โฉมหน้าใหม่ของการเมืองฝรั่งเศส

A woman looks at election campaign posters for French presidential election candidate for the far-right Front National (FN - National Front) party Marine Le Pen (R) and candidate for the En Marche ! movement Emmanuel Macron (L) on April 29, 2017 in Meteren, northern France. / AFP PHOTO / PHILIPPE HUGUEN

การเมืองฝรั่งเศสเข้าสู่ช่วงเวลาที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน หลังการ “สั่นสะเทือนครั้งใหญ่” ที่ส่งผลให้ไม่มีผู้สมัครทั้งจากพรรคแนวคิดฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาตามแบบแผนหลุดเข้ามาถึงรอบสุดท้ายของการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

โดยในวันที่ 7 พฤษภาคม ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง เอ็มมานูเอล มาคง นักการเมืองหน้าใหม่แนวคิดสายกลางผู้ไม่เคยดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งมาก่อน

และ มารีน เลอเปน นักประชานิยมแนวคิดขวาจัด ผู้ต่อต้านระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเดิม

ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดแสดงให้เห็นว่า มาคง วัย 39 ปี จะเอาชนะเลอเปน วัย 48 ปี อย่างสบายๆ ด้วยคะแนนเสียงที่ค่อนข้างห่าง

แต่เขาจะสามารถบริหารประเทศได้จริงหรือไม่ เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

มาคงแทบจะไม่เป็นที่รู้จักก่อนหน้าที่พี่เลี้ยงทางการเมืองของเขา ประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ โอลลองด์ แห่งพรรคสังคมนิยมจะแต่งตั้งให้เขาให้เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ ก่อนขยับมาเป็นรัฐมนตรีเศรษฐการในปี 2014

แต่ในช่วงเวลาที่โอลลองด์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเข้าสู่ปีที่ 5 ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวายจนกลายเป็นผู้นำฝรั่งเศสที่ไม่เป็นที่นิยมมากที่สุดในยุคสมัยใหม่จากผลงานทางเศรษฐกิจที่หดหู่สิ้นหวัง ทำให้มาคงออกมาต่อสู้ด้วยตนเอง

มาคงประกาศจุดยืนทางการเมืองโดยระบุว่าตนเอง “ไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย” เขาหาเสียงเลือกตั้งโดยอยู่บนแนวคิดสนับสนุนการรวมตัวเป็นสหภาพยุโรป (อียู) และสนับสนุนการทำธุรกิจ

แต่ความน่าเชื่อถือของเขา อาทิ ประวัติการทำงานที่น้อยนิดและการมีส่วนร่วมในนโยบายที่ล้มเหลวของโอลลองด์ ทำให้มาคงอาจจะได้รับชัยชนะจากข้อเท็จจริงเพียงหนึ่งเดียวที่เขาเองก็ไม่ได้ตระหนักว่า เขาไม่ใช่เลอเปน

เฟรเดริก ซาวิกกี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ตั้งข้อสังเกตว่า “ความไม่กระตือรือร้น” ในหมู่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งส่วนหนึ่งที่ลงคะแนนให้มาคงมีสาเหตุมาจากคนกลุ่มนี้จำนวนมากลงคะแนนเพื่อสกัดกั้นเลอเปน แต่ไม่ได้มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกับมาคง

French presidential election candidate for the En Marche ! movement Emmanuel Macron (R), flanked by Alain Claeys (2R) mayor of Poitiers, shakes hands with a seller on April 29, 2017 on a market in Poitiers, central France, while campaigning ahead of the second and final round of the presidential elections which takes place on May 7. / AFP PHOTO / POOL / Eric FEFERBERG

2 สัปดาห์ที่เหลือก่อนหน้าการเลือกตั้งจะเป็นบททดสอบความสามารถที่ดีของมาคงในการนำเสนอตนเองมากกว่าการเป็นแค่ผู้มีแนวคิดโลกาภิวัตน์นิยม แต่เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีรุ่นใหม่ที่นำมาซึ่งความหวังที่สดใส

โดยทั่วไปแล้ว ประธานาธิบดีที่เพิ่งจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่สามารถไว้ใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ว่าจะสนับสนุนพรรคของตนให้ได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา

แต่สำหรับทั้งมาคงและเลอเปน เรียกได้ว่าแทบจะต้องเริ่มต้นจากการไม่มีอะไรเลย หลังการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา ที่หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน เลส์ เซโกส์ ระบุว่าเป็น “บิ๊กแบง” หรือการกำเนิดจักรวาลใหม่

“อองมาร์ช” พรรคที่มาจากขบวนการเคลื่อนไหวของมาคงที่เพิ่งจะก่อตั้งขึ้นใหม่ ไม่มีที่นั่งในรัฐสภาชุดที่กำลังจะหมดวาระแม้แต่ที่นั่งเดียว

ขณะที่พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (เอฟเอ็น) ของเลอเปน มีสมาชิกแค่ 2 คนจากจำนวน 577 ที่นั่งในรัฐสภา

อองมาร์ชระบุว่า จะส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาในทุกเขตเลือกตั้ง โดยครึ่งหนึ่งจะมาจากภาคประชาสังคมที่ตอนนี้ทางพรรคระบุว่าได้รับใบสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคแล้วมากกว่า 15,000 ฉบับ

โลรองซ์ ไอม์ โฆษกของมาคงเปิดเผยว่า มาคงต้องการเสียงข้างมากที่แข็งแกร่งเพื่อที่เขาจะได้ปฏิรูปประเทศโดยเร็ว แต่นอกจากสายเลือดใหม่แล้ว เขายังต้องการเสียงจากสมาชิกรัฐสภาชุดที่กำลังจะพ้นจากตำแหน่งทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาในการสนับสนุนเขา

จนถึงตอนนี้มีสมาชิกพรรคสังคมนิยมราว 30 จาก 295 รายในรัฐสภาที่ประกาศสนับสนุนมาคง ขณะที่สมาชิกพรรคอื่นๆ ยังคงลังเล

Former French presidential election candidate for the right-wing Debout la France (DLF) party Nicolas Dupont-Aignan (L) and French presidential election candidate for the far-right Front National (FN) party Marine Le Pen, shake hands at the end of a joint statement at FN headquarters in Paris, on April 29, 2017.Dupont-Aignan, who arrived on the sixth position with 4.7% of the votes during the first round of the presidential election, announced on April 28, 2017 that “he endorses” Marine Le Pen for the second round of the election. The candidate of the FN declared that she will appoint Dupont-Aignan as Prime minister if she will be elected. / AFP PHOTO / GEOFFROY VAN DER HASSELT

ขณะเดียวกัน พรรคอนุรักษนิยมฝ่ายขวาจะฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วหลังความพ่ายแพ้แบบราบคาบของ ฟรองซัวส์ ฟียง ตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งติดหล่มจากกรณีอื้อฉาวเรื่อง “จ้างงานปลอม” โดยนักวิเคราะห์การเมืองหลายคนระบุว่าผู้ที่พ่ายแพ้ไม่ใช่พรรค แต่เป็นตัวของฟียง

ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง มาคงถูกกล่าวหาจากฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นร่างทรงคนใกล้ชิดของโอลลองด์ โดยเรียกเขาว่า “เอ็มมานูเอล โอลลองด์” ซึ่งการถูกตีตราดังกล่าวอาจกลายเป็นความจริงขึ้นมา

นักวิเคราะห์ระบุว่า มาคงจะต้องละทิ้งจุดยืนสายกลางและหันมาอ้าแขนรับความเป็นกลางซ้ายหากต้องการชัยชนะได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา ขณะที่เลอเปนซึ่งมีโอกาสน้อยกว่ามากที่จะได้เป็นประธานาธิบดีอาจคาดหวังได้ว่าคะแนนเสียงของเธอจะแปรเปลี่ยนเป็นราว 20-50 ที่นั่งในรัฐสภา

ปาทริซ ชาบาเนต์ คอลัมนิสต์นักวิจารณ์การเมืองชื่อดังของฝรั่งเศสระบุไว้ในหนังสือพิมพ์ ฌูร์นัล เดอ ลา โอต-มาร์น ว่า ความโกรธเกรี้ยวของชาวฝรั่งเศสต่อระบบเดิมที่เป็นอยู่เป็นปัจจัยสำคัญในการมาถึงจุดนี้ของทั้งมาคงและเลอเปน

การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาหลังจากนี้ถึงจะเป็นการแสดงให้เห็นภูมิทัศน์ทางการเมืองที่แท้จริงของฝรั่งเศส