รายงานพิเศษ | ฝ่ายรัฐ-ค้านจับมือแน่นแก้ไฟใต้ร่วมกันหลังวิกฤติศรัทธาอับดุลเลาะห์

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุก

ต้องยอมรับว่าหลังการเสียชีวิตของอับดุลเลาะห์ อีซอมูซอ (ดูรายละเอียดบทความผู้เขียนก่อนหน้านี้ในhttps://www.matichonweekly.com/column/article_223054) ถนนทุกสายพุ่งเป้าว่า “วิกฤติชายแดนใต้น่าจะประทุเร็วและแรงมากขึ้นอย่างแน่นอนหากไม่เปิดช่องทางการสื่อสารทางการเมือง แต่ในยุคส.ส.มาจากการเลือกตั้ง ข้อดีของมันคือ (ตลอด 5 ปีก่อนหน้านี้ไม่มี) เรา จะเห็นภาพนักการเมืองในพื้นที่ทุกพรรคลงไปเยี่ยมครอบครัวอับดุลเลาะห์ อีซอมูซอ หรือแม้กระทั่งคุณช่อพรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ (จนถูก IO ฝั่งตรงข้ามเล่นแรงว่าชาวบ้านน้ำท่วมไม่ช่วยแต่กลับไปช่วยญาติโจร)

ดังนั้นกลไกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติไฟใต้คือ นักการเมืองไม่ว่า ฝ่ายค้าน และรัฐบาลต้องจับมือแก้ปัญหาไปด้วยกัน ซึ่งเป็นที่หน้ายินดีว่า 31 สิงหาคม 2562 ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ทุกพรรคการเมืองร่วมลงสัตยาบรรณ การแก้ปัญหาชายแดนใต้เพื่อสันติภาพไปด้วยกันโดยไม่แบ่งพรรค ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลใน นโยบาย 8 ประเด็น ดังนี้

#ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. #กระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุข
3. #การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การสื่อสารกับสังคม
5. #การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม 6. #การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่
7. #รูปแบบการปกครองและการพัฒนา 8. #กระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน

(อ่านรายละเอียดนโยบาย 8 ประเด็นดังกล่าวใน https://drive.google.com/file/d/1WGJAJyuabVNse0rLcl_iiewcTMQHVUaN/view?fbclid=IwAR2laSO4aB_4_CR2_q6IDe-FTkKrecvneCb4byPtiQKCjpAYGLV0qn8Vy5Y)

โดยมีข้อสรุปว่าจะร่วมมือกัน ในการทำนโยบายสันติภาพ ตลอดจนการประสานงานและการติดตามผลการขับเคลื่อนนโยบาย
เพื่อให้มีกลไกการดำเนินงานด้านนโยบายสันติภาพ รวมถึงประเด็นนโยบาย 8 ประเด็นดังกล่าว นักการเมืองและตัวแทนภาคประชาสังคมจึงมีข้อตกลงที่จะประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก 2 เดือน โดยจะรายงานผลการประชุมและผลการขับเคลื่อนนโยบายให้สาธารณชนทราบเป็นระยะ ๆต่อไป..

อาจารย์ฆอซาลี ฮาแว รองเลขาธิการสภาประชาสังคมชายแดนใต้เปิดเผยว่า “เวทีวันนี้เกิดขึ้นได้ ผ่านสองเวที วันที่ 12 มีนาคม 2562 และวันที่ 17 เมษายน 2562 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานีโดย วันที่ 12 มีนาคม 2562 ตัวแทนภาคประชาสังคมได้ยื่นประเด็นข้อเสนอต่อผู้สมัคร ส.ส. ที่โรงแรมปาร์ค วิว ปัตตานี ภายใต้โครงการองค์กรภาคประชาสังคมกับกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ปีงบประมาณ 2562  โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็น “องค์กรภาคประชาสังคมชายแดนใต้กับกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ซึ่งมุ่งเป้า สองประการด้วยกันคือ หนึ่งรวบรวม/ทบทวน ข้อเสนอจากองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้(จำนวน 27 องค์กรที่มาวันนี้) ว่ามีจุดร่วม และพิจารณาข้อเสนอที่สอดคล้องกับพลวัตทางสังคม และสองเพื่อสร้างกลไกและการติดตามข้อเสนอเชิงนโยบาย ให้ข้อเสนอบรรลุผล ซึ่งนับว่าเป็นมิติใหม่ที่จะเป็น ระบบปฏิบัติการ (Platform)/ การทำงานขับเคลื่อนประเด็นพร้อมๆ กับ ส.ส.และพรรคการเมือง

กระบวนการเดินในขบวนนี้อาจจะมีอุปสรรคบ้างแต่เราพยายามที่จะเห็นผลและกระบวนการที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้นในวันนี้คือสิ่งที่เราอยากจะเห็น และมันออกมาที่เกินคาด ทั้งนี้ ก็จะต้องมีกระบวนการต่อจากนี้เพื่อแตกรายละเอียด platform ของกลไกนี้ ขอบคุณสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ ขอบคุณทีมงานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ขอบคุณองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกองค์กรที่ส่งข้อเสนอ เข้าร่วมงานและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เราหวังว่ากระบวนนี้จะสามารถทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่เรามุ่งมาดปรารถนาและหลักชัยนี้ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนที่จะออกแบบกันต่อไป ขอมอบกำลังใจการทำงานให้กับตัวเองและพี่น้องทุกท่านนะครับ”

ครับจากการที่อาจารย์ฆอซาลี ฮาแวได้อธิบายจะพบว่าการเมืองภาคประชาสังคมชายแดนใต้ก้าวหน้าอีกขั้น

หากดู อดีต ในการเมืองส่วนกลางพบว่า “เราจึงเห็นบทบาทของขบวนประชาสังคมในหลายลักษณะที่ผลักดันให้เกิดการเมืองภาคประชาสังคมเพราะการเมืองแบบตัวแทนไม่เพียงพอ หลังจากเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เราเห็นขบวนการเคลื่อนไหวธงเขียวที่มาจากภาคประชาสังคม ที่กดดันให้การเมืองภาคตัวแทนสมัยนั้นสู่การเมืองในด้านประชาธิปไตยทางตรงมากขึ้นที่สามารถกดดันให้การเมืองแบบตัวแทนต้องทำตามกระแส จนในที่สุดได้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่น่าจะเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ถึงแม้ทั้งนัจมุดดีน อุมา หมอพรทิพย์ (หมอยะห์)อดีตส.ส. นราธิวาสจะมองว่าการที่ส.ส.จะเสนอกฎหมาย นำนโยบายชาวบ้านไปปฏิบัติแสนอยากในอดีต แต่สำหรับผู้เขียน มองว่า ปรากฏการณ์ โลกโซเซียล ที่ทำให้พรรค อนาคตใหม่ ชนะ จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ข้อเสนอรวมของภาคประชาสังคมถูกตอบรับเร็วขึ้นไม่ว่าส.ส.ในพื้นที่จะอยู่คนละขั้วในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ที่มีปัญหาหมักหมมมานานกว่า 15 ปี แต่ถ้าออกแบบกลไกและการติดตามนี้ดีๆก็ไม่แน่ ดังนั้นความท้าทายหลังจากเวทีวันนี้คือการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมของกลไกภาคประชาสังคมที่จะเป็นโซ่ข้อกลางระหว่างนโยบายที่ได้หาเสียง และนโยบายภาคประชาสังคมรวมทั้งความต้องการของคนพื้นที่จริงๆรวมทั้งการเดินทางเป็นพันธมิตรกับการเมืองภาคพลเมืองในส่วนกลางและภูมิภาคอื่นๆเช่นขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move (โปรดดู https://www.facebook.com/Pmove2011/

ครับหวังว่า “ช่องทางทางการเมืองผ่านส.ส.ทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาลจะเป็นการเปิดพื้นที่กลางทางการเมืองให้วิกฤติชายแดนที่ประทุมากกว่า 15 ปี และทำถ้าจะรุนแรงขึ้นหากมีปัจจัยอื่นที่คยเติมเชื้อไฟ แต่หากส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐจับมือเน้นในปัญหานี้ก็จะช่วยลดอุณภูมิความรุนแรง อีกทั้งยังได้ประชาสังคมที่คอยเป็นมิดฟิลด์ กองกลาง จ่ายบอล พักบอล ย้อนบอล ยาวสั้น สลับกัน ผ่อนหนัก ผ่อนเบา หรือจะเรียกว่าเป็นโซ่ข้อกลางให้ส.ส.ทำงานง่ายขึ้นก็จะเป็นเรื่องที่ดียิ่ง”