วิกฤติศตวรรษที่21 : การชักธงรบของรัสเซีย-จีน

Chinese investors sit in front of a screen showing stock market movements at a securities firm in Hangzhou, eastern China's Zhejiang province on May 31, 2016. Asian stocks rose on May 31, led by a surge in Shanghai, while the dollar edged higher as traders weighed the fallout from a likely US interest rate rise this summer. / AFP PHOTO / STR / China OUT

มองโลกปี 2017 และหลังจากนั้น (35)

การประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 9 – การชักธงรบของรัสเซีย-จีน

การประชุมสุดยอดสมาชิกกลุ่มบริกส์ (ประกอบด้วยบราซิล อินเดีย รัสเซีย จีน แอฟริกาใต้) ครั้งที่ 9 ที่เมืองเซียะเหมิน ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2015 เกิดขึ้นในท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและรัสเซีย-จีน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนนับแต่หลังสงครามเย็น

เรื่องมีอยู่ว่า หลังสงครามเย็น สหรัฐที่ต้องการเป็นอภิมหาอำนาจแต่ผู้เดียว สร้างศตวรรษใหม่ของอเมริกันขึ้น ด้วยการปิดล้อมรัสเซีย-จีนอย่างหนาแน่น วางกำลังและมีปฏิบัติการทางทหารทั่วโลก

States leaders (L to R) South Africa’s President Jacob Zuma, Indian Prime Minister Narendra Modi, Brazilian President Michel Temer, Russian President Vladimir Putin, Chinese President Xi Jinping, Egypt’s President Abdel-Fattah el-Sisi, Guinea’s President Alpha Conde, Mexico’s President Enrique Pena Nieto, Tajikistan’s President Emomali Rahmon, Thai Prime Minister Prayuth Chan-o-cha pose for a group photo ahead of the Dialogue of Emerging Market and Developing Countries on the sidelines of the 2017 BRICS Summit at the Xiamen International Conference and Exhibition Center in Xiamen, southeastern China’s Fujian Province on September 5, 2017.
Xi opened the annual summit of BRICS leaders that already has been upstaged by North Korea’s latest nuclear weapons provocation. / AFP PHOTO / POOL / Kenzaburo FUKUHARA / “The erroneous mention[s] appearing in the metadata of this photo by Kenzaburo FUKUHARA has been modified in AFP systems in the following manner: [adding names to line up]. Please immediately remove the erroneous mention[s] from all your online services and delete it (them) from your servers. If you have been authorized by AFP to distribute it (them) to third parties, please ensure that the same actions are carried out by them. Failure to promptly comply with these instructions will entail liability on your part for any continued or post notification usage. Therefore we thank you very much for all your attention and prompt action. We are sorry for the inconvenience this notification may cause and remain at your disposal for any further information you may require.”
จุดสำคัญที่สหรัฐวางกำลังและสร้างพันธมิตรทางทหารอย่างแน่นแฟ้น ได้แก่

ก) บริเวณตะวันออกกลาง ได้แก่ อิสราเอล ซาอุดีอาระเบียและกลุ่มความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ อียิปต์ เลบานอน เยเมน จอร์แดน อิรัก ซีเรีย และขยายไปยังปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทั้งมีตุรกีเป็นฐานทัพใหญ่ตั้งแต่ครั้งสงครามเย็น

ข) บริเวณยุโรปที่สำคัญคือเยอรมนี มีฐานทัพราว 180 แห่ง ถัดมาได้แก่ อิตาลี เกือบ 40 แห่ง รวมทั้งอังกฤษและสเปน ต่อมายังขยายไปยังยุโรปตะวันออกหลายประเทศ ได้แก่ โปแลนด์และโรมาเนีย กลุ่มรัฐบอลติก อีกทั้งการเข้าแทรกแซงกิจการภายในที่ยูเครน

ค) บริเวณเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย ที่สำคัญคือ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น แนวเกาะตั้งแต่ญี่ปุ่นลงมาถึงฟิลิปปินส์นี้สหรัฐถือว่าเป็นแนวเกาะป้องกันทางยุทธศาสตร์ชั้นที่หนึ่ง ถัดไปมีฐานทัพใหญ่ที่เกาะกวม ซึ่งอยู่ในกลุ่มเกาะมาเรียนา ด้านตะวันตกตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ถือเป็นแนวเกาะป้องกันทางยุทธศาสตร์ชั้นที่สองของสหรัฐ สำหรับแนวเกาะป้องกันทางยุทธศาสตร์ชั้นที่สาม มีฐานกำลังหลักอยู่ที่หมู่เกาะฮาวาย

โซ่เกาะทางยุทธศาสตร์นี้ สหรัฐได้เสนอขึ้นตั้งแต่ปี 1951 ช่วงสงครามเกาหลี ซึ่งจีนเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแหวกวงล้อมนี้ให้ได้

นอกจากนี้ สหรัฐยังได้วางกำลังแน่นหนาที่อเมริกาละติน และได้เพิ่มขึ้นอีกในทวีปแอฟริกา แต่การต่อสู้หลักอยู่ในสามบริเวณดังกล่าว

ตั้งแต่ปี 2014 รัสเซีย-จีนแหวกวงล้อมนี้ได้สำเร็จ รัสเซียในสองแนวรบ ได้แก่ ที่ยูเครนในยุโรปตะวันออก สามารถผนวกดินแดนแหลมไครเมีย และสนับสนุนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสต์และลูฮานสก์ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระในยูเครน

ในตะวันออกกลางที่ซีเรีย พลิกสถานการณ์ของระบบอัสซาดให้กลับมามั่นคงได้ ทั้งยังสามารถขยายพันธมิตรไปยังอิหร่าน ตุรกี อียิปต์ และให้การสนับสนุนแก่นายพลฆาลิฟา ฮาฟตา ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของลิเบียอันอุดมด้วยน้ำมัน ซึ่งเป็นการรุกต่อสหรัฐและตะวันตกครั้งสำคัญ

ส่วนจีนแหวกวงล้อมที่ทะเลจีน กล่าวทางการทหารคือการแหวกแนวเกาะป้องกันทางยุทธศาสตร์ชั้นแรกดังนี้

ก) ถมทะเลสร้างเกาะเทียมเป็นฐานทัพ ในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ทะเลจีนใต้เพื่อใช้สนับสนุนการลาดตระเวนในพื้นที่นี้ เริ่มสร้างกลางปี 2015 เริ่มติดตั้งอาวุธปลายปี 2016 เป็นฐานทัพที่มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ

ข) สร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก “เหลียวหนิง” เป็นโครงการนำร่อง พร้อมการรบในปลายปี 2016 และกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินจริงจังลำต่อไป

ค) พัฒนาเรือดำน้ำที่ตรวจจับเสียงได้ยาก และจะสร้างกองเรือดำน้ำล่องหนขึ้น

สหรัฐตอบโต้อย่างรุนแรงต่อรัสเซียส่งทหารและหน่วยปฏิบัติการพิเศษเพิ่มในอัฟกานิสถาน อิรัก ซีเรีย

หนุนหลังซาอุดีอาระเบียและอิสราเอลเต็มที่ในการต่อต้านอิทธิพลของอิหร่านที่เป็นพันธมิตรรัสเซีย

สนับสนุนปฏิบัติการของซาอุฯ ในเยเมน เป็นต้น ในยูเครนมีความคิดจะส่งอาวุธร้ายแรง เช่น อาวุธทำลายรถถังให้รัฐบาลยูเครนใช้ต่อสู้กับกลุ่มแยกดินแดน แต่มีนักวิชาการหลายคนเห็นว่าการติดอาวุธนี้อาจส่งผลร้ายได้ เช่น อาวุธพลัดไปตกอยู่ในมือกลุ่มก่อการร้าย นักวิชาการบางคนเห็นว่า ถ้าหากรัสเซียตอบโต้ด้วยการส่งอาวุธร้ายแรงให้กลุ่มที่เป็นศัตรูของสหรัฐบ้าง สหรัฐก็ไม่รู้ว่าจะเดินหมากอะไรต่อ นอกจากนี้ อาจก่อความร้าวฉานกับเยอรมนีกับฝรั่งเศสที่ต้องการใช้วิธีทางการทูตเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และแนะว่าควรโจมตีที่จุดอ่อนของรัสเซีย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (ดูบทความของ Charles Kupchan ชื่อ Why giving Ukraine lethal weapons would be a massive mistake ใน washingtonpost.com 07.08.2017)

ต่อจีนที่เอเชียตะวันออก สหรัฐส่งกองเรือรบลาดตระเวน จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุหลายครั้งในปีนี้

จุดชนวนสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีให้ร้อนแรงสุดขีด สร้างพันธมิตรกับอินเดีย ขยายรอยร้าวจีน-อินเดีย บั่นทอนโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งทาง” ของจีน ขยายฐานทัพในออสเตรเลีย

รัสเซีย-จีนหลังจากแหกวงล้อมได้แล้ว ก็เดินหน้าต่อไปด้วยความมั่นใจและระมัดระวัง

ใช้การประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 9 เป็นเวที เพื่อกระชับยุทธศาสตร์การพัฒนาในกลุ่มสมาชิก

ช่วงชิงบทบาทการนำในประเทศตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา

ประธานาธิบดีปูตินแห่งรัสเซียแสดงบทเป็นผู้โหมโรงเรียกแขก เขียนบทความก่อนหน้าการประชุมเล็กน้อย เพื่อแสดงจุดยืนของรัสเซียบนเวทีโลก

วาดวิสัยทัศน์ของขอบฟ้าใหม่ในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มบริกส์ในการสร้างโลกหลายขั้วอำนาจขึ้นแทนโลกขั้วอำนาจเดียวที่สหรัฐเป็นใหญ่

ปูตินเริ่มต้นบทความด้วยการขอบคุณจีนที่เป็นประธานในการจัดประชุม และเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของกลุ่ม จากนั้นเขาย้ำหลักการของกลุ่มบริกส์ได้แก่ ความเสมอภาค การเคารพกันและกัน และความสมานฉันท์

โดยเน้นให้มีการร่วมมือกันในหลายด้านเพิ่มขึ้น และร่วมมือกับประเทศอื่นทั่วโลกในการสร้างเสถียรภาพของโลก ต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย

ปูตินเห็นว่าภาระใหญ่ของกลุ่มบริกส์และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายได้แก่การแก้ไข “สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญแก่การเติบใหญ่ขึ้นเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่เท่าที่ควร เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับหุ้นส่วนของเราเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปกฎระเบียบทางการเงินระหว่างประเทศ เอาชนะการครอบงำมากเกินไปของทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอย่างจำกัด (ที่สำคัญได้แก่ เงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรของยุโรป) และเราจะทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงการกระจายของโควต้าสัดส่วนสิทธิการออกเสียงในองค์การไอเอ็มเอฟ และกลุ่มธนาคารโลก”

ปูตินยังชักธงรบต่อสหรัฐว่า “ผมเชื่อมั่นว่าประเทศกลุ่มบริกส์จะปฏิบัติต่อเนื่องแน่วแน่ในการคัดค้านลัทธิปกป้องการค้าและการสร้างสิ่งกีดขวางในการค้าของโลก (ด้วยการร่วมมือของกลุ่มบริกส์) เราสามารถสร้างรากฐานของระบบการค้าหลายฝ่ายที่มีลักษณะเปิด เสมอภาค และมีประโยชน์ร่วมกันได้ รวมทั้งเสริมความเข้มแข็งแก่บทบาทขององค์การการค้าโลกในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลหลักในการค้าระหว่างประเทศ”

ท้ายสุดปูตินกล่าวว่า “เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับมิตรสหายของเราในการส่งเสริมประชาธิปไตย และเสริมความเข้มแข็งต่อแก่นของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ”

(ดูบทความของ Vladimir Putin ชื่อ BRICS : Towards New Horizons of Strategic Partnership ใน en.kremlin.ru 01.09.2017)

สําหรับ สี จิ้น ผิง ได้กล่าวปราศรัยในการเปิดประชุมสุดยอดด้วยท่วงทำนอง “การทูตหว่านเสน่ห์” เหมือนเคย จากคำปราศรัยในการประชุมนี้และในที่อื่นๆ รวมทั้งการปฏิบัติบางอย่างของกลุ่มบริกส์และจีน สรุปเป็นการรุกทางเศรษฐกิจ-การเมืองสำคัญในสองด้าน ได้แก่

1) ด้านหลักการและอุดมการณ์

สีชี้ว่าโลกและกลุ่มบริกส์กำลังอยู่ในยุคใหญ่แห่งการพัฒนา การแปลงโฉม และการปรับตัว

มีแนวโน้มสำคัญได้แก่

โลกเคลื่อนไปสู่การมีหลายขั้วอำนาจ

เศรษฐกิจเป็นแบบโลกาภิวัตน์ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสังคมเป็นเชิงดิจิตอลมากขึ้น

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จีดีพีของกลุ่มบริกส์โตร้อยละ 179 การค้าร้อยละ 94 และประชากรเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 มีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาเสถียรภาพและเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

กลุ่มบริกส์จำต้องประสานยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้าด้วยกัน ยึดมั่นในหลักการและอุดมการณ์สำคัญได้แก่ ลัทธิโลกหลายขั้วอำนาจ การปฏิรูประบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้มีความเป็นธรรม ยุติธรรมและสมเหตุสมผลมากขึ้น ต่อต้านลัทธิคุ้มครองการค้า ส่งเสริมการค้าเสรีและเศรษฐกิจโลกแบบเปิด สร้างความเป็นธรรม รักษาสันติภาพ เสถียรภาพระหว่างประเทศและของภูมิภาคบนหลักการของความเสมอภาคความสัมฤทธิผล ความยืดหยุ่นและช่วยเหลือกันและกัน (ดูคำปราศรัยของ สี จิ้น ผิง ในพิธีเปิด “สมัชชาเศรษฐกิจบริกส์” ใน news.xinhuanet.com 03.09.2017)

2) ด้านการปฏิบัติ

กลุ่มบริกส์ได้ตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแผนใหม่ (New Development Bank ดำเนินงานปี 2015 สำนักงานใหญ่ที่เซี่ยงไฮ้) ต่างกับธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) หลายประการ ธนาคารนี้เน้นหลักการความเสมอภาคและนวัตกรรมทางผลผลิต ซึ่งคำนึงถึงนวัตกรรมทางทรัพยากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ดูบทความของ Andrew F. Cooper ชื่อ The BRICS New Development Bank : Shifting from Material Leverage to Innovation Capacity ใน web.isanet.org 2017)

มีบางคนวิจารณ์ว่าธนาคารเพื่อการพัฒนาแผนใหม่นี้ เป็นไพ่ดีที่สุดของกลุ่มบริกส์ในการสร้างความร่วมมือที่ลึกขึ้นของกลุ่ม จีนสนับสนุนการดำเนินกิจการของธนาคารนี้อย่างเต็มที่

การปฏิบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจีนได้แก่ การเปิดตลาดค้าน้ำมันดิบล่วงหน้าที่เซี่ยงไฮ้ ซื้อขายด้วยเงินหยวนที่สามารถแลกเป็นทองคำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีผลอย่างสูงต่ออุตสาหกรรมน้ำมัน เพราะจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ราคาน้ำมันที่ตลาดเซี่ยงไฮ้จะมีส่วนกำหนดราคาน้ำมันที่ตลาดอื่นของโลกด้วย

(ดูบทความของ Damon Evans ชื่อ China sees new world order with oil benchmark backed by gold ใน asia.nikkei.com 01.09.2017)

อนึ่ง ในการประชุมนี้ จีนได้ริเริ่มสร้างกลุ่ม “บริกส์+” ขยายความร่วมมือไปยังประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาอื่น มีผู้นำจาก 5 ประเทศได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมสังเกตการณ์ครั้งนี้ ได้แก่ ไทย อียิปต์ เม็กซิโก กินี และทาจิกิสถาน แต่โครงการนี้คงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกันเพราะว่ากลุ่มบริกส์เองยังเชื่อมประสานกันไม่ดี

สงครามเศรษฐกิจสหรัฐ-จีนในสายตานักยุทธศาสตร์ชาติของจีน

นายพลเฉียว เหลียง เป็นนักยุทธศาสตร์ชาติสำคัญคนหนึ่งของจีน ได้ร่วมกับอีกนายพลหนึ่งเขียนหนังสือชื่อ “สงครามแบบไม่จำกัด” (เผยแพร่ปี 1999 ขณะนั้นมียศเป็นพันเอก) ชี้ให้เห็นว่าจีนสามารถทำสงครามกับสหรัฐที่มีเทคโนโลยีสูงกว่าได้ในหลายรูปแบบ

เช่น สงครามทางกฎหมาย สงครามเศรษฐกิจ สงครามเครือข่าย หลังจากสหรัฐประกาศนโยบายปักหลักเอเชีย

นายพลผู้นี้ได้แสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยกลาโหม ในเดือนเมษายน 2015 ชี้ว่าจีนควรรับมือได้อย่างไร

ในปาฐกถาดังกล่าว เฉียวเห็นว่าสงครามหลักต่อไปจะอยู่ที่เศรษฐกิจ-การเงิน ไม่ใช่ทางทหาร สรุปความได้ดังนี้ว่า สหรัฐเป็นจักรวรรดิทางการเงินครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 1971 ที่ประธานาธิบดีนิกสันประกาศเลิกผูกค่าเงินดอลลาร์กับทองคำ และสร้างระบบดอลลาร์น้ำมันขึ้นมา สหรัฐสามารถใช้ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นมาอย่างเสรีโดยไม่มีฐานทองคำรับรองเพื่อดูดความมั่งคั่งทางกายภาพจากทั่วโลก

เฉียวระบุที่สหรัฐทำเช่นนี้ได้ ด้านหนึ่ง โดยพิมพ์เงินดอลลาร์ อีกด้านหนึ่ง โดยยืมเงินดอลลาร์จากผู้อื่น ได้ทั้งจากการพิมพ์และการกู้ สร้างเศรษฐกิจเสมือนจริง และประเทศที่กลวงขึ้น

เฉียวชี้ว่า “ในปัจจุบันจีดีพีของสหรัฐสูงถึง 18 ล้านล้านดอลลาร์ แต่เศรษฐกิจที่เป็นจริงมีส่วนในจีดีพีไม่เกิน 5 ล้านล้านดอลลาร์” เกิดเป็นวงจรเงินดอลลาร์ที่ “สิบปีมูลค่าอ่อน หกปีมูลค่าแข็ง” และว่า สหรัฐใช้วงจรค่าเงินดอลลาร์ ประสานกับการสร้างสถานการณ์และสงครามเพื่อประกันให้มีเงินดอลลาร์ไหลเข้าสหรัฐสม่ำเสมอเพื่อความอยู่รอด (ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ไหลเข้าปีละราว 700 พันล้านดอลลาร์)

เฉียวชี้ว่าการสร้างสถานการณ์ก่อสงคราม เช่น หลังจากประกาศใช้เงินยูโรในเดือนมกราคม 1999 สามเดือน สหรัฐก็ก่อสงครามโคโซโว ทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนในสหภาพยุโรป และค่าเงินยูโรทรุดฮวบ

เฉียวชี้ว่า ตอนนี้ถึงคราวที่สหรัฐจะต้องจัดการกับความรุ่งเรืองของจีนอย่างรวดเร็ว แต่จีนกับสหรัฐเริ่มจากจุดสตาร์ตเดียวกันแล้วในแง่ของเทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น “สหรัฐจึงเลือกคู่ต่อสู้ผิดตัว คู่ต่อสู้ที่แท้จริงคือตัวสหรัฐเอง” (ดูปาฐกถาของนายพล Qiao Liang ชื่อ The U.S.”s Strategy of Shifting Focus to the East and China”s Strategy of Going to the West- China”s Strategic Choice in the Game between China and the U.S. ใน szczesniak.pl)

ฉบับต่อไปจะกล่าวถึงสงครามไซเบอร์กับมหาสงคราม