E-DUANG : วิถีเลือกตั้ง คสช. นักการเมือง นอนเตียงเดียวกัน ฝันต่างกัน

ในท่ามกลาง “ทศวรรษ” แห่งความขัดแย้ง แตกแยก นับแต่ก่อนรัฐ ประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กระทั่งหลังรัฐประหารเมื่อเดือน พฤษภาคม 2557

สังคมไทยได้ก่อรูป “จุดร่วม” ในทางความคิด 1 ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

แม้ว่าจะเป็น “จุดร่วม”ในลักษณะแห่ง”ความขัดแย้ง”

นั่นก็คือ ความรู้สึก “ร่วม” ที่ว่ากระบวนการของ”การเลือกตั้ง”จะเป็นหนทางออกที่เหมาะสมและถูกต้อง

หากมองจากคู่ตรงกันข้ามแห่งความขัดแย้ง ไม่ว่า “คสช.”ไม่ว่า “นักการเมือง”ต่างมีความต้องการในเรื่องเดียวกัน

นั่นก็คือ การเลือกตั้ง

 

ต้องยอมรับว่า “คสช.” เองที่ทำทุกอย่างนับแต่หลังรัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา

เป้าหมาย คือ ต้องการ”ชนะ”ใน”การเลือกตั้ง”

ต้องการเอา “การเลือกตั้ง”มา 1 สยบฝ่ายตรงกันข้าม และ 1 สร้างความชอบธรรมในการสืบทอดอำนาจทางการเมือง

ที่กระทำทุกวิถีทางก็เพื่อเป้าหมายนี้

ไม่ว่าจะมองผ่าน “รัฐธรรมนูญ” ไม่ว่าจะมองผ่าน”กฎหมาย ลูก” ประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะการทุ่มโถมใช้พลานุภาพแห่ง

“พลังดูด” ก็เพื่อนำไปสู่”ชัยชนะ” ของ”การเลือกตั้ง”

ขณะเดียวกัน พรรคการเมือง นักการเมืองก็หวังจะอาศัยกระ บวนการของ”การเลือกตั้ง” มาเพื่อเป็นช่องทางออกไปจากบรรยากาศอันเป็นผลผลิตของกระบวนการ”รัฐประหาร”

แม้จะตกอยู่ในฐานะเป็นฝ่าย”ถูกกระทำ” แม้จะมองเห็นชัยชนะในทางการเมืองริบหรี่เป็นอย่างยิ่งก็ตาม

เข้าทำนอง “กูจะสู้”แม้จะรู้ว่า”พวกกูจะต้องแพ้”

 

นับแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ประกาศและบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน เป็นต้นมา

ทั้ง “คสช.”และ”นักการเมือง”จึงนอนร่วม”เตียง”กัน

นั่นก็คือ เตียงว่าด้วยความอยากใน”การเลือกตั้ง” ตระเตรียม ทุกอย่างเพื่อสร้างความพร้อมอย่างเต็มเปี่ยมสำหรับกระบวนการของ “การเลือกตั้ง”

      แม้ว่าการร่วม “เตียง”เดียวกันระหว่าง “คสช.”กับ”นักการเมือง”จะดำเนินไปในแบบ “ฝัน” กันคนละเรื่องก็ตาม