รายงานพิเศษ/ความพร้อมทั่วโลกจะเข้ายุค 5 G ไทยคลื่นเยอะสัญญาณต่ำ เมื่อ 4 G ยังตามหลังเพื่อน 5-15 เมกะบิต

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ
https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

ความพร้อมทั่วโลกจะเข้ายุค 5 G

ไทยคลื่นเยอะสัญญาณต่ำ

เมื่อ 4 G ยังตามหลังเพื่อน 5-15 เมกะบิต

4G เป็น 5 G ไม่นานอย่างที่คิด เกิดความตื่นตัวสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยและพัฒนา เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมดิจิตอล เร่งให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่จะมาพร้อมกับ 5 G ที่น่าจะใช้กันมากขึ้นในปี 2563 จากการนำร่องการใช้ อย่างเช่น เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และจีน ตั้งแต่ช่วงปี 2561 จากการเปิดตัวที่เกาหลีใต้ หลังจากจัดสรรคลื่นความถี่ใช้ระบบ 5 G แล้วและมีการลงทุนของโอเปอเรเตอร์ 3 รายของเกาหลีใต้ เพียงเปิดใช้เครือข่าย 140 วัน พบว่ามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการกว่า 2 ล้านคน และมีอีกหลายประเทศที่เริ่มใช้

ทางด้าน เอสเค เทเลคอม หนึ่งในผู้ให้บริการด้านระบบโทรคมนาคมรายใหญ่ของเกาหลีใต้ที่มีลูกค้าประมาณ 28 ล้านราย ภายในเวลา 3 เดือนเศษ มีลูกค้าเพิ่มเป็น 1 ล้านราย เพราะลูกค้ามาใช้บริการ 5 G ในประเทศและยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้ความหน่วง (อัตราการเปลี่ยนความเร็วต่อ 1 หน่วยเวลา) ที่ดีมากขึ้นเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วขึ้นในชีวิตประจำวันและยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้มากมาย

อย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้แพทย์จีนหยิบ 5 G มาใช้ ‘ถ่ายทอดผ่าตัดเรียลไทม์’ ขอคำปรึกษาได้ไม่มีดีเลย์
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน ได้นำเทคโนโลยี 5 G มาใช้ในกระบวนการผ่าตัดที่ซับซ้อน

โดยใช้วิดีโอต้นฉบับ (footage) ความคมชัดสูง ถ่ายทอดแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่าย 5 G ในช่วงเวลานั้น ณ ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลมณฑลเจียงซู สาขาผูโข่ว เขตจิงเป่ย จูเฉวียน รองหัวหน้าแผนกศัลยกรรมทรวงอก ให้คำแนะนำกับทีมแพทย์ผ่าตัดของเฉินแบบเรียลไทม์ ทีมศัลยแพทย์ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการผ่าตัดผู้ป่วยอายุ 67 ปี ซึ่งเป็นโรคมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น โดยผ่าปอดออกบางส่วนได้สำเร็จ

ขอบคุณภาพจาก China Xinhua News

ในส่วนประเทศเพื่อนบ้าน ความก้าวหน้าเรื่อง 5 G ได้กำหนดแผนในการใช้ความถี่ วิสัยทัศน์เกี่ยวกับ 5 G กลุ่มอาเซียนอย่างสิงคโปร์ได้มีการจัดการคลื่นความถี่ย่าน 3.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เจตนาของผู้จัดสรรคลื่นความถี่ของสิงคโปร์ ต้องการเห็น 5 G เกิดขึ้นในประเทศให้เร็วที่สุด โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องเงินเป็นที่ตั้งในการประมูลคลื่นความถี่ไม่จำเป็นต้องราคาสูงมาก แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดสรรคลื่นและโครงข่ายให้ได้มากกว่าครึ่งของประชากรภายใน 1-2 ปี

ดังนั้น การจัดการคลื่นความถี่ที่สิงคโปร์ไม่ได้มีการคิดค่าใช้จ่ายในส่วนที่มีคลื่นความถี่สูง ผู้ประกอบการจะได้ประมาณ 95-100 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยมีใบอนุญาต (ไลเซนส์) ให้ใช้คลื่นความถี่ประมาณ 12 ปี มูลค่า 70-140 ล้านเหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ มูลค่าของ 5G ไม่ได้ถูกผูกติดกับ 4G

เมื่อเทียบกับไทยแล้ว คลื่นความถี่เพียง 10-20 เมกะเฮิร์ตซ์มีมูลค่าหลายสิบล้านบาทแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ กว่าที่จะประมูลคลื่นความถี่ชนะ อาจไม่มีเงินในการลงทุนโครงข่าย ต่างจากสถานการณ์โครงข่าย 4G ในประเทศ ทั้ง 3 โอเปอเรเตอร์ทำได้ดีในกรณีที่มีการกระจายสัญญาณ 4G ไปทั่วประเทศมากกว่า 90%

แม้ข้อดี 5 G มีมากมาย แต่ยังมีข้อเสียที่ไทยต้องเผชิญอยู่คือ ค่าเฉลี่ยความเร็วของ 4 G ไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับพม่าและเวียดนาม ไทยยังตามหลัง 5-15 เมกะบิต

โดยภาพรวมทุกประเทศอาจมองว่าไทยมีคลื่นสัญญาณเยอะ แต่คุณภาพที่ได้ยังเร็วไม่พอ ขณะที่ความเร็วที่บริเวณย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา มีความเร็วค่อนข้างสูง แต่การครอบคลุมอาจจะไม่ดี

ถ้าไทยยังไม่มีการจัดการกับข้อเสียของประเทศ อาจส่งผลให้โอเปอเรเตอร์บางราย หันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าจังหวัดที่ติดกับประเทศนั้นๆ ก็เป็นได้

ฉะนั้น ถ้าไทยมีการจัดสรรความเร็วหรือความหน่วงของสัญญาณได้น้อย จะส่งผลให้การสร้างธุรกิจเกิดข้อจำกัดทันที ถ้ายังไม่มีการปรับปรุงโครงข่ายให้มีความเร็วต่อเนื่องอาจจะส่งผลต่อการจัดสรรคลื่น 5 G ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องควบคุมไม่ให้เกิดขึ้น

เพราะถ้าจะนำโครงข่าย 5 G เข้ามาใช้ต้องมั่นใจว่าคุณภาพของโครงข่ายต้องดีกว่า 4 G ในปี 2563 จะมีการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่จะมาพร้อมกับโครงข่าย 5 G ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องมีการนำประโยชน์จาก 5 G ไปปรับให้เป็นดิจิตอลอินฟราสตรักเจอร์สำหรับธุรกิจแต่ละประเภท

เช่น การใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับควบคุมหุ่นยนต์ไร้สาย ควรมีระบบความหน่วงที่สูง เพื่อลดข้อผิดพลาดในการทำอุตสาหกรรม ที่จะต้องพึ่งพาโครงข่าย 5 G

ในด้านความพร้อมการอัพเดตเน็ตเวิร์กและโอเปอเรเตอร์ ในการจัดสรรคลื่นความถี่ 5 G ของไทยอาจเกิดปัญหาต้องแบกรับค่าใช้จ่ายหลายหมื่นล้านบาทต่อปี อาจเกิดความกังวลว่าเมื่อ 5 G มาถึงไทย จะไม่มีผู้ประกอบการเข้าร่วมลงทุน เพราะไม่มีงบประมาณในการลงทุนโครงการใหม่

รวมถึงผู้ประกอบการเริ่มไม่มีความเชื่อมั่นว่าไทยมีความถี่ 5 G ออกมาแล้ว จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ในมุมของผู้พัฒนามองว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอุปสรรค

เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ 5 G ควรวางโครงสร้างที่เหมาะสมด้วยการเสริมความรู้เข้าไปในหลักสูตรของนักเรียน นักศึกษา พัฒนาสิ่งประดิษฐ์หรือออกแบบนวัตกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อต่อยอดช่วยเพิ่มมูลค่าช่วยเสริมความหลากหลายของธุรกิจให้กับสินค้าสร้างรายได้มากขึ้น

สำหรับบทบาทของภาครัฐในการพัฒนาโครงข่าย 5 G จะเข้ามาช่วยเติมเต็มภาคธุรกิจและบริการให้มีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ประเทศไทยต้องเริ่มพัฒนาระบบ 5 G เพื่อไม่ให้ตกขบวนตั้งแต่ตอนนี้ และไม่เสียโอกาสเทียบกับทั่วโลก

ฉะนั้น ไทยควรเริ่มประมูลคลื่นความถี่ภายในปี 2563 เพื่อให้เริ่มต้นได้ใช้งานสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี

https://www.matichon.co.th/economy/eco-report/news_1682656