มูลค่า ‘ไทยลีก’ อาจขาดทุน แต่แนวโน้ม เริ่มมีผลกำไร!

ธรรมทัช ทองอร่าม ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี

ระบุ

ในการทำทีมฟุตบอล กว่าครึ่งหนึ่งจะเป็นค่าจ้างนักเตะ ที่เหลือจะเป็นค่าจ้างสต๊าฟโค้ช และค่าดูแลสนามฟุตบอล

ต้นทุนค่าจ้างนักเตะเป็นต้นทุนที่สูงมากจนทำให้แม้รายได้ของการทำสโมสรจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ภาพรวมผลการดำเนินงานของการทำทีมฟุตบอลในไทยยังประสบกับภาวะขาดทุนมาตลอด

ในปี 2559 พบว่าภาพรวมขาดทุoรวมกว่า 185 ล้านบาท มีหลายคนบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะขาดทุนเพราะการทำทีมฟุตบอลเป็นเรื่องของเล่นคนรวยที่มีเงินเหลือ บ้างก็บอกว่าเป็นเครื่องมือในการโปรโมตเจ้าของสโมสรให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในสังคมชั้นดี

เมื่อก่อนอาจจะใช่

แต่จากนี้ไปอาจจะไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว เพราะถ้าประเมินจากรายได้ในช่วง 3 ปีที่โตเกือบ 2 เท่าตัว ค่าตัวนักเตะไทยที่ทำจุดสูงสุด 50 ล้านบาท นักเตะไทยที่ฝีเท้าดีถูกส่งออกไปเล่นในลีกที่มีคุณภาพสูงในต่างประเทศ เป็นการเปิดตลาดสินค้านักเตะไทย ทำให้มีโอกาสขายนักเตะที่สโมสรปั้นขึ้นมาในมูลค่าสูงในอนาคต

รวมถึงความนิยมของฟุตบอลไทยที่เริ่มมีมากขึ้น ดูจากผลสำรวจของนิด้าโพลเรื่อง “การติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษและฟุตบอลไทยลีก 2017” พบว่า

คนไทยติดตามฟุตบอลไทยลีกร้อยละ 28.24 ในขณะที่ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษน้อยลงกว่าเพียงร้อยละ 22.60 ชี้ถึงกระแสฟีเวอร์ของลีกไทยที่คนไทยนิยมติดตาม แซงหน้าลีกยอดนิยมอย่างพรีเมียร์ลีกอังกฤษไปแล้ว

ตอกย้ำด้วยจำนวนฐานแฟนบอลทีมสโมสรใหญ่ที่มียอดฮิตตามเฟซบุ๊ก อาทิ เมืองทอง ยูไนเต็ด 2.25 ล้านคน บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1.50 ล้านคน ชลบุรี เอฟซี 1.08 ล้านคน เชียงราย ยูไนเต็ด 7 แสนคน ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด 3.69 แสนคน บางกอก กล๊าส เอฟซี 2.04 แสนคน

ชี้ถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ทิศทางรายได้จากการขายตั๋วเข้าชมและของที่ระลึกในสนาม