สัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย : ขอบฟ้าใหม่สำหรับการค้าและการลงทุน (1)

จรัญ มะลูลีม

มุมมุสลิม | จรัญ มะลูลีม

 

สัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย

: ขอบฟ้าใหม่สำหรับการค้าและการลงทุน (1)

 

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Kingdoms of Saudi Arabia – KSA) เป็นเศรษฐกิจแห่งอนาคตที่นำเสนอศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้และโอกาสทางธุรกิจที่ไม่เหมือนใครซึ่งขับเคลื่อนโดยมโนทัศน์ 2030 (Vision 2030) ปริมาณการค้าของซาอุดีอาระเบีย – KSA ไทยอยู่ที่ 34,700 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ปริมาณการส่งออกของซาอุดีอาระเบียไปยังประเทศไทยในปี 2020 อยู่ที่ 34.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกของไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย อยู่ที่ 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีเดียวกัน

ซาอุดีอาระเบียให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ และอุปกรณ์การช่วยเหลือต่างๆ จำนวน 75 ตันหลังเหตุการณ์สึนามิในปี 2004

สภาธุรกิจไทย-ซาอุดีอาระเบีย (Thai-Saudi Business Council) ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว แรงงาน พลังงาน และอาหาร พร้อมเข้าถึงตลาดของสภาความร่วมมือแห่งอ่าว GCC

 

ซาอุดีอาระเบียตั้งอยู่ที่ใจกลางเส้นทางการค้าที่สำคัญซึ่งเชื่อมระหว่าง 3 ทวีป (ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา) มีทำเลที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นประโยชน์เชิงกลยุทธ์ตามมโนทัศน์ 2030 (Vision 2030) ของซาอุดีอาระเบียที่ตั้งเป้าเอาไว้สูงสุดด้วยการพัฒนาราชอาณาจักรให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก

ซาอุดีอาระเบียมีศักยภาพและโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักลงทุน อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจ G 20 ที่มีประชากรอายุน้อยและมีการศึกษาสูงกว่า 34 ล้านคน นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และแร่ธาตุล้ำค่าอีกด้วย

ในฐานะส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ 2030 การปฏิรูปเศรษฐกิจในวงกว้างของซาอุดีอาระเบียประสบความสำเร็จในการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ และการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมทั้งการกระจายความเสี่ยง

การปฏิรูปกำลังเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ในซาอุดีอาระเบียสู่สายตาชาวโลก

 

ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับการค้าทวิภาคีระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทย รวมทั้งการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ซาอุดีอาระเบียถือเป็นส่วนหนึ่งของ Saudi Vision 2030

การค้าทวิภาคีระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทยระหว่างปี 2017-2021 มีมูลค่าประมาณ 1.3 แสนล้านซาอุดีริยัล (1 ซาอุดีริยัล = 9.00 บาท และ 1 เหรียญสหรัฐ = 3.77 เหรียญสิงคโปร์โดยประมาณ)

ในปี 2021 การค้าทวิภาคีมีมูลค่าประมาณ 2.68 หมื่นล้านซาอุดีริยัลเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากปี 2020 มูลค่าการส่งออกของซาอุดีอาระเบียมายังประเทศไทยในปี 2021 อยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับประมาณ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 ในขณะที่การนำเข้าของไทยไปยังซาอุดีอาระเบียในปี 2020 มีมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021

การส่งออกของซาอุดีอาระเบียมาไทยในปี 2520 ได้แก่ วัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีอินทรีย์ ปุ๋ย อะลูมิเนียม และพลาสติก ในขณะที่การนำเข้าของซาอุดีอาระเบียจากไทย ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักร ถ่านไม้ สิ่งปรุงแต่งสำหรับการเลี้ยงปลา เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า

ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยร้อยละ 80 ของสินค้าและบริการที่บริโภคนำเข้ามาจากทั่วโลก ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจึงค่อนข้างใหม่ในเศรษฐกิจที่สดใสนี้

 

กลุ่มการค้าและเขตการค้า

เขตการค้าสองแห่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่ตลาดระดับภูมิภาคสำหรับบริษัทที่ต้องการแสวงหาโอกาส :

สภาความร่วมมือแห่งอ่าว (Gulf Cooperation Council หรือ GCC) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 1981 ประกอบด้วยซาอุดีอาระเบีย โอมาน คูเวต กาตาร์ บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีประชากร 66 ล้านคน พื้นที่สองล้านหกแสนเจ็ดหมื่นสามพันหนึ่งร้อยแปดตารางกิโลเมตร GDP รวมโดยประมาณ (PPP) ในปี 2021 อยู่ที่สามพันหกร้อยห้าสิบห้าล้านล้านเหรียญสหรัฐ

GCC ได้กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการสร้างอาคารและการลงทุนที่เฟื่องฟูโดยได้รับการสนับสนุนจากรายรับที่มาจากปิโตรเลียม

GCC ยังได้เปิดตัวโครงการรถไฟที่สำคัญเพื่อเชื่อมต่อคาบสมุทร คาดว่าเส้นทางรถไฟจะช่วยกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาคในขณะเดียวกันก็ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง จะมีการลงทุนกว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาเครือข่ายรถไฟยาวประมาณสี่หมื่นกิโลเมตร (25,000 ไมล์) ทั่ว GCC

โครงการนี้มีมูลค่าประมาณ 1.55 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2022

Vision 2030 ของซาอุดีอาะรเบีย

มีความมุ่งหวังให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

 

1.ดรรชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 25 จะผลักดันให้ขึ้นไปอยู่ Top Ten ของโลกในอนาคต

2. เพิ่มการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศจากระดับ 3.8 ขึ้นไปอยู่ในระดับ 5.7 ของ GDP เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (private sector) จากร้อยละ 40 ให้ไปถึงร้อยละ 6.5 ของ GDP

3. เพิ่มรายได้ของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากน้ำมันให้ถึง 1 ล้านล้านซาอุดีริยัล

4. ผลักดันดัชนีความมีประสิทธิภาพของรัฐบาลจากที่อยู่ในระดับที่ 80 ให้ขึ้นไปอยู่ในระดับที่ 20

5. ยกระดับของประเทศจากประเทศที่มีเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 36 ของโลกให้ขึ้นไปอยู่ระดับ Top 5

6. เพิ่มภาคบริหารการขนส่ง การจัดการส่งสินค้าและทรัพยากรจากระดับที่ 49 ให้ขึ้นไปอยู่ระดับที่ 25 โดยราชอาณาจักรจะเป็นผู้นำด้านนี้ในภูมิภาค

7. เพิ่มสินค้าส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 50

8. มีเป้าหมายและความคาดหวังระยะยาว (Long term goal and expectations) สะท้อนความเข้มแข็งและความสามารถของประเทศ

 

จากนี้ไปประเทศไทยกับซาอุดีอาระเบียจะมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นในอนาคต เช่น

ในด้านการเมือง หลังการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของทั้งสองประเทศ การจัดตั้งกลไกหารือทวิภาคี การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศโดยเฉพาะในกรอบ OIC และอื่นๆ

1. เพิ่มความสัมพันธ์ด้านการศึกษาและศาสนาระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวมุสลิมในประเทศไทย

2. มีการส่งเสริมด้านนวัตกรรม

ที่ผ่านมาเมื่อกลุ่มนักธุรกิจไทยเดินทางไปพบกับนักธุรกิจของประเทศอาหรับ เรามักจะเชิญเขามารับทราบว่าเราต้องการจะขายสินค้าของเรา แต่เราไม่ได้นำเสนอว่าเราเองก็มีความปรารถนาที่จะซื้อสินค้าจากประเทศเหล่านั้นด้วย การเดินทางไปหาตลาดการค้าจึงไม่ราบรื่นซึ่งควรมีทั้งการรับและการให้ (Give and Take) ในเวลาเดียวกัน

ศึกษาลู่ทางการทำการค้ากับโลกอาหรับและโลกมุสลิม

ในอดีตก่อนจะเกิดความขัดแย้งที่ทำให้เกิดความชะงักงันของความสัมพันธ์มากกว่า 30 ปีจะพบว่าชาวซาอุดีอาระเบียจะชอบคนไทยที่ไปทำงานในประเทศของเขา เพราะมี Sense of Touch

ดังนั้น การทำงานของแรงงานไทยที่เต็มไปด้วย Service mind จึงสร้างความประทับใจให้กับนายจ้างมาตลอด โรงพยาบาลไทยมีบรรยากาศเหมือน Resort สามารถแข่งกับสิงคโปร์ได้

 

ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับในความสัมพันธ์ทางการทูตอาจมองได้หลายด้าน

ด้านการเมือง ในการระหว่างประเทศ การกลับมามีเอกอัครราชทูตอีกครั้ง จะทำให้ระดับการตัดสินใจที่มาจากผู้แทนของประเทศในกิจการต่างๆ มีน้ำหนักและขับเคลื่อนได้ มากกว่าระดับอุปทูต (Charg’d Affairs) อุปสรรคว่าด้วยการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านเศรษฐกิจจะมองเห็นเป็นรูปธรรมและเห็นอนาคตที่รออยู่ข้างหน้า

การหารือระดับทวิภาคีในด้านต่างๆ การท่องเที่ยว การบริการ การเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การตกลงด้านการค้า การส่งแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะ (Sikll Labour)

ในฐานะที่เคยเดินทางเข้าร่วมประชุม องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) Organization of Islamic Cooperation – OIC) หรือในชื่อเดิมว่าองค์การการประชุมอิสลาม 6 ครั้ง

ครั้งแรกเดินทางไปกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ (ในขณะนั้น) ที่บูร์กีนา ฟาโซ เมืองโอกาดูกู แอฟริกาตะวันตก ในฐานะที่ปรึกษา หลังจากนั้นก็ไปกับ อ.วันนอร์ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม รัฐมนตรีมหาดไทย ประธานรัฐสภาและที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่ซาอุดีอาระเบียและไปกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศที่เยเมน เข้าร่วมประชุมที่ซีเรียในขณะเดินทางไปทำวิจัยเรื่อง OIC

จากการเข้าร่วมประชุมทุกครั้งจะพบว่าบทบาทของซาอุดีอาระเบียมีอยู่อย่างมาก ทั้งนี้ สำนักงานใหญ่ของ OIC และหน่วยงานที่สังกัดอยู่กับ OIC ก็ตั้งอยู่ในซาอุดีอาระเบีย แม้ว่า OIC หวังว่าวันหนึ่งจะมีสำนักงานอยู่ที่เยรูซาเลมก็ตาม

ด้านการศึกษา คนไทยไปศึกษาเล่าเรียนที่ซาอุอาระเบียมายาวนาน ได้กลับมาสร้างความเจริญให้กับสังคมมุสลิมและสังคมไทยโดยรวม

ด้านนวัตกรรม โครงการใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยได้รับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องหลักการฟื้นฟูความสัมพันธ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ อุมเราะฮ์ และการเดินทางที่มีความสะดวกมากขึ้นเพราะมีสายการบินที่บินตรงจากซาอุดีอาระเบียมาไทยและจากไทยมาซาอุดีอาระเบีย