E-DUANG : ลักษณะ”จัดตั้ง”ของ”ประชาคมสาธารณสุข”

 

ไม่ว่าในที่สุด การออกมาต่อต้านร่างพรบ. “บัตรทอง” โดย “ประชาคมสาธารณสุข” จะลงเอยอย่างไร

ชัยชนะ หรือ พ่ายแพ้

แต่ “ปฏิกิริยา” อันปรากฏผ่านเวทีประชาพิจารณ์ ไม่ว่าภาคใต้ ไม่ว่าภาคเหนือ ไม่ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่สุดในกทม.

คือ พลานุภาพอันเด่นชัด

เวทีกทม.อันอาจถือว่าเป็นเวทีสุดท้ายตัวแทนองค์กรต่างๆแห่ง “ประชาคมสาธารณสุข” ก็สามารถต่อรองให้พวกเขาสามารถ กำหนดองค์ประกอบของ”เวที”ได้ในระดับหนึ่ง

โดยเฉพาะการกดดันต่อทหาร ต่อตำรวจ

 

ถามว่าปัจจัยอะไรทำให้ “ประชาคมสาธารณสุข” สามารถต่อรองกับคสช.และรัฐบาลได้

คำตอบ คือ “มวลชน”

คำว่า “มวลชน” นี้แหละที่ก่อภาวะสะดุ้งสะเทือนให้กับอีกฝ่ายจนถึงกับต้องนั่งโต๊ะเจรจา

ถามต่อไปว่า “มวลชน” มาจากไหน

คำตอบในเชิงคำขวัญก็มาจากหลักการบนพื้นฐานแห่ง “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อย่างที่โฆษณาซ้ำแล้วซ้ำอีก

ความหมายก็คือ การจัด “องค์กร”อย่างเป็นระบบ

เรียกตามสำนวนอันเป็น “ของแสลง” สำหรับนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ก็คือ ลักษณะ “จัดตั้ง”

ประชาคมสาธารณสุข” ดำเนินไปอย่างมี “การจัดตั้ง”

 

ไม่ว่ากระบวนการจัดตั้งจะมีรากฐานมาอย่างไรและอาศัยเงินงบประมาณจากที่ใด

แต่ด้วยการจัดตั้งทำให้มี “มวลชน”

เมื่อมี “มวลชน” ก็สามารถเคลื่อนไหวอย่างมีลักษณะ “กัมมันตะ” ผ่านกระบวนการทางการเมือง “ภาคประชาชน”

เข้าไปมีส่วนร่วมกับ “การเมืองใหม่”

บรรดาผู้อำนวยการ บรรดาเลขาธิการ บรรดาผู้ประสานงานในแต่ละองค์กรของ “ประชาคมสาธารณสุข” จึงมิใช่ไอ้เสือประเภท มือเปล่า

ล้วนมี “มวลชน” และมวลชนนั่นแหละทำให้มี “พลัง