ค่ายผลิตรถระดับโลก หันหัวเรือมุ่งพัฒนาระบบไฟฟ้า

วันที่ 16 มกราคม 2561 เทคโนโลยียานยนต์นับว่ามีพัฒนาการต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยทั้งทรัพยากรและปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่งานศึกษาหลายชิ้นระบุว่า ปัญหามลพิษจากรถยนต์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพอากาศบนโลก ทำให้แนวคิดรักษ์โลกและนโยบายปลอดคาร์บอนขยายตัวไปหลายประเทศ อีกทั้ง บางประเทศออกประกาศแล้วว่าจะไม่มียานพาหนะที่ใช้พลังงานฟอสซิลวิ่งบนถนนอีก ทำให้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าได้เป็นนวัตกรรมที่มีความพยายามคิคค้นและผลิตขึ้น

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ วิศวกรและนักธุรกิจหนุ่มได้ทำให้เทสล่าเป็นเจ้าแรกที่ทำให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จริง และนับเป็นสัญญาณที่กระตุ้นให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต่างหันมาศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตเข้ามาแข่งขันในท้องตลาดและค่อยๆทวีความรุนแรงมากขึ้น

สำนักข่าวรอยเตอร์สได้แสดงผลการวิเคราะห์ ที่ทำให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้ทุ่มเงินเพื่อลงทุนในด้านรถยนต์รถไฟฟ้ามากขึ้นและจะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแผนลงทุนของบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ที่ประกาศในงานดีทรอยต์ มอเตอร์ โชว์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ที่มากถึง 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯและจะเพิ่มขึ้นไปอีก

โดยเงินที่ทุ่มลงไปนี้ รอยเตอร์สระบุว่า มีจำนวนน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับผู้เล่นหลักอย่างเทสล่า มอเตอร์ที่ผลิตยานยนต์ที่ผลิตไป 90 ล้านคันต่อปี โดยขายรถเพียง 3 รุ่นก็มากถึง 1 แสนคันในปีที่แล้ว แต่ด้วยการนำเสนอแผนของฟอร์ดที่ว่าจะผลิตทั้งแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าและแบบไฮบริดภายใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในจีน คำถามคือ ใครจะซื้อรถยนต์เหล่านี้ทั้งหมดกัน?

ซึ่งในจุดนี้ นายบิลล์ ฟอร์ด ประธานบริหารของฟอร์ด มอเตอร์กล่าวว่า เราทุ่มสุดตัว กับการลงทุนมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คำถามเดียวคือ จะมีลูกค้ามาซื้อกับเราหรือไม่?

นายไมค์ แจ๊คสัน ประธานกรรมการบริษัทออโต้ เนชั่น จำกัด บริษัทค้าปลีกรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯกล่าวว่า เทสล่ากำลังเจอกับการแข่งขันอย่างแท้จริง และภายในปี 2030 คาดว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นบัญชีรถยนต์ใหม่ที่จะทำการขายในสหรัฐฯอีก 15-20 เปอร์เซ็นต์

ไม่เพียงฟอร์ดที่ประกาศการลงทุนด้านนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่ายรถในสหรัฐฯ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในจีน 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในเยอรมนี 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ผู้บริหารค่ายผลิตรถทั้งสหรัฐฯและเยอรมนีกล่าวว่า การลงทุนส่วนใหญ่จะถูกเคลื่อนไปที่จีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ออกโครงการการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเริ่มในปี 2019

ด้านนายเดย์เตอร์ เซทเช ประธานบริหารของไดม์เลอร์ เอจี กล่าวในงานดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ว่า แม้ในตอนนี้เทสล่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลัก แต่ในอีกไม่ช้าทุกคนจะเป็นผู้ผลิตเช่นกัน โดยในส่วนบริษัทไดม์เลอร์จะต้องลงทุนอย่างน้อย 1.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯในการคิดค้นรถยนต์ไฟฟ้าบริสุทธิ์ 10 รุ่นและแบบไฮบริดอีก 40 รุ่น ซึ่งบริษัทตั้งใจจะไปในทางรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ตั้งแต่รถเอนกประสงค์ขนาดเล็ก ไปจนถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่

นายเซทเชกล่าวอีกว่า เราจะเห็นว่า เกิดอุปสงค์ขับเคลื่อนการขายรถยนต์ไฟฟ้าหรือเราจะพยายามจับลูกค้ากลุ่มสุดท้ายตรงนั้นกัน เพราะที่สุดแล้ว ลูกค้าจะเป็นผู้ตัดสินใจ

 

ด้านค่ายนิสสันก็ตั้งเป้าครองรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดขายสูงสุด 7 ปี และกำลังเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาดเร็วๆนี้ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นคู่แข่งหน้าใหม่ ที่ทำให้การแข่งขันดุเดือดมากขึ้นจนส่งผลต่อราคา โดยนายโฮเซ่ มูนอซ ประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการของนิสสันกล่าวว่า ทุกคนต้องหาเองถ้าหากผลักดันแล้วคุณจะได้รับข่าวร้ายมากมายเกี่ยวกับคุณค่าที่ยังหลงเหลืออยู่

ส่วนนายจิม เลนท์ซ ประธานบริหารของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น ประจำทวีปอเมริกาเหนือ กล่าวว่า โตโยต้าใช้เวลาถึง 18 ปี ในการขายยานพาหนะแบบไฮบริดเพื่อให้ยอดส่วนแบ่ง 3 เปอร์เซ็นต์ของตลาดทั้งหมด และแบบไฮบริดไม่ได้แพงมาก ไม่จำเป็นต้องการโครงสร้างในการชาร์จแบบใหม่และไม่ต้องแบกรับข้อจำกัดของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วย และสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือได้ส่วนแบ่งการตลาดจาก 4 ไป 5 เปอร์เซ็นต์ มันไปได้ไกลอีก

ขณะที่ ผู้ลงทุนใหญ่ที่สุดรายเดียวมาจากค่ายโฟกสวาเก้น ซึ่งวางแผนลงทุนถึงปี 2030 เป็นเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่ออสร้างแบบรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลกอีก 300 แบบ

เช่นเดียวกับค่ายรถยนต์ในสหรัฐฯอย่างเจเนอรัล มอเตอร์หรือจีเอ็ม ได้วาดแผนนำเสนอ แบตเตอร์รี่ใหม่และพาหนะไฟฟ้าด้วยพลังงานเซลล์อีก 20 แบบภายในปี 2023 โดยส่วนใหญ่จะถูกสร้างในแพลทฟอร์มแยกส่วนอันใหม่ ซึ่งจะนำเสนอในปี 2021 แม้แมรี่ บาร์ร่า ประธานบริหารของจีเอ็มไม่ได้ระบุว่าจะต้องใช้เงินทุนไปกับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่ตามข้อมูลของนายโจฮัน เดย์ นิสเช้น ประธานของคาดิแลคแบรนด์รถหรูภายใต้บริษัทจีเอ็มกล่าวว่า การลงทุนส่วนใหญ่จะถูกผลิตขึ้นในจีน และคาดิแลคจะรับบทแนวหน้านำรุกในพาหนะไฟฟ้ามากขึ้น

นอกจากนี้ นายนิชเช้น กล่าวในงานดีทรอยต์ว่า คาดิแลคจะเป็นตัวแสดงหลักในยุทธศาสตร์รถยนต์ไฟฟ้าของจีเอ็มในจีน และจะนำเสนอแบบรถยนต์ไฟฟ้าของจีเอ็มที่ไม่ระบุรุ่น และคาติแลคบางรุ่นจะไปรวมกันที่จีนด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ผลิตรถในจีนเองก็เปิดแผนรุกสู่สาธารณชนอีกด้วย แต่ก็ไม่ใช่ทุกค่ายที่ออกตัวว่าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อย่างค่ายไคร์สเลอร์ โดยนายเซอจิโอ้ มาร์ชิโอนเน้ ประธานบริหารของเฟียต ไคร์สเลอร์ ออโต้โมบิล เอ็นวีกล่าวว่า มันไม่สมเหตุผลที่ต้องป่าวประกาศรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ และบริษัทไม่ได้ถูกกดดันแต่ก็ทำงานเพื่อสนองในการลดมลภาวะ

นายมาร์ชิโอนเน้กล่าวว่า เราไม่ได้มีปืนมาจ่อขมับ แต่รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นเสมือนบรรทัดฐานในยุโรปเพราะกฎระเบียบการปล่อยมลพิษ