E-DUANG : เหล้าเก่า ใน ขวดเก่า ของ “ประชาธิปัตย์”

 

เห็นอาการดีใจของหนุ่มสาวเยาวเรศรุ่นภายใน”ประชาธิปัตย์”ต่อ การหวนคืนพรรคของ 8 แกนนำ”กปปส.”แล้ว

เข้าใจ

ไม่ว่าจะมาจาก นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ไม่ว่าจะมาจาก นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์

หรือแม้กระทั่ง นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข

นักการเมืองเหล่านี้อาจอยู่ในยุคก่อนและหลังรัฐประหารเมื่อ เดือนกันยายน 2549

อาจเห็นความคึกคักในการ “ชัตดาวน์”

จึงมองเห็นแต่ภาพอันงามตาของ “มวลมหาประชาชน” อย่างตื่นตาตื่นใจ

เห็นแต่ด้านที่ “รุ่งโรจน์” เห็นแต่ด้านที่ “สดใส”

 

เพราะมองเห็นแต่ด้านอันงามตา เพราะมองเห็นแต่ด้านอันโชติช่วงชัชวาล

จึงมองข้ามพังเพย “เหล้าเก่าในขวดใหม่”

เห็นว่า การจับมือระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นายสุ เทพ เทือกสุบรรณ เพื่อเดินหน้าในทางการเมืองคือของใหม่หรือที่เรียกหรูหราว่า

“นวัตกรรม” หรือ “อินโนเวชั่น”

จึงประเมินว่า นวัตกรรมทางการเมืองเช่นนี้แหละคือทิศทางทำให้พรรคประชาธิปัตย์ประสบความสำเร็จ

เอาชนะ “พรรคเพื่อไทย” ได้อย่างแน่นอน

 

แท้จริงแล้ว กลยุทธ์แบบที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้น

เป็นกลยุทธ์เก่า มิได้เป็น”นวัตกรรม”อะไรเลย

นายพิชัย รัตตกุล จะมองออก แทงทะลุว่า ยุคที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคก็เคยใช้มาแล้ว

ภาคกลางชู “หัวหน้าพรรค” เป็น “นายกรัฐมนตรี”

แต่ภาคอื่นพื้นที่อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้ชู พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็น “นายกรัฐมนตรี”

ผลก็คือ ได้ร่วมรัฐบาล “ตลอด”

ผลก็คือ เกิดความขัดแย้ง เกิดความแตกแยก กระทั่งมีการแยกตัวออกไปเป็น “พรรคประชาชน”

นั่นเป็นยุค “ป๋า” ยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์