ย้อนชมภาพพระเมรุมาศ ‘สมเด็จย่า’ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อ 21 ปีที่แล้ว

พระเมรุมาศ สมเด็จ​พระศรี​นค​ริน​ทราบ​รม​ราช​ชนนี (ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพมติชน)

“พระเมรุมาศ” คือ “พระเมรุขนาดสูงใหญ่” เป็นอาคารป้องกันแดด ลม ฝน ให้แก่ “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏสร้างมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ “พระเมรุมาศทรงปราสาท” และ “พระเมรุมาศทรงบุษบก” โดยพระเมรุมาศทรงปราสาทจะเป็นทรงที่สร้างขึ้นสำหรับพระมหากษัตริย์ที่สืบต้นแบบมา แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายที่จัดสร้างพระเมรุมาศขึ้นตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี

ส่วน “พระเมรุมาศทรงบุษบก” นั้นก็เป็นของพระมหากษัตริย์เช่นกัน เริ่มปรากฏใช้ครั้งแรกในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงดำริว่าการพระราชพิธีพระบรมศพอย่างโบราณสิ้นเปลืองแรง เปลืองพระราชทรัพย์ และทำความเดือนร้อนให้แก่อาณาประชาราษฎร์เป็นอันมาก ให้ยกเลิกเสียในการพระราชพิธีพระบรมศพของพระองค์ โดยให้จัดการพระเมรุถวายพระเพลิง แต่พอควร

พระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนั้นสร้างด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก ส่วนประกอบด้านนอกเป็นไม้และไม้อัด ประดับด้วยกระดาษทองย่นทั้งหลัง ทรงปราสาทย่อมุมไม้สิบสองยอดเกี้ยว 3 ชั้น มีจัตุรมุข สูงจากพื้นยอด 30.50 เมตร ไม่รวมสัปตปฎลเศวตฉัตร 7 ชั้นที่ยอด มีโถงกลางตั้งพระจิตกาธาน มุขด้านเหนือและใต้ยาวกว่ามุขด้านตะวันตกและตะวันออก หลังคามุขทั้งสี่ทิศซ้อน 2 ชั้น ฐานพระเมรุมาศจัดทำเป็น 2 ระดับ ชั้นแรกเรียกชานชาลา เป็นฐานปัทม์ย่อเก็จประดับด้วยเทวดาถือบังแทรก 20 องค์

พระเมรุมาศ สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพ)
พระเมรุมาศ สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพมติชน)

โดยรอบมีบันได 12 แห่ง แห่งละ 9 ขั้น ฐานบนเรียกพลับพลาพระเมรุมาศ เป็นฐานสิงห์ประดับฉัตร 24 องค์ โดยรอบทั้งสี่ทิศ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลา 14ขั้น องค์พระเมรุมาศมีขนาดกว้าง 26.70 เมตร ยาว 36.30 เมตร ย่อมุมสิบสองหันหน้ามาทางทิศตะวันตก ประดับด้วยจัตุรมุขซ้อน 2 ชั้น ที่หน้าบันทั้งสี่มีพระนามาภิไธยย่อ “ สว ” เพดานภายในมีลายดาว เพดานส่วนยอดเป็นพระเกี้ยว 3 ชั้น มีลักษณะเป็นลายซ้อนไม้ประดับลวดลายต่างๆ

หลังคาเป็นไม้รองด้วยสังกะสี ประดับด้วยใบระกา ยอดเสาเป็นหัวบัว พระเมรุมาศทั้งสี่ด้านเปิดโล่ง มีเครื่องตกแต่ง คือ พระวิสูตรและฉากบังเพลิง

นายบรรหาร ศิลปอาชา ตรวจความคืบหน้าในการสร้างพระเมรุมาศที่ใช้ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จย่า ณ ท้องสนามหลวง *** Local Caption *** ภาพสแกนจากห้องสมุดภาพ
นายบรรหาร ศิลปอาชา ตรวจความคืบหน้าในการสร้างพระเมรุมาศที่ใช้ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จย่า ณ ท้องสนามหลวง (ภาพสแกนจากห้องสมุดภาพมติชน)

นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างและอาคารส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ด้านทิศตะวันออก สร้างเป็นหอเปลื้องเครื่อง สำหรับไว้พระโกศที่เปลื้องแล้วและสรรพวัสดุเครื่องในการถวายพระเพลิง และสิ่งปลูกสร้างสำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรร สี่มุมพระเมรุมาศ เรียกว่า ช่าง และยังมีพระที่นั่งทรงธรรมสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงธรรมและทรงบำเพ็ญพระราชกุศล มีรั้ววงนอกปริมณฑลยาว 460 เมตร ทำสวนและทางเดิน

ประชาชนเดินทางมาสักการะพระบรมศพสมเด็จย่า *** Local Caption *** ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพ
ประชาชนเดินทางมาสักการะพระบรมศพสมเด็จย่า (ภาพสแกนจากห้องสมุดภาพมติชน)

ความงดงามของสวนรอบพระเมรุมาศนี้ตกแต่งด้วยดอกไม้ และไม้ประดับซึ่งนำมาจากโครงการดอยตุงทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 225,530 ต้น เป็นไม้ดอกจำนวน 21 ชนิด ซึ่งเท่ากับวันพระราชสมภพ ประกอบด้วย อัจเจอราตุ้ม, บิโกเนีย, สร้อยไก่, พีทูเนีย, หงอนไก่, ลิ้นมังกร, บานไม่รู้โรย, ดัทชี่ มิลเลอร์, บานชื่น, ดัลเบิร์กเดซี่, ดาวเรือง, เบญจมาศ, เจอราเนียม, แพนซี , พังพวย และว่านสี่ทิศสีแดง นอกจากนี้ยังมีไม้ประดับอื่นๆอีก 9 ชนิด ได้แก่ พุดตาน เบญจมาศ และสน ประมาณ 3,000-4,000 ต้น ซึ่งมีความหมายตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 9

การจัดสวนนี้เป็นการจัดเฉพาะตัวที่ใช้การเลียนแบบธรรมชาติผสมกับการจัดแบบทางการ คือกึ่งธรรมชาติ และกึ่งประดิษฐ์ และการจัดสวนซ้ายขวาไม่เท่ากัน ไม่ได้หมายถึงการจำลองมาจากที่อื่น เป็นการคิดขึ้นใหม่ โดยนำเอาเขามอตะโกดัด ต้นแก้วเจ้าจอม อันเป็นไม้ในวรรณคดีมาร่วมจัดกับสมัยใหม่ ทำให้พระเมรุมาศในครั้งนี้มีความหมายและความงดงามประทับใจในความทรงจำของพสกนิกรไทย ตราบนานแสนนาน

พระเมรุมาศ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระเมรุมาศ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ พระเมรุมาศสมเด็จย่า (ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพ)
พระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ พระเมรุมาศสมเด็จย่า (ภาพสแกนจากฐานข้อมูลห้องสมุดภาพ)
40341_2_09012008033405
ริ้วกระบวนเชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี 2539
e7178160-3
ริ้วกระบวนเชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี 2539
40342_3_09012008033405-1
ริ้วกระบวนเชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี 2539