ดินแดนเหนือจรดทะเลใต้ การรวมตัวเฉพาะกิจของ ‘บิ๊กเนม’ แห่งวงการศิลปะเอเชีย

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

ว่าจะหยุดเขียนรีวิวนิทรรศการศิลปะไปสักพักใหญ่ แต่คราวนี้ก็มีอันต้องให้เขียนต่ออีกครั้ง เพราะเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปชมนิทรรศการศิลปะที่โคตรแหล่มอันหนึ่งมาจนอดรนทนไม่ได้ต้องมาเล่าสู่กันฟัง นิทรรศการนั้นมีชื่อว่า

Northern Land, Southern Seas

ซึ่งเป็นการรวมเอาผลงานของศิลปินระดับเฮฟวี่เวตของไทย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีบทบาทอันโดดเด่นในวงการศิลปะร่วมสมัยโลกมาถึง 14 คน ซึ่งแต่ละคนเอ่ยชื่อมา คนรักงานศิลปะร่วมสมัยอย่างเราๆ ท่านๆ ก็คงตาลุกวาวกันถ้วนหน้า

ในบรรดานั้นก็มี อ้าย เหว่ย เหว่ย (Ai Weiwei), ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ, กรกฤต อรุณานนท์ชัย, โสเพียพ พิช (Sopheap Pich), อันตัง วีหาร์โส (Entang Wiharso), อิเนียวมัน มาศรีฮาดิ (I Nyoman Masriadi), เจอรัลดีน ฮาเวียร์ (Geraldine Javier), หวง ยู่ ผิง (Huang Yongping), เซี่ย ซิง (Xia Xing), ชี่ หนาน ซิง (Xie Nanxing), เฉิง เฟิ่น ชี่ (Zeng Fanzhi) และ จ้าว จ้าว

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%b8-untitled-2014-curry-for-the-soul-of-the-forgotten-%e0%b8%a4%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b8%a4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%a3

นอกจากผลงานอย่าง Hanging Man ซึ่งเป็นผลงานชุดแรกๆ ที่สร้างชื่อให้ศิลปินจีนจอมแสบแห่งวงการศิลปะ อ้าย เหว่ย เหว่ย หรือหม้อต้มแกงอันลือลั่น Untitled 2014 (curry for the soul of the forgotten) ของฤกษ์ฤทธิ์ ซึ่งหาชมในบ้านเราได้ยากยิ่งจะถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้แล้ว

ผลงานของศิลปินที่เหลือก็มีความโดดเด่นและหาชมได้ยากไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานของหนึ่งในศิลปินจีนคลื่นลูกใหม่ที่ร้อนแรงที่สุดในวงการศิลปะยุคนี้ อย่าง จ้าว จ้าว (Zhao Zhao)

ผู้ใช้สื่อศิลปะหลากหลายในการท้าทายความเป็นจริงและมโนคติแบบประเพณีดั้งเดิมของจีนอย่างห้าวหาญ ในช่วงปีที่ผ่านมา

ผลงานอันโดดเด่นและชั้นเชิงอันเชี่ยวชาญทางศิลปะของเขาได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ นิทรรศการของเขาในประเทศจีน อเมริกาเหนือ และยุโรปได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชม ส่งผลให้เขาขึ้นทำเทียบศิลปินคนสำคัญในวงการศิลปะระดับโลกเคียงข้างศิลปินจีนรุ่นพี่ผู้ทรงอิทธิพลอย่าง อ้าย เหว่ย เหว่ย ในปี 2014 จ้าว จ้าว เป็นหนึ่งใน 25 จิตรกรยุคใหม่ที่น่าจับตาของโลก และเป็นหนึ่งใน 10 ศิลปินที่ทรงอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่สุดของจีน

โดยเขาเพิ่งมีนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งสำคัญในแกลเลอรี ถัง ที่กรุงปักกิ่ง ไปเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งตัวศิลปินได้มาร่วมในงานเปิดนิทรรศการนี้อีกด้วย

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%b8-constellation-ii-%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7

ผลงานของ จ้าว จ้าว ที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้มีชื่อว่า Constellation (กลุ่มดาว) มันเป็นผลงานชุดที่สองที่เขาทำซ้ำจากผลงานชุดแรกที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งใช้แผ่นกระจกของจริงเป็นวัตถุดิบในการสร้างงาน

แต่ผลงานชุดที่สองนี้เขากลับวาดภาพเหมือนเลียนแบบภาพของกระจกแตกขึ้นมา

ผลงานชุดนี้ถูกสร้างขึ้นอย่างชาญฉลาดด้วยการใช้เพียงแค่สีน้ำตาลเข้มมืดสนิทเป็นพื้น (ที่เรียกว่า Van Dyck Brown) และประกายเส้นแสงระยิบระยับของสีน้ำเงินเข้มลึก (ที่เรียกว่า Prussian Blue) และสีขาว ในการจำลองภาพลักษณ์ของกระจกที่ถูกกระสุนปืนยิงจนแตกทะลุ อันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อไปถึงความรุนแรงและการใช้อำนาจอันป่าเถื่อนได้อย่างแนบเนียน

ในขณะเดียวกันมันก็ชวนให้ระลึกไปถึงภาพลักษณ์อันงดงามของสิ่งมีชีวิตโปร่งใสใต้ท้องทะเลลึก หรือเส้นสายของเครือข่ายอันซับซ้อนแต่งดงามอย่างน่าอัศจรรย์ของใยแมงมุม

มันเป็นผลงานที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งและดึงดูดสายตาของผู้ชมอย่างทรงประสิทธิภาพ

ไม่ว่าจะดูมันแบบผิวเผินแค่ความงามของสีสันเส้นสายและเทคนิคในการใช้ฝีแปรงอันเชี่ยวชาญ หรือดูให้ลึกไปถึงความหมายทางสังคม การเมือง ที่แฝงเร้นอยู่ภายใต้พื้นผิวของมันอย่างแยบคายก็ตามที

จ้าว จ้าว ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานศิลปะ ซึ่งไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงแค่หัวข้อในการทำงาน หากแต่เป็นการค้นหาความเป็นไปได้อันไม่รู้จบในการทำงานศิลปะ

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%b8-hanging-man-in-porcelain-2009-%e0%b8%ad%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%a2

 

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%b8-constellation-2016-%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7-%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7