แนวโน้ม : การขยายตัวทางเศรษฐกิจ กับ อัตราการว่างงาน

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยและพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เปิดเผย

สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานอัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2560 มีคนว่างงาน 463,319 คน หรือร้อยละ 1.21 ของกำลังแรงงาน 38.21 ล้านคน

ถ้านำตัวเลขว่างงาน ไตรมาส 1 ปี 2560 เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 (ก่อนมี คสช.) จะพบสิ่งเหมือนกัน

คืออัตราการว่างงานสูงสุดเมื่อแรงงานมีอายุ 35-39 ปี ทั้งในปี 2557 และปี 2560 โดยปี 2560 มีจำนวนคนว่างงาน 463,379 คน สูงกว่าไตรมาสเดียวกันปี 2557 ซึ่งมี 341,117 คน หรือเพิ่ม 122,162 คน

ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปอีก พบว่า

อัตราการว่างงานในช่วงอายุ 15-39 ปีของไตรมาส 1 ปี 2560 สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ในทุกกลุ่มอายุ

และถ้าดูอัตราการว่างงานจากทุกช่วงอายุจะพบว่า ปี 2560 สูงกว่าปี 2557 เกือบทุกช่วงอายุ

อัตราและจำนวนการว่างงานในปี 2560 ที่สูงกว่าปี 2557 เป็นผลมาจากความสามารถในการดูดซับแรงงาน (ทั้งเก่าและใหม่) ในตลาดแรงงาน อันเนื่องมาจากความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากความตกต่ำอาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

เมื่อเทียบกับตัวเลขของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไทยในปี 2560 ต่ำกว่าทุกประเทศในอาเซียน

จากการพิจารณาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ 4 ตัว คือ การบริโภคภาคประชาชน การลงทุนของภาคเอกชน การใช้จ่ายของภาครัฐและการส่งออกสุทธิ ซึ่งเครื่องยนต์ตัวสุดท้ายนี้ถูกมรสุมของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จากซีกประเทศตะวันตกเล่นงาน ตลอดจนปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ

ทำให้เกิดปัญหาการส่งออกตกต่ำเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน