E-DUANG : ปัจจัย “ทหาร” มองข้ามกรณี “แรงงานต่างด้าว”

หากมองพระราชกำหนดว่าด้วย “แรงงานต่างด้าว” เป็นเหมือนการ ยุทธ์ 1 ในแนวรบด้าน “การค้ามนุษย์”

ก็น่าสงสัย

น่าสงสัยในการตัดสินใจจากทั้ง 1 กระทรวงแรงงาน และ 1 ในที่ประชุมครม.

ทั้งๆที่อุดมไปด้วย “ทหาร”

นายกรัฐมนตรีก็เป็นทหาร รองนายกรัฐมนตรีก็เป็นทหารถึง 4 คน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็เป็นทหาร

ยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็เป็นถึง “พล.อ.”

ทำไมจึงมองแต่ด้านบวก ทำไมจึงมองแต่ด้านดี แล้วเหตุใดจึงไม่ประเมินด้านลบ หรือด้านที่อาจเป็นผลร้าย

บรรดา “เสธ.” ทั้งหลายมองข้ามได้อย่างไร

 

ไม่ว่าเสนาธิการในยุคของ ฟอน เคลาซวิตซ์ ไม่ว่าเสนาธิการในยุคของ พล.อ.เนตร เขมะโยธิน ล้วนเคยเตือน

เตือนให้คำนึงถึงด้านลบ ด้านร้าย

เห็นได้จากเมื่อเข้ามาสู่สนามการเมือง พล.ต.อ.ประมาณ อดิ เรกสาร พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ล้วนรัดกุมในเรื่องนี้

กรณี “พระราชกำหนด” จึงเป็น “กรณีตัวอย่าง”

เห็นอย่างเด่นชัดว่ารัฐมนตรีทหารจากกระทรวงแรงงานมองแต่ด้านบวก ด้านที่จะได้ประโยชน์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก “เทียร์”

เห็นอย่างเด่นชัดว่ารัฐมนตรีทหารที่คลาคล่ำอยู่ในที่ประชุมครม.มองแต่ด้านที่เป็นคุณ มองแต่ด้านที่ราบรื่น

จึงละเลย “ปัญหา” จึงละเลย “ผลสะเทือน”

 

ตรงกันข้าม เสียงเตือนจากภาคธุรกิจเอกชนนอกที่ประชุมครม.กลับหนักแน่นและจริงจังมากกว่า

ไม่ว่าจะมาจาก “หอการค้าไทย”

ไม่ว่าจะมาจาก “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ไม่ว่าจะมาจาก “สมาคมธนาคารไทย”

เหมือนกับจะพูดแทน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

เหมือนกับจะพูดแทน ดร.สุเมษ เมษิณทรีย์ เหมือนกับจะพูดแทน ดร.อุตตมะ เสาวนายน

นี่คือภาคที่ “ทหาร” มองข้าม มองไม่เห็น

นี่คือภาคที่ “ทหาร” อาจไม่สันทัด อาจดูเบาไปอย่างไม่เจตนา