สมุนไพรมหิดล : เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา Cheilocostus speciosus (J. K?nig) C. D. Specht COSTACEAE

ไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้า สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งที่บริเวณปลายยอด

ใบเดี่ยว เรียงเวียน โค้ง ครึ่งล่างปกคลุมด้วยกาบคล้ายใบ สีเขียวมีรอยประสีม่วงแกมแดง มีขนคล้ายไหม ขอบใบมีขนยาวกว่า รูปใบหอกกลับปลายเรียวแหลม โคนใบกลม ผิวใบด้านบนเกลี้ยงถึงมีขนแบนชิด ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม เกลี้ยงถึงมีขนคล้ายไหมหนาแน่น ก้านใบยาว มีขนแบนชิด

ดอก ช่อเป็นแบบรูปโคน ออกที่ปลายยอด บนก้านช่อดดอกโค้ง มีใบประดับ ดอกย่อย ดอกเดียว รูปไข่ ปลายแหลม สีเขียวมักมีประสีแดง ปลายกลีบด้านล่างเกลี้ยงถึงมีขน มีใบประดับย่อย ปลายแหลมมีขอบเป็นขนครุย วงกลีบเลี้ยงสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดง หลอดวงกลีบดอกสั้นกว่าวงกลีบเลี้ยง พูขนาด 3-5 เซนติเมตร สีขาวหรือแกมชมพู มีกลีบปากสีขาวมีแถบกลางสีแกมเหลืองและขนสีเหลือง

เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูเมื่อแบนกว้าง 10-12 มิลลิเมตร ปลายสีเหลือง มีขนสั้นนุ่ม รังไข่แบน กว้างประมาณ 9 มิลลิเมตร

ผล แห้งแตก สีแดง

ประโยชน์ : ยาพื้นบ้านใช้ เหง้า ตำพอกบริเวณสะดือ รักษาโรคท้องมาน ในเหง้าพบสาร diosgenin ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์

1 เอื้องหมายนา3 1 เอื้องหมายนา2