ความเข้าใจผิดเรื่อง จักรวรรดิ (2) ยุทธศาสตร์ยูราเซีย (Eurasia) ของจีน/โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

ความเข้าใจผิดเรื่อง จักรวรรดิ (2)

ยุทธศาสตร์ยูราเซีย (Eurasia) ของจีน

 

ย้อนกลับไปในความเดิมที่แล้ว ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนั้น เพื่อตั้งข้อสังเกตว่า ผู้นำทางด้านนโยบายต่างประเทศในยุคสมัยปัจุบันของสหรัฐอเมริกา ก็เหมือนกับผู้นำอังกฤษในช่วงทศวรรษ 1950 คือช่างมืดบอดอย่างมากต่อประเด็น “ภูมิรัฐศาสตร์ของจักรวรรดิ” (Geopolitics to Empire)

และในการนี้พอเรามาดูจีนตอนนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีน เพื่อความเป็นมหาอำนาจโลกที่เหมือนเกาะโลก (World Island) ยูราเซีย (Eurasia) ผนวกแอฟริกา

หลังคำปราศรัยของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง (Xi Jinping) เมื่อปี 2013 ที่มหาวิทยาลัย Kagakhstan’s Nazarbayev University ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง อาศัยแบบแผนเดินของเขาคือ กระตุ้นให้ประชาชนในเอเชียกลางเข้าร่วมกับประเทศของเขา เพื่อผลักดันความผูกพันทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นขึ้น ผ่านการค้าและโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมต่อแปซิฟิกและทะเลบอลติก ที่อยู่อาศัยบนพื้นดินอันกว้างใหญ่นี้ ด้วยประชากรประมาณ 3,000 ล้านคน สามารถกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยศักยภาพที่ไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบได้

ในไม่ช้า กรอบการพัฒนานี้รัวกระหน่ำรวดเร็ว จนเป็นข้อริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative-BRI) ที่เป็นความพยายามอย่างมากเพื่อบูรณาการทางเศรษฐกิจต่อ “เกาะโลก” แอฟริกา เอเชีย ยุโรป ด้วยการลงทุนมากกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โครงการใหญ่กว่า 10 เท่าของโครงการ Marshal Plan ของสหรัฐเพื่อบูรณะยุโรปที่พังพินาศไปแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

จีนก่อตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank-AIIB ด้วยเงินทุน 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมี 103 ชาติเป็นสมาชิกของธนาคารที่ตั้งขึ้นใหม่นี้

การลงทุนเกือบทั้งหมดไม่ได้เป็นการลงทุนทางทหาร ช่วยผลักดันอย่างรวดเร็วในการตั้ง เหมือนขดลวดเชื่อมต่อสายไฟฟ้า (grid) ข้ามภูมิภาค (transcontinental) ของถนนและท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เชื่อมต่อจากเอเชียตะวันออกถึงยุโรป แปซิฟิกถึงแอตแลนติก ทั้งหมดเชื่อมโยงกับจีน

ซึ่งไปคู่ขนานกับ “แนว” ในยุคศตวรรษที่ 16 ของท่าเรือและค่ายของโปรตุเกตที่พยายามเป็นจักรวรรดิสมัยนั้น อีกทั้งจีนยังเข้ายึดช่องทางพิเศษ ผ่านการกู้เงิน (loans) และเช่า (leases) มากกว่า 40 ท่าเรือในทะเล ล้อมวงที่ขนานนามวันนี้ว่า “เกาะโลก” จากช่องแคบมะละกา ข้ามมหาสมุทรอินเดีย รอบแอฟริกาและตามแนวยุโรป ขยายถึงชายฝั่งจาก Piraeus กรีซ ถึง Zeebrugge เบลเยียม

ด้วยความมั่งคงของจีน จีนยังสร้างกองทัพเรือน้ำเงิน (Blue-Water Navy) ปี 2020 จีนมีเรือแล้วจำนวน 360 ลำ พร้อมด้วยจรวดสู่พื้นดิน เครื่องบินรบเจ๊ตและดาวเทียมระบบที่ 2 ของโลก กองกำลังที่เติบโต

หมายถึงเพื่อจีนทะลวงเจาะวงล้อมของสหรัฐในเอเชียเป็นรู เพื่อตัด “แนว” ที่ตั้งของกองทัพสหรัฐทั่วแปซิฟิก

จีนได้สร้างฐานทัพ 8 แห่งบนเกาะเล็กๆ ในทะเลจีนใต้ ยังท้าทายกองทัพเรือสหรัฐที่ครอบครองเหนือมหาสมุทรอินเดียมายาวนาน ด้วยเปิดฐานทัพต่างประเทศแห่งแรกของจีนที่ประเทศดิบูติ (Djibouti) ในแอฟริกาตะวันออก

และสร้างท่าเรือสมัยใหม่ที่ Gwadar ปากีสถาน และ Hambantota ศรีลังกาที่ปรับใช้เพื่อการทหารได้

 

ภูมิรัฐศาสตร์และยูราเซียอีกแล้ว

ตอนนี้จุดแข็งที่สืบทอดมาของภูมิรัฐศาสตร์ของจีน ควรอยู่ในการเฝ้าติดตามโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศสหรัฐ ศูนย์กลางมักอยู่ที่ยูราเซีย ซึ่งนักวิเคราะห์กลุ่มนี้ แนวคิดภายในของพวกเขาไม่มีเงามืด แนวคิดจักรวรรดิที่โอหังปกคลุม ไม่ต้องสนใจพลังอำนาจโลกที่ไม่หักงอเลย ศูนย์กลางอยู่ที่ยูราเซียเสมอ พวกนักวิเคราะห์วงในของสหรัฐ ซึ่งตอนนี้เข้าไปมีบทบาทหลักในรัฐบาลของโจ ไบเดน คาดการณ์ว่ายังมีการต่อสู้เพื่อแข่งขันกันต่อไป เหมือนอังกฤษในทศวรรษ 1950

การฉกฉวยเอาตรรกภูมิรัฐศาสตร์ของการรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูราเซีย อันเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรโลกกว่า 70% ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน ข้ามภูมิภาคเพื่อการค้า พลังงาน การเงินและการขนส่ง เท่ากับจีนทำให้วงล้อมทางอาวุธของสหรัฐจากเครื่องบินรบและเรือรบจำนวนมาก ไม่มีความสำคัญเลย

ที่ผ่านมา สหรัฐควบคุมยูราเซียและโลกมาแล้ว 70 ปี

ปัจจุบัน จีนกำลังควบคุมภาคพื้นทวีป ดังนั้น พลังอำนาจระดับโลกของจีนจะตามมา

แต่มันจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่โลกรับรู้มานานกว่า 400 ปีแล้ว ไม่ช้าหรือต่อมาสหรัฐจะต้องยอมรับอย่างไม่ต้องสงสัย ความเป็นจริงที่ภูมิรัฐศาสตร์แข็งทื่อไม่หักงอนั้น สนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายสุดท้ายในมหาอำนาจโลก ปรับนโยบายต่างประเทศและจัดลำดับงบประมาณสนับสนุนของตนตามนั้น

สภาพปัจจุบันของอาการของโรคคลองสุเอซ แบบที่จักรวรรดิอังกฤษประสบมา ไม่มีอะไรแต่เป็นปกติต้องยอมรับ การพัฒนาอย่างยาวนานของจักรวรรดิอยู่ภายใต้พลังงานฟอสซิลต่างๆ คือน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน

ดาวโลกตอนนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่อันตรายยิ่งนัก ที่ไม่ว่ามหาอำนาจใด ไม่มีสาระสำคัญแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นจักรวรรดิอย่างไร มีพลังอำนาจมากมายล้นฟ้าขนาดไหน หรือมีอำนาจและอิทธิพลมากแค่ไหน

ดังนั้น ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนจะต้องยอมรับว่า ตอนนี้ในโลกใหม่ของเราอยู่ในภาวะอันตรายอย่างชัดเจน ในอีกหลายทศวรรษที่กำลังจะมาถึง การไม่มีการประสานงานและความร่วมมือระหว่างประเทศ แก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลก (Climate Change) ความจริงต่างๆ ของจักรวรรดิแบบเก่าดูเหมือนจะแสดงตนให้เราได้พบเห็นอีก คือจักรวรรดิที่หลงเชื่อว่าตนมีพลังอำนาจมากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

การควบคุมพื้นที่ของโลกที่เรียกว่ายูราเซีย อาจมี จุดจบ เหมือนอาการของโรคคลองสุเอช คือจักรวรรดิยังคงต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิล

แต่จักรวรรดิกลับ ดับ ลงง่ายดายเสียเหลือเกิน เมื่อขาดพลังงานฟอสซิล

ไม่ใช่มาจากการต่อกรของจักรวรรดิใดๆ แต่มาจากการประสานงานและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงโลก ที่กำลังทำลายพลังงานฟอสซิลให้หมดไปอย่างรวดเร็ว พลังงานฟอสซิลที่เป็นแหล่งพลังงานแท้จริงอันขาดไม่ได้ของจักรวรรดิ

 

นับจากปี 1950 เป็นต้นมา ไม่ว่าจักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิอเมริกัน และจักรวรรดิจีน ทุกจักรวรรดิมีกรอบคิดและมุ่งไปที่ภูมิรัฐศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์หลัก แล้วเข้าครอบครองยูราเซีย ด้วยท่าเรือ ถนนและป้อมปราการ แล้ววางปืน รถถัง กำลังทหาร กองทัพเรือและกองทัพอากาศปกป้องอย่างถึงที่สุด ทุกจักรวรรดิคาดหวังเหมือนกันคือ จำนวนประชากรมหาศาล ตลาดใหญ่มาก การค้า การลงทุน การบริการ อันนำมาสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมืองและทหาร เพื่อเป็นจักรวรรดิผู้มีอำนาจล้นฟ้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นี่เองที่อาจารย์ฝรั่งท่านนี้มองว่าเป็นความเข้าใจผิด ภาพลวงตา หลงตัวเอง ด้วยเหตุว่า โลกยังต้องพึ่งพิงพลังงานฟอสซิล คือน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่หล่อเลี้ยงทุกๆ ประเทศ และทุกๆ ความเพ้อฝันของทุกๆ จักรวรรดิ หากไม่มีพลังงานฟอสซิลก็จบทันทีเหมือนจักรวรรดิอังกฤษล้มตายที่คลองสุเอซ

น่าสนใจมาก จักรวรรดิอเมริกันและจักรวรรดิจีนก็เพ้อฝันแบบเดียวกันเป๊ะ แล้วจุดจบก็จะเหมือนกันเมื่อพลังงานฟอสซิลหมดหรือชะงักทันที เพราะโลกเข้าสู่ปัญหาสภาพแวดล้อม ซึ่งทำลายพลังงานฟอสซิลโดยตรงและถาวร

จุดจบของจักรวรรดิเหมือนกันเลย