E-DUANG : สัมพันธ์ “สุเทพ” กับ “ประชาธิปัตย์”

พลันที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะเลขาธิการ กปปส.ทำหนังสือเรียกร้องให้แก้ไขพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง

ไม่เพียงแต่ “คสช.”มาถึง “จุดตัด” อย่างแหลมคม

ยิ่งเมื่อ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะประธานเครือข่ายประ ชาชนเพื่อการปฏิรูป เคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน

ยิ่งทำให้เห็น “ปัญหา” ที่ดำรงอยู่ใน “คสช.”

อย่างน้อยความฝันที่จะสามารถตั้ง “พรรคการเมือง”เพื่อสนองตอบต่อการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจาก”คนนอก”ก็มิได้ง่าย ดายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก

หากไม่มีการลากดึง พรรคใหญ่ พรรคเก่า ให้ลงมายืนหน้ากระดานเรียงหนึ่งคู่กับ พรรคเล็ก พรรคใหม่

ตรงนี้ได้กลายเป็น”จุดตัด”อย่างสำคัญต่อ”ประชาธิปัตย์”

 

การกระทำในลักษณะ “สมคบคิด” ระหว่างสิ่งที่เรียกว่า”กปปส.”กับ “ทหาร” อาจมิใช่เรื่องใหม่

หลายคนรู้สึกตั้งแต่ก่อนเดือนพฤษภาคม 2557 มาแล้ว

บทบาทของ “กปปส.” ในความเป็นจริง คือ การปูทางและสร้างเงื่อนไขให้กับ “รัฐประหาร”

เรื่องนี้”พรรคประชาธิปัตย์”รู้ดีอย่างที่สุด

บทบาทของ”พรรคประชาธิปัตย์”จึงมีความโน้มเอียงไปอย่าง ใกล้เคียงกับบทบาทของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อย่างที่รู้กันอยู่เป็นอย่างดี

โดยหวังว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้”อานิสงส์”จากการยึดอำนาจเหมือนกับที่เคยได้หลังเดือนกันยายน 2549

แต่การแสดงออกล่าสุดของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ใช่

ผลจากการแก้ไขพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองสะเทือนต่อสถา นะของพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง

 

นับแต่เดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นไป การเมืองได้เดินมาถึงจุดตัด จุดหักเลี้ยวอย่างสำคัญอีกครั้ง

ไม่เพียงแต่ต่อการดำรงอยู่ของ “คสช.”

หากที่สำคัญอย่างยิ่งยังมีความหมายต่อการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองและโดยเฉพาะ”พรรคประชาธิปัตย์” อย่างสำคัญและแหลมคมยิ่ง

โดยไม่เพียงแต่ “คสช.”จะเป็นฝ่ายกำหนด หาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เข้าไปมีบทบาทด้วยอย่างเอาการเอางาน

นี่ย่อมเป็นทางเลือกใหม่สำหรับพรรคประชาธิปัตย์