E-DUANG : จุดต่างจาก ทะลุฟ้า ทะลุแก๊ซ จุดร่วม ที่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา

การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของ “คาร์ม็อบ” อาจมี นายสมบัติ บุญงาม อนงค์ เป็นสารตั้งต้น แต่พลันที่ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ประกาศเข้าร่วมก็เริ่มมากด้วยสีสัน

หลายคนอาจจะตื่นตากับการพัฒนาและต่อยอดไปยังโหมด “คาร์ปาร์ค”ในเบื้องต้น และ “คอลเอ๊าต์”ในวันที่ 29 สิงหาคม

แต่ปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งเพิ่มกรอบและขอบเขตให้อย่างชวนให้ตื่นตลึง คือการสร้างสรรค์”คาร์ม็อบ”ในส่วนภูมิภาค ก่อให้เกิดบรรยากาศที่เรียกได้ว่าในขอบเขตทั่วประเทศ

ไม่ว่าจะเป็น”คาร์ม็อบ”ที่เชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นที่ขอนแก่น ไม่ว่าจะเป็นที่อุบลราชธานี ไม่ว่าจะเป็นที่อุดรธานี ไม่ว่าจะเป็นที่สมุทร ปราการ ไม่ว่าจะเป็นที่ปัตตานีและภูเก็ต

ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลผลิตต่อเนื่องมาจาก”แฟล็ช  ม็อบ” ส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตมาจากพื้นที่เดิมของ”คนเสื้อแดง”

เท่ากับเป็นเงาสะท้อนลักษณะ 2 ประสานทางการเมือง

นั่นก็คือ เงาหนึ่งเป็นของแฟล็ชม็อบ เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ นั่นก็คือ เงาหนึ่งเป็นของคนเสื้อแดง เป็นนักเคลื่อนไหวรุ่นเก่า

 

การร่วมมืออย่างที่เห็นในวันที่ 1 สิงหาคมมีความเด่นชัด ขบวนหนึ่งนำโดย นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ขบวนหนึ่ง นำโดย นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ขบวนหนึ่ง นำโดย นายพริษฐ์ ชิวารักษ์

มาจากพระนครศรีอยุธยา มาจากแยกราชประสงค์ มาจากอนุ สาวรีย์ประชาธิปไตย

ความน่าสนใจอยู่ที่ปรากฏการณ์ตอนค่ำที่สามเหลี่ยมดินแดง

ปรากฏการณ์ที่สามเหลี่ยมดินแดงกลายเป็นสถานการณ์ใหม่และต่อเนื่องมายังวันที่ 26 สิงหาคมก็ยังมีให้เห็น ดำเนินไปอย่างเป็น อิสระ เป็นเอกเทศ

แม้จะมีเสียงปรามมาจาก นายสมบัติ บุญงามอนงค์  นายณัฐ  

วุฒิ ไสยเกื้อ แต่ก็ยังเดินหน้าปล่อยพลุส่องประกายสว่างจ้า

 

ปรากฏการณ์จาก”ทะลุแก๊ซ”จึงเป็นสิ่งใหม่ต่อเนื่องและก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ไม่ว่ากับนปช.เมื่อปี 2553 ไม่ว่ากับเยาวชนปลด แอกเมื่อปี 2563 มิได้ถือแยกราชประสงค์หรือสนามหลวงเป็นพื้นที่

ตรงกันข้าม เป็นความพยายามสถาปนาพื้นที่ของตัวเองขึ้นหน้ากรมทหารราบที่ 1 และสามเหลี่ยมดินแดง

โดยมีจุดร่วมอยู่ที่การไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่นกัน