ข่าวเด่น: “วีระ”จวก ป.ป.ช. รีบส่งเรื่อง“บิ๊กติ๊ก”ให้คกก.ลงมติ ไม่กล้าให้คณะอนุฯ สอบ กลัวล็อบบี้ไม่หมด

AFP / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL

(8 ต.ค.) นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ตั้งคำถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อกรณีการตรวจสอบพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ปม “ฝายแม่ผ่องพรรณ-บ.รับเหมาลูกชาย” ว่า

ระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ.2551

ข้อ 5.5 การพิทักษ์และรักษาผลประโยชน์ของชาติ ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

ข้อ 6. ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ และปลูกฝังให้ข้าราชการกระทรวงกลาโหมที่ปกครองอยู่นั้นรับทราบ และยึดถือปฏิบัติตามค่านิยมของมาตราฐานจริยธรรมอย่างเคร่งครัด

ข้อ 7. การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามค่านิยมหลักของมาตราฐานจริยธรรมในระเบียบนี้ ถือเป็นการกระทำผิดวินัย จักต้องรับโทษหรือรับทัณฑ์ตามกฏหมายว่าด้วยวินัยทหาร หรือแบบธรรมเนียมของข้าราชการกระทรวงกลาโหมประเภทนั้นๆ

ข้อ 9. ให้ส่วนราชการรายงานผลการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ถึงปลัดกระทรวงกลาโหม ภายในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี โดยจัดทำบัญชีรายชื่อของผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม เหตุแห่งการฝืน และการลงโทษหรือทัณฑ์ทางวินัยที่ได้รับ

ข้อ 10. ให้ปลัดกระทรวงกลาโหมรักษาการตามระเบียบนี้

ระเบียบฯ นี้ออกมาใช้บังคับกับกำลังพลอย่างเคร่งครัด และให้ปลัดฯรักษาการตามระเบียบนี้ แต่ไอ้ตัวปลัดฯมันฝ่าฝืนเสียเอง แล้วใครจะไปทำอะไรมันได้ พอถูกจับได้ ถูกเปิดโปง มันบอกใครๆ เขาก็ทำกัน นี่แหละความจริงของสังคมไทย ข้าราชการชั้นผู้น้อยเท่านั้นที่ทำความผิด แล้วมีความผิดต้องถูกลงโทษ แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทำความผิดก็ไม่เป็นความผิด และไม่ต้องถูกลงโทษ กรณีพล.อ.ปรีชา กระทำการฝ่าฝืนระเบียบฯ นี้เสียเอง นายกฯประยุทธ์ก็ยังออกมาช่วยปกป้องเลย ประยุทธ์พูดหน้าตาเฉย “ใครๆ ก็ทำกัน”

ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ทำการไต่สวน ป.ป.ช. ทำการแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น แล้วรีบส่งต่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติอย่างรวดเร็ว ผลมติคือไม่พบการกระทำความผิด

ป.ป.ช.ไม่กล้ารับเรื่องไว้ทำการไต่สวน เพราะการไต่สวนต้องมีคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะอนุกรรมการมีหลายคน จะไปครอบงำ บงการ ไม่ได้ทุกคน หากคณะอนุฯ ไต่สวนตรวจพบความจริง ที่ไม่อยากจะให้พบ และเป็นความผิดที่ไม่อาจบิดเบือนได้ คณะอนุฯ ไต่สวนก็จำเป็นต้องชี้มูลว่ามีการกระทำความผิด เมื่อเรื่องถูกส่งเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ยากที่จะไม่ชี้มูลตามที่คณะอนุกรรมการไต่สวนได้ชี้มูลมา หากเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. และกรรมการ.ป.ป.ช. ไปช่วยเหลือให้ผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องได้รับโทษ ป.ป.ช.ก็จะได้รับโทษเสียเอง

ดังนั้น ไม่รับไว้ทำการไต่สวนดีที่สุด ตีตกในชั้นการแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลและไม่จำเป็นต้องนำหลักฐานอะไรมาอ้างประกอบการไม่รับไว้ทำการไต่สวน ผู้ใดก็ทำอะไร ป.ป.ช.ได้ยาก

เพราะถ้า ป.ป.ช.รับเรื่องไว้ทำการไต่สวนแล้ว พบว่ามีการกระทำความผิดจริง หากไม่กล้าชี้มูลเพื่อลงโทษบิ๊ก คสช. หรือน้องชายหัวหน้า คสช. ป.ป.ช.ก็อาจถูกผู้ร้องยื่นเรื่องกล่าวหาให้ ป.ป.ช.ต้องเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง

แต่ถ้า ป.ป.ช.กล้าชี้มูลความผิด ก็กลัวผู้มีอำนาจไม่พอใจ และผู้มีอำนาจจะทำการ เซ็ตซีโร่ ป.ป.ช.ทั้งคณะ ดังนั้น ตีตกไม่รับไว้ทำการไต่สวน ย่อมเป็นผลดีกับ ป.ป.ช. กับผู้กระทำความผิด และไม่ขัดใจผู้มีอำนาจ ในขณะที่การกระทำดังกล่าว ชาติ(รัฐ) และประชาชนจะเสียหายอย่างไรก็ช่างมัน ใช่ไหมครับ?

14632804_1080326435398541_5362352745744148706_n 14595654_1080326462065205_6231208280379960400_n 14563331_1080326475398537_4617179948819228402_n