก่อสร้างฝายแห่งหนึ่งอาจจะมีข้อคลาดเคลื่อนด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับหน่วยงานในพื้นที่ และผู้นำท้องถิ่น แต่ก็คลี่คลายได้โดย จนท. ปปท. รับไปประสานจัดการ

พี่น้องประชาชนที่มาร่วมสร้างฝายมีความพอใจที่รัฐลงมาดูแลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเขาครับ