E-DUANG : “คำพูด” กับ การไม่ลงมือ “ทำ”

ถามว่าทั้งๆที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ พูดเรื่องจริยธรรมและการลาออกจากตำแหน่งอย่างชัดถ้อยชัดคำที่กรุงลอนดอน

เหตุใดเมื่อกลับประเทศจึงไม่ทำตาม “คำพูด”

ทั้งๆที่คำพูดได้รับการเผยแพร่ผ่านบีบีซีไปทั่วโลก ทั้งๆที่ดำรง ตำแหน่งเป็นเจ้ากระทรวงศึกษาธิการซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนแห่งจริย

ธรรม

อันมีพื้นฐานมาจาก “ค่านิยม 12 ประการ”

เพียงเพราะเมื่อ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ได้รับเชิญให้ไปยังทำเนียบรัฐบาล และเอ่ยคำว่า “ขอโทษ” ที่เสียมารยาท ทุกอย่างก็เรียบร้อยไม่จำเป็นต้องทำอะไรอีก

คำตอบที่ตรงเป้าที่สุด คือ เพราะ “การเมือง”

 

เช่นเดียวกับกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตระเวณออกไปพบผู้นำประเทศต่างๆและพูดถึง “การเลือกตั้ง” ตั้งแต่เมื่อปี 2558 มาแล้ว

เห็นได้จาก “ปฏิญญา โตเกียว” ต่อหน้า นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

เห็นได้จาก “ปฏิญญา นิวยอร์ค” ต่อหน้าประมุขนับร้อย ณ ที่ประชุมสหประชาชาติ

เห็นได้จาก “ปฏิญญา ทำเนียบขาว” ต่อหน้า นายโดนัลด์ ทรัมพ์ ประธานาธิบดีสหรัฐ

เท่ากับ “การเลือกตั้ง” เลื่อนแล้วเลื่อนอีก

เท่ากับที่เคยเชื่อว่าจะเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ก็อาจกลายเป็นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

“การเลือกตั้ง” ก็ยังไม่แจ่มชัด ไม่แน่นอน

 

ในเมื่อคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็แทบจะไม่มีความ หมายอะไรในทางเป็นจริง

แล้วคำพูดของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นอย่างไร

ความหมายก็คือ แม้กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคสช. หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นจริง

จากปี 2558 กระทั่งมายังปี 2561

แล้วจะไปเอาจริงเอาจังอะไรกับคำพูดของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แม้ว่าจะเป็นตัวแทนแห่งจริยธรรม

พูดแล้วไม่ทำจึงกำลังกลายเป็นเรื่องธรรมดามากยิ่งขึ้นที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย