E-DUANG : ศึกษา ประวัติศาสตร์ ความคิด ทำความเข้าใจ การเมือง ปัจจุบัน

แรกที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิ การ์ วานิช ออกมาเสนอแนวทางในการ”ปักธง”ทาง”ความคิด”ลงใน แต่ละพื้นที่ของการต่อสู้

บรรดา เกจิ ผู้เชี่ยวชำนาญทางการเมือง รับฟังแล้วก็แสยะยิ้มอย่างหมิ่นแคลน มองและประเมินว่าเสียเวลาเปล่า

เสียเวลาเปล่าที่จะทำงานการเมืองโดยไม่มีระบบ”หัวคะแนน”

เสียเวลาเปล่าเพราะไม่มีการเคลื่อนไหวในทางการเมืองใดที่ไม่มีการนำเม็ดเงินเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างฐานและหวังเก็บเกี่ยวคะแนนทางการเมือง

เมื่อเป็นการทำงานการเมืองโดยไม่ยอมสร้างเครือข่าย หัวคะแนน ผ่านเม็ดเงินที่เหมาะสมลงไปในแต่ละพื้นที่ก็ยากอย่างยิ่ง ที่จะแหวกปราการจากการเมือง”เก่า”เข้าไปได้

เสียงหยามเย้ยไยไพเช่นนี้มิใช่ว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นาย

ปิยบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช จะไม่ได้ยิน ตรงกันข้าม ได้ยินเต็มสองหู ได้เห็นเต็มสองตา

กระนั้น ทั้ง 3 ก็ยังยืนหยัด”ปักธง”ในทาง”ความคิด”ต่อไป

 

แท้จริงแล้ว ความพยายามในการ”ปักธง”ในทาง”ความคิด”ลงบนพื้นที่ของสังคมไทยมิได้เริ่มต้นจาก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิย บุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช

ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ท่าน”เทียนวรรณ”ก็เคยทำ ในแผ่นดินรัช กาลที่ 7 ท่าน”กุหลาบ สายประดิษฐ์”ก็เคยทำอย่างขันแข็ง

ก่อนเกิดสถานการณ์ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเดือนมิถุนายน 2475 ท่าน”ปรีดี พนมยงค์” ก็เคยทำผ่านเพื่อนนักเรียนนอกที่ฝรั่งเศส และที่โรงเรียนกฎหมายในสยาม

ยิ่งในห้วง 2500 ไม่ว่าท่าน บรรจง บรรเจอดศิลป์ ไม่ว่าท่าน”กุลิศ อินทศักดิ์” ไม่ว่าท่าน “จิตร ภูมิศักดิ์” ล้วนแต่เคยนำเสนอคึกคัก

ไม่ว่า”ไทย-กึงเมืองขึ้น” ไม่ว่า”ศิลปะเพื่อชีวิต”

 

ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นบทเรียน ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในสังคมประเทศไทย ปรากฏการณ์”ปักธง”ในทาง”ความคิด”มีความจำเป็น

ไม่ว่าก่อน 2475 ไม่ว่าก่อน 2516 หรือในปัจจุบัน

หากย้อนไปศึกษา”ประวัติศาสตร์”ก็จะเข้าใจต่อบทบาทที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช

เมื่อมีการปักธง”ความคิด”ก็ตามมาด้วยปฏิบัติการ”การเมือง”